|
เพื่อเปิดโลกการเรียนรู้ให้กว้างไกล ด้วยอีกไม่กี่ปีไทยจะก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC
วิทยาลัย เทคโนโลยีสยาม (สยามเทค) เร่งพัฒนาเตรียมพร้อมบุคลากรและเยาวชนคนรุ่นใหม่ก้าวให้ทันกับโลกยุคใหม่ โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ร่วมลงนามสัญญากับหลายหน่วยงานจากประเทศเยอรมนี ในการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนด้านช่างอุตสาห กรรมและเครือข่ายการศึกษาระบบทวิภาคีนานาชาติ
พร้อม เปิด "ศูนย์เทคโนโลยีและการศึกษาระบบทวิภาคี ไทย-เยอรมัน" อย่างเป็นทางการ มุ่งเน้นพัฒนาผลิตบุคลากรด้านช่างอุตสาหกรรมยานยนต์ รวมทั้งอุตสาหกรรมด้านขนส่งระบบราง อาทิ รถไฟลอยฟ้า รถไฟความเร็วสูง รถไฟฟ้าใต้ดิน และการรถไฟแห่งประเทศไทย และ ยังมีแผนพัฒนาผลิตบุคลากรทางด้านอุตสาห กรรมเครื่องบินและอุตสาหกรรมการเดินเรือ .
|
|
ผศ.ดร.จอม พงศ์ มงคลวนิช ผู้อำนวยการ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (สยามเทค) กล่าวว่า นับเป็นสถานศึกษาด้านอาชีวศึกษาแห่งแรกที่เปิดหลักสูตร "เทคนิควิศวกรรมขนส่งระบบราง" ที่กำลังได้รับความสนใจในตลาดแรงงาน ซึ่งจัดการเรียนการสอนโดยความร่วมมือของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยา ศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)
ล่าสุดได้ ร่วมลงนามสัญญากับบริษัท ซีเมนส์ (Siemens) บริษัทด้านเครื่องกลและอิเล็กทรอนิกส์ชั้นนำของโลก เพื่อปั้นเยาวชน สู่โลกยุคใหม่ในหลักสูตร "เมคคาทรอนิกส์" ที่นำวิชาพื้นฐานหลักว่าด้วยวิศวกรรมเครื่องกล อิเล็กทรอนิกส์ วิศวกรรมระบบและการควบคุม และเทคโนโลยีสารสนเทศมาบูรณาการเข้า ด้วยกัน
หลักสูตรเมคคาทรอนิกส์จะศึกษาความสัมพันธ์ของศาสตร์แขนงต่างๆ เพื่อนำความรู้ความเข้าใจไปสร้าง "ผลิตภัณฑ์อันชาญฉลาด" (Smart Product) หรือ "ระบบอัจฉริยะ" (Intelligent Systems) ซึ่งจะมีกลไกที่ทำงานด้วยตัวของมันเองอย่างอัตโนมัติตามความต้องการที่กำหนด ไว้อย่างรวดเร็ว ถูกต้องและแม่นยำ นำไปประยุกต์ใช้งานได้กว้างขวาง เช่น หุ่นยนต์อุตสาหกรรม หุ่นยนต์กู้ภัย อาคารอัจฉริยะ สมองกลรักษาโรค รวมถึงเทคโนโลยีทางวิศวกรรมสมัยใหม่อื่นๆ อีกมากมาย
"เมคคา ทรอนิกส์ เป็นหลักสูตรสำหรับโลกยุคใหม่ เน้นความรอบรู้ในศาสตร์ที่สำคัญทางวิศวกรรมไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ ระบบควบคุมและเครื่องกล เป็นที่ต้องการในอุตสาหกรรมการผลิต ที่ทันสมัย เน้นการเรียนรู้ซึ่งทำงานครอบคลุมด้านวิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมไฟฟ้า และวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เพื่อรองรับงานภาคอุตสาหกรรมของประเทศ และสิ่งที่ขาดไม่ได้คือความสามารถด้านภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาอังกฤษ จะมีบทบาทมาก
นายอมฤต เตชะรัตนะนำชัย วัย 19 ปี กล่าวว่า "ยิ่งประเทศจะเข้าสู่เออีซี ผมคิดว่าช่างเทคนิคอย่างพวกเราฝีมือก็ไม่ได้เป็นรองใคร แต่ต้องเตรียมพร้อมเรื่องภาษาอังกฤษให้มากขึ้น ซึ่งตอนนี้ผมก็เริ่ม ฝึกแล้วครับ"
ด้าน ต๊อป นายหัสดินทร์ เหมทอง วัย 20 ปี กล่าวว่า "เราต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ตลอดเวลา เพราะรถยนต์สมัยใหม่จะเป็นระบบไฟฟ้า เราต้องหาความรู้เพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลา และต้องเรียนรู้เทคนิคใหม่เพิ่มเติมเพื่อก้าวให้ทันกับโลกยุคใหม่ พร้อมภาษาอังกฤษที่ต้องเรียนรู้ควบคู่กันไปด้วยครับ"
|
ข่าวสดรายวัน / 08 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
========================================================