Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 176,791
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 174,164
3 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 173,452
4 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,449
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,907
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 170,023
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,999
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 168,287
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 161,136
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,814
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,766
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,967
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 68,307
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,811
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 51,154
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 44,047
17 Industrial Provision co., ltd 39,844
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,794
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,707
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 35,034
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,968
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 32,315
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,731
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 31,460
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,971
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,961
27 P.D.S. Automation co.,ltd 23,340
28 AVERA CO., LTD. 23,098
29 เลิศบุศย์ 22,057
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,815
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,708
32 Electronics Source Co.,Ltd. 20,323
33 แมชชีนเทค 20,310
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,570
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,538
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 19,280
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,956
38 SAMWHA THAILAND 18,734
39 วอยก้า จำกัด 18,401
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,974
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,818
42 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,751
43 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,720
44 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,666
45 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,593
46 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,589
47 Systems integrator 17,150
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 17,094
49 Advanced Technology Equipment 16,928
50 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,893
04/06/2556 14:20 น. , อ่าน 4,939 ครั้ง
Bookmark and Share
เปิดข้อมูลใหม่เหตุไฟดับทั่วภาคใต้
โดย : Admin

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ :

 


 เหตุการณ์ ไฟดับทั่วภาคใต้ 14 จังหวัด ซับซ้อนกว่าที่คิด หลังพบข้อมูลใหม่ โรงไฟฟ้า 3 แห่ง "กระบี่-รัชชประภา-บางลาง" หยุดเดินเครื่อง ส่งผลกำลังผลิตไฟฟ้าหายไปกว่า 415 MW ทั้ง ๆ ที่รู้ล่วงหน้าว่าจะต้องหยุดซ่อมสายส่งใหญ่ แต่ไม่มีแผนรองรับฉุกเฉิน กกพ.จับตาสอบ 3 กรณีเพื่อค้นหาใครจะรับผิดสอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นระหว่าง กฟผ.หรืออุบัติเหตุ ยันไม่ผลักภาระค่าไฟให้คนใต้

สืบ เนื่องจากนายสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ ผู้ว่าการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) ยืนยันว่า ขณะที่เกิดปัญหาไฟฟ้าดับทั่วภาคใต้โรงไฟฟ้าทุกโรงในภาคใต้เดินเครื่องครบ 1,692.2 เมกะวัตต์ (MW) แบ่งเป็นโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนรัชชประภากำลังผลิต 216 MW, โรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนบางลาง 50 MW, โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมจะนะชุดที่ 1 กำลังผลิต 710 MW, โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมขนอม 480 MW, โรงไฟฟ้าพลังความร้อนขนอมเครื่องที่ 2 กำลังผลิต 72 MW , โรงไฟฟ้าพลังความร้อนกระบี่ 315 MW และมีการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตรายเล็ก SPP กำลังผลิต 20 MW

 

 

แหล่ง ข่าวจากกระทรวงพลังงานเปิดเผย ว่า กระทรวงได้รับข้อมูลที่แตกต่างไปจากคำแถลงของผู้ว่าการ กฟผ. โดยมีข้อมูลใหม่ระบุว่า โรงไฟฟ้าพลังความร้อนกระบี่กำลังผลิต 315 MW ไม่มีการเดินเครื่อง เพราะปิดซ่อมบำรุง ทั้ง ๆ กฟผ.มีแผนล่วงหน้าจะต้องซ่อมสายส่งขนาด 500 KV ในวันนั้นอยู่แล้ว เมื่อเกิดเหตุการณ์อุบัติเหตุฟ้าผ่าเสาไฟฟ้าต้นที่ 203 ส่งผลกับสายส่งไฟฟ้าอีกเส้นที่ใช้จ่ายกระแสไฟฟ้าตามปกติ ได้กระทบต่อปริมาณการผลิตกระแสไฟฟ้าในภาพรวมของภาคใต้ เพราะกำลังผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้ากระบี่จำนวน 315 MW หายไปจากระบบ ทำให้เกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าดับเป็นวงกว้างกว่า 4 ชั่วโมง จนไม่สามารถแก้ไขสถานการณ์ได้ทัน 
 
 
จากข้อมูลที่ เข้ามาใหม่ ทางกระทรวงพลังงานได้มีการหารือเป็นการภายในถึงข้อบกพร่องของ กฟผ.ที่มีต่อเหตุการณ์ครั้งนี้ถึง 3 ประการด้วยกัน คือ 1) กฟผ.ไม่มีแผนบริหารความเสี่ยงในภาวะวิกฤตหรือ Crisis Management Plan รองรับ หากมีกรณีฉุกเฉินเกิดขึ้นจากการหยุดซ่อมสายส่งครั้งนี้ 2) สงสัยว่า กฟผ.พยายามรักษาต้นทุนมากจนเกินไปหรือไม่ เพราะการเดินเครื่องจากโรงไฟฟ้ากระบี่ต้องใช้พลังงานน้ำมันเตาเป็นเชื้อ เพลิงอยู่ที่ 7 บาทต่อหน่วย แต่หาก กฟผ.ตัดสินใจไม่หยุดเดินเครื่องโรงไฟฟ้ากระบี่ในช่วงซ่อมแซมสายส่ง หรือเดินเครื่องเพียงร้อยละ 50 เพื่อหล่อเลี้ยงไฟฟ้าในระบบอยู่ อาจจะสามารถเดินระบบเพื่อแก้สถานการณ์ในวันที่เกิดเหตุการณ์ได้ และ 3) ไม่มีการประสานงานระหว่าง กฟผ. กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ในกรณีที่ต้องตัดสินใจกรณีฉุกฉินเพื่อตัดโหลดไฟฟ้าให้ดับในบางพื้นที่เพื่อ รักษาภาพรวมของภาคใต้เอาไว้ 
 
 
"หากว่าโรงไฟฟ้า กระบี่เดินเครื่องปกติ ผมเชื่อว่าจะทำให้ผ่อนหนักเป็นเบาได้ แม้ว่าจะมีเหตุการณ์สุดวิสัยเกิดขึ้นอย่างฟ้าผ่าสายส่งก็ตาม เหตุการณ์อาจจะไม่บานปลายจนทำให้ไฟฟ้าดับเป็นวงกว้างขนาดนี้ แม้ว่าทุกโรงไฟฟ้าจะตัดตัวเองอัตโนมัติก็ตามที แต่หากโรงไฟฟ้ากระบี่เดินเครื่องเหมือนโรงไฟฟ้าอื่น ๆ การสตาร์ตตัวเองเข้ามาช่วยระบบน่าจะช่วยให้ไฟฟ้ากลับเข้าระบบเร็วขึ้น และไม่ต้องซื้อไฟฟ้าจากมาเลเซียที่มีราคาสูงมากถึง 16-17 บาทต่อหน่วย อย่างที่เกิดขึ้นในวันนั้น"
 
 
แหล่งข่าวจากคณะ กรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) กล่าวว่า ทาง กกพ.เองก็ได้รับข้อมูลที่แตกต่างไปจากที่ กฟผ.บอกกับสาธารณชนที่ว่า ช่วงไฟฟ้าดับในภาคใต้ โรงไฟฟ้าทุกโรงเปิดดำเนินการ
 
ทั้ง นี้ บทบาท กกพ. เป็นผู้ดูแลว่าใคร จะเป็นผู้รับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นจากการซื้อไฟจากมาเลเซียถึง 16 บาท/หน่วย จะถูกผลักมาให้ผู้บริโภคหรือไม่
 
 
จาก การสอบถามเป็นการภายในไปยัง กฟผ.ยอมรับว่า โรงไฟฟ้ากระบี่ได้หยุดซ่อมบำรุงจริง และที่น่าตกใจก็คือยังมีโรงไฟฟ้าอีก 2 โรงที่หยุดซ่อมในช่วงที่ กฟผ.ซ่อมแซมสายส่งด้วย คือโรงไฟฟ้าเขื่อนรัชชประภา (3X72 MW) กับโรงไฟฟ้าเขื่อนบางลาง (2X25 MW) ด้วย โดยให้เหตุผลว่า ปริมาณน้ำในเขื่อนไม่เพียงพอที่จะผลิตไฟฟ้า ทำให้มีกำลังผลิตหายไปจากระบบอีกประมาณ 100 MW ดังนั้น เมื่อรวมกับโรงไฟฟ้ากระบี่ กำลังผลิตที่หายไปในวันนั้นก็คือ 415 MW 
 
 
จึง มีความเป็นไปได้ว่าประชาชนใน 14 จังหวัดภาคใต้จะต้องได้รับการ "ชดเชย" ค่าไฟฟ้าจาก กฟผ.แทนที่จะไปผลักภาระที่เกิดขึ้นให้ประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้าจากเหตุการณ์ไฟฟ้า ดับในครั้งนี้ 
 
"กกพ.ในฐานะหน่วยงานที่กำกับดูแล จะดำเนินการพิจารณาข้อมูลใหม่ให้ชัดเจนอีกครั้ง โดยเฉพาะในประเด็นที่ว่า กฟผ.มีความระมัดระวังรอบคอบและเตรียมแผนรับมือไว้หรือไม่ จากการปิดซ่อมบำรุงโรงไฟฟ้าในครั้งนี้ นอกจากนี้ ยังมีประเด็นเกี่ยวกับความพร้อมของระบบสายส่งที่อ้างว่าถูกฟ้าผ่าจนทำให้ เกิดปัญหานั้น ถือเป็นเหตุสุดวิสัยจริงหรือไม่ เพราะโดยปกติสายส่งไฟฟ้าควรจะต้องรองรับความเสี่ยงจากเหตุฟ้าผ่าได้ดีกว่า นี้ รวมถึงการตัดสินใจซื้อไฟฟ้าจากประเทศมาเลเซียหน่วยละ 16 บาททันทีนั้นเหมาะสมด้วยหรือไม่" กกพ.กล่าว
 
 
ล่า สุด นายณัฐพล ณัฏฐสมบูรณ์ อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม ก็ออกมายืนยันว่า โรงไฟฟ้าพลังความร้อน จ.กระบี่ ได้มีการแจ้งปิดซ่อมบำรุงตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน 2556 โดยระบุว่าจะต้องมีการซ่อมบำรุงระบบดูดเขม่าควัน ทำให้กำลังการผลิตไฟฟ้าในช่วงวันที่ 21 พฤษภาคมหายไปจากระบบ ซึ่งหลังจากเกิดวิกฤต โรงไฟฟ้ากระบี่ได้กลับมาเปิดเครื่องทำงานจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบอีกครั้งในวันที่ 26 พฤษภาคมที่ผ่านมา
 
 
นายสมชาย สันติสถาวร ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงไฟฟ้าภาคใต้ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า โรงไฟฟ้ากระบี่มีแผนในการดำเนินการหยุดซ่อมเนื่องจากมีอุปกรณ์ไฟฟ้าขัดข้อง ทำให้การเดินเครื่องและการจ่ายโหลดได้ไม่เต็มที่ ดังนั้นทางโรงไฟฟ้ากระบี่ได้หยุดเดินเครื่องตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน 2556 เป็นต้นมา และคาดว่าจะเดินขนานเครื่องเข้าสู่ระบบได้ภายในวันที่ 26 พฤษภาคมนี้ และจะทำให้กระแสไฟฟ้าจังหวัดในฝั่งทะเลอันดามันมีความมั่นคงมากยิ่งขึ้น

 

========================================================

 

 

21 November 2024
:: MEMBER LOGIN
E-mail Account
Password
:: OUR SPONSORS
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD