Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 176,794
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 174,167
3 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 173,454
4 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,451
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,910
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 170,026
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 169,001
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 168,291
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 161,140
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,816
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,769
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,970
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 68,313
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,813
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 51,157
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 44,049
17 Industrial Provision co., ltd 39,846
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,797
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,710
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 35,036
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,970
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 32,317
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,735
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 31,463
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,973
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,963
27 P.D.S. Automation co.,ltd 23,344
28 AVERA CO., LTD. 23,100
29 เลิศบุศย์ 22,059
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,817
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,710
32 Electronics Source Co.,Ltd. 20,326
33 แมชชีนเทค 20,313
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,573
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,542
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 19,282
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,959
38 SAMWHA THAILAND 18,737
39 วอยก้า จำกัด 18,403
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,976
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,820
42 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,757
43 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,723
44 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,668
45 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,596
46 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,592
47 Systems integrator 17,152
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 17,097
49 Advanced Technology Equipment 16,930
50 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,895
25/01/2556 17:12 น. , อ่าน 5,072 ครั้ง
Bookmark and Share
รถไฟความเร็วสูง ของประเทศไทย
โดย : Admin


ผมคิดว่าในอนาคตรถไฟความเร็วสูงในไทยเกิดขึ้นแน่นอนไม่เกิน 5 ปี เพราะว่าภูมิรัฐศาสตร์ของไทยคือ

หัวใจเชื่อมต่ออาเซียน และจีนย่อมจะไม่ปล่อยให้เกิด Missing Links ที่จะต่อท่อนำคนและสินค้าออกสู่
ทะเลแน่นอน แผนแรกคือการเข้าที่หนองคาย ลงสู่กรุงเทพฯ-ภาคใต้ แผนที่สองจีนทะลุพม่าเข้าที่
กาญจนบุรี ลงสู่ใต้ และแผนที่สามที่น่าจะเกิดขึ้นคือผ่านทางภาคเหนือของไทยเพื่อไปสู่ Hub ที่
หัวลำโพงก่อนที่จะแตกสายไปสู่ภาคใต้ สู่ตลาดอาเซียน หรือไปทาง ตะวันออก หรือข้ามไปกัมพูชา ,
เวียดนาม

ผมคิดว่าในอนาคตรถไฟความเร็วสูงในไทยเกิดขึ้นแน่นอนไม่เกิน 5 ปี เพราะว่าภูมิรัฐศาสตร์ของไทยคือ
หัวใจเชื่อมต่ออาเซียน และจีนย่อมจะไม่ปล่อยให้เกิด Missing Links ที่จะต่อท่อนำคนและสินค้าออกสู่
ทะเลแน่นอน แผนแรกคือการเข้าที่หนองคาย ลงสู่กรุงเทพฯ-ภาคใต้ แผนที่สองจีนทะลุพม่าเข้าที่
กาญจนบุรี ลงสู่ใต้ และแผนที่สามที่น่าจะเกิดขึ้นคือผ่านทางภาคเหนือของไทยเพื่อไปสู่ Hub ที่
หัวลำโพงก่อนที่จะแตกสายไปสู่ภาคใต้ สู่ตลาดอาเซียน หรือไปทาง ตะวันออก หรือข้ามไปกัมพูชา ,
เวียดนาม

ล่าสุดทางดร. จุฬา สุขมานพ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะทำงานย่อย
เพื่อดำเนินการจัดทำร่างบันทึกข้อตกลงร่วม (เอ็มโอยู) ระหว่างไทย-จีน ฝ่ายไทยเปิดเผยว่า ทาง
ประเทศจีนขอใช้สัญญาสัมปทานจำนวน 50 ปี ซึ่งขัดกับข้อกฎหมายไทยที่กำหนดให้สัมปทานสูงสุด
เพียง 30 ปีเท่านั้น รวมทั้งต้องพิจารณาเกี่ยวกับการแบ่งสัดส่วนการลงทุนด้วยว่าจะใช้รูปแบบใด 
สัดส่วนการลงทุนจะเป็น 50% หรือ 51 ต่อ 49% หรือไม่ เพราะโครงการดังกล่าวไม่ใช่แค่เดินรถ
ระหว่างประเทศเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีการเดินทางภายในประเทศด้วย   ทั้งนี้จะได้ร่างเอ็มโอยูใหม่
ในปลายปีนี้ก่อนที่จะหาข้อสรุปในต้นปี 2554 ก่อนสรุปรายละเอียดก่อนจัดทำเอ็มโอยูฉบับสมบูรณ์
เสนอไปยังที่ประชุมรัฐสภาพิจารณาเห็นชอบ จากนั้นจึงมีการลงนามกับจีนต่อไป

 

 

ขณะที่ช่วงต้นปีหน้าเหมือนกันที่ทางสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ จะส่งผลรายงาน
สรุปหลังจากทดสอบความสนใจภาคเอกชนในการลงทุน ( Market Sounding) ในโครงการรถไฟฟ้า
ความเร็วสูง 2 เส้นทาง มูลค่ากว่า 3 แสนล้านบาท ในเส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง 221 กิโลเมตร 
และกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ 754 กิโลเมตร เพื่อเสนอให้คณะกรรมการเพื่อพิจารณาแนวทาง
การเพิ่มบทบาทภาคเอกชนในรูปแบบพีพีพี ชุดที่นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรีเป็น
ประธานภายในเดือนธันวาคมนี้เพื่อเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีได้ในช่วงเดือนมกราคม 2554

ซึ่งเบื้องต้นพบว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่ให้ความสนใจลงทุนในเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่มากกว่า 
เส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง เนื่องจากมองว่าเส้นระยองมีระยะทางสั้นเกินไป โดยเฉพาะนักลงทุน
จากญี่ปุ่น   ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะประเทศจีนให้ความสนใจลงทุนเส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย 
ตอนนี้พูดง่าย ๆ คือรถไฟความเร็วสูงใช้ไทยเป็นเวทีต่อรอง และคานอำนาจทางเศรษฐกิจไปเสียแล้ว
ระหว่าง จีน และญี่ปุ่น

อย่างไรก็ตามทาง สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ได้ร่างกำหนดค่าโดยสาร + เวลาเดินทาง
สำหรับเครือข่ายไฮสปีดเทรน ไว้แล้วและคาดหวังไว้ว่าราคาน่าจะลดลงอีก

สายเหนือ:  
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) - นครสวรรค์ (หนองปลิง) เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 12 นาที 0 วินาที ค่าโดยสาร 384 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) - พิษณุโลก เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 54 นาที 36 วินาที ค่าโดยสาร 611 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) - เด่นชัย เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง 38 นาที 24 วินาที ค่าโดยสาร 845 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) - เชียงใหม่ เวลาเดินทาง 3 ชั่วโมง 43 นาที 48 วินาที ค่าโดยสาร 1,190 บาท

สายตะวันออกเฉียงเหนือ:
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) - นครราชสีมา เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 16 นาที 48 วินาที ค่าโดยสาร 410 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) - ขอนแก่น เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง 13 นาที 12 วินาที ค่าโดยสาร 709 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) - หนองคาย เวลาเดินทาง 3 ชั่วโมง 4 นาที 48 วินาที ค่าโดยสาร 984 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) - สุรินทร์ เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง 3 นาที 36 วินาที ค่าโดยสาร 661 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) - อุบลราชธานี เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง 51 นาที 0 วินาที ค่าโดยสาร 912 บาท

สายใต้:  
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) - หิวหิน เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 6 นาที 36 วินาที ค่าโดยสาร 360 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) - แม่กลอง - หิวหิน เวลาเดินทาง 0 ชั่วโมง 55 นาที 36 วินาที ค่าโดยสาร 295 บาท    
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) - สุราษฎร์ธานี เวลาเดินทาง 3 ชั่วโมง 14 นาที 24 วินาที ค่าโดยสาร 1,037 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) - หาดใหญ่ เวลาเดินทาง 4 ชั่วโมง 41 นาที 24 วินาที ค่าโดยสาร 1,499 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) - ปาดังเบซาร์ เวลาเดินทาง 4 ชั่วโมง 54 นาที 36 วินาที ค่าโดยสาร 1,571 บาท

สายตะวันออก:  
กรุงเทพ (สถานีกลางมักกะสัน) - ฉะเชิงเทรา - ระยอง เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 6 นาที 36 วินาที ค่าโดยสาร 350 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางมักกะสัน) - บางปะกง - ระยอง เวลาเดินทาง 0 ชั่วโมง 58 นาที 12 วินาที ค่าโดยสาร 305 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางมักกะสัน) - ฉะเชิงเทรา - จันทร์บุรี เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 39 นาที 0 วินาที ค่าโดยสาร 530 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางมักกะสัน) - ฉะเชิงเทรา - อรัญประเทศ เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 15 นาที 0 วินาที ค่าโดยสาร 400 บาท    

ถ้าราคาเป็นอย่างนี้จริงผมคิดว่าในอนาคตสายการบินโลว์คอสต์อาจจะต้องกระอัก เพราะราคาน่าสนเฉพาะ
เส้นทางเชียงใหม่ 4 ชั่วโมงราคาพันนิด ๆ   ตอนนี้ก็อยากให้เกิดขึ้นดีกว่า และสายการบินในไทยจะต้อง
ปรับตัวครั้งใหญ่อีกระลอก แต่ต้องย้ำอีกครั้งว่าต้องกำกับตรวจสอบโครงการอย่างเข้มงวดเพราะวงเงินสูง
เหลือเกินตัดเปอร์เซนต์ 20-30% ก็ไม่เบาเหมือนกันครับ!

 

========================================================

 

 

21 November 2024
:: MEMBER LOGIN
E-mail Account
Password
:: OUR SPONSORS
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD