Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 176,993
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 174,344
3 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 173,635
4 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,618
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 171,064
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 170,164
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 169,145
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 168,466
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 161,443
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,955
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,907
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 158,122
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 68,503
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 63,264
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 51,306
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 44,198
17 Industrial Provision co., ltd 40,230
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,937
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,864
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 35,182
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 34,106
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 32,457
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,874
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 31,636
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 28,101
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 27,108
27 P.D.S. Automation co.,ltd 23,482
28 AVERA CO., LTD. 23,240
29 เลิศบุศย์ 22,189
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,952
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,850
32 Electronics Source Co.,Ltd. 20,478
33 แมชชีนเทค 20,445
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,705
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,670
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 19,450
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 19,104
38 SAMWHA THAILAND 18,908
39 วอยก้า จำกัด 18,587
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 18,141
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,968
42 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,898
43 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,854
44 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,829
45 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,734
46 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,734
47 Systems integrator 17,286
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 17,252
49 Advanced Technology Equipment 17,068
50 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 17,053
10/03/2553 09:04 น. , อ่าน 17,050 ครั้ง
Bookmark and Share
พิสูจน์แท่นขุดเจาะน้ำมัน
โดย : Admin
 พิสูจน์แท่นขุดเจาะน้ำมัน    
 

 

ผ่านมาตรฐานไม่มีรั่วไหล หลังจาก "เดลินิวส์" เกาะติดข่าวการเกิดปัญหาคราบน้ำมันปนเปื้อนอยู่ตามแนวชายฝั่งทะเลพื้นที่ อ.สทิงพระ จ.สงขลา และบริเวณชายหาดสมิหลา จ.สงขลา จนชาวบ้านและชาวประมงในบริเวณนั้นหวาดกลัวว่าอาจจะเป็นร่องรอยของน้ำมัน ซึ่งอาจจะมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนในพื้นที่ รวมถึงอาจจะเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อมในอนาคตกันใกล้นี้ ในการลง

พื้นที่สำรวจตรวจสอบของทีมข่าว "เดลินิวส์" พบข้อมูลจากชาวบ้านว่าคราบน้ำมันที่พบมีลักษณะของก้อนน้ำมันสีดำ บ้างก็จับตัวเป็นก้อนกลม บ้างก็จับตัวติดกับวัสดุอื่น ๆ ตามแนวชายฝั่ง โดยชาวบ้านเชื่อกันว่าคราบน้ำมันน่าจะมาจากกากของเสียที่เกิดจากแท่นผลิตน้ำมันให้เรือเอกชนบรรทุกไปทิ้งในทะเล แล้วมีการพัดพาคราบกากของเสียนั้นเข้าฝั่ง ทำให้มีการเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและบริษัทผู้ผลิตน้ำมันออกมารับผิดชอบและหาทางแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งในระยะสั้นและระยะยาวด้วย

จากปัญหาดังกล่าวทำให้หน่วยงานรัฐทั้งกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ฝ่ายปกครองในจังหวัดสงขลา และกลุ่มตัวแทนชาวบ้าน ได้ร่วมกันประชุมและตรวจสอบคราบน้ำมันรวมถึงหาแนว ทางป้องกันในอนาคตด้วย นายวีระศักดิ์ พึ่งรัศมี ผอ.สำนักเทคโนโลยีการประกอบกิจการปิโตรเลียม กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เปิดเผยว่า หลัง จากที่ได้นำตัวอย่างของก้อนทรายเหนียว สีดำ และคราบน้ำมันไปตรวจสอบพบว่ามีกลิ่นเหม็นหืนเหมือนกลิ่นน้ำมันพืชที่ใช้ แล้ว โดยผลจากก้อนทดลองสำนักงานสิ่งแวดล้อม ภาคที่ 16 สงขลา ที่ใช้เครื่องมือของ ม.สงขลานครินทร์ พบว่าในก้อนดังกล่าวมีสารประกอบด้วยกรดไขมันชนิดโอลีอิก และกรดไขมันชนิดปาล์มิติก ซึ่งเป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ของไขมันพืชและสัตว์ สอดคล้องกับลักษณะทางภายภาพที่พบคือกลิ่นเหม็นหืนเมื่อถูกความชื้นอากาศ ซึ่งกรดสองชนิดนี้มีความเป็นพิษต่ำสามารถย่อยได้โดยธรรมชาติ จากการตรวจสอบการขุดเจาะและผลิตปิโตรเลียมในอ่าวไทยแล้วไม่พบว่าการดำเนินการมีการใช้กรด 2 ชนิด รวมถึงเมื่อ เข้าไปตรวจสอบระบบการผลิตน้ำมันแล้วพบ ว่าตรงตามกฎอีไอเอ (การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม - Environmental Impact Assessment) ไม่มีการทิ้งเศษวัสดุใด ๆ ลงในทะเลทั้งสิ้น โดยมีการวัดปริมาตรน้ำมันดิบ ที่ขุดขึ้นมาได้แล้วเปรียบเทียบกับจำนวนน้ำมันที่ได้ทั้งหมด รวมถึงน้ำและเศษวัสดุอื่น ๆ ที่ติดขึ้นมากับการขุดเจาะด้วย โดยน้ำที่แยกออกจากน้ำมันแล้วจะถูกนำกลับไปอัดลงหลุม ส่วนก๊าชก็ถูกนำมาใช้งาน และเศษวัสดุจะถูกขนส่งนำไปเผาทำลายที่ อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช และ อ.แก่งคอย จ.สระบุรี หลังจากนี้ทางกรมจะจัดส่งเจ้าหน้าที่มาประจำแท่นผลิตเพื่อตรวจสอบการทำงานแล้วจะประเมินผลอีกครั้ง ดร.สราวุธ รัตนจงเกียรติ นักวิชาการสิ่งแวดล้อม ชำนาญการส่วนแหล่งน้ำทะเล กรมควบคุมมลพิษ กล่าวถึงที่มาของกากของเสียที่ พบตามแนวชายฝั่งว่า น่านน้ำทะเลสงขลามีกิจกรรมทางน้ำที่เกี่ยวข้องหลายกิจกรรมด้วยกัน ทั้งท่าเทียบเรือ การขนถ่ายสินค้า การประมง เป็นต้น ซึ่งกิจกรรมเหล่านั้นต่างมีการสูบถ่าย ล้างเรือ และเดินเรือ ทำให้อาจเป็นสาเหตุของการรั่วไหลน้ำมันจนเกิดเป็นคราบและก้อนน้ำมันขึ้นมาได้เช่นกัน

 

อย่างไรก็ตามจากการที่ลงพื้นที่สำรวจแท่นผลิตน้ำมันพบว่ามีมาตรการที่ควบคุมดูแลอยู่แล้ว ทำให้เชื่อว่าโอกาสในการรั่วไหลของน้ำมันจากแท่นผลิตน้อยมาก แต่สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นคือหลังจากนี้ไปจะมีการตรวจเข้มงวดมากยิ่งขึ้นทั้งจากภาครัฐและประชาชน บริษัทผลิตน้ำมันจึงจำเป็นจะต้องดูแลและใส่ใจเรื่องดังกล่าวมากขึ้นด้วย นายโสภณ ชุ่มยวง รองนายกสมาคมชาวประมงสงขลา กล่าวหลังจากที่ร่วมคณะ สื่อมวลชน ผู้บริหารบริษัทนิวคอสตอล (ประเทศไทย) จำกัด และคณะกรรมการตรวจสอบที่จังหวัดสงขลาแต่งตั้งขึ้น ลงพื้นที่แท่นผลิตน้ำมันของบริษัทนิวคอสตอลฯในอ่าวไทย ว่า หลังจากพบเห็นแท่นผลิตน้ำมันด้วยตาตัวเองก็มีความมั่นใจในการรักษาสิ่งแวดล้อมระดับหนึ่ง สิ่งหนึ่งที่อยากให้บริษัทใส่ใจเพิ่มเติมคือการตรวจสอบว่าบริเวณที่ตั้งแท่นผลิตนั้นมีกลุ่มปลาผิวน้ำอาศัยอยู่มากน้อยเพียงใด เพราะหากมีปลาอาศัยอยู่จะเสมือนว่าแท่นเจาะนี้กลายเป็นบ้านของปลาไปด้วย โดยในกลุ่มชาวประมงที่มีเรืออยู่ประมาณ 2 พันลำนั้น ทางสมาคมฯต้องการให้บริษัท และหน่วยงานรัฐหาทางออกของปัญหาในการจ่ายเงินชดเชยที่ยังค้างคากันอยู่ให้ชัดเจนเพื่อที่จะให้ทุกชีวิตนั้นสามารถดำเนินกิจกรรมของแต่ละครอบครัวได้ตามปกติ นายกำธร วังอุดม ที่ปรึกษาบริษัทนิวคอสตอล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวหลังนำคณะผู้เกี่ยวข้องสำรวจแท่นผลิต น้ำมันว่า บริษัทได้รับสัมปทานในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมตั้งแต่เดือน ก.พ. 52 โดยมีการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและการตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมได้แก่ คุณภาพน้ำทะเล ตะกอนพื้นทะเล แพลงตอน สัตว์หน้าดิน ปลาวัยอ่อน คุณภาพเศษหินที่เกิดจากการขุด คุณภาพน้ำที่เกิดจากกระบวนการผลิต มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยทุกอย่างเป็นไปตามกฎและระเบียบของประเทศและหลักสากล ซึ่งไม่มีการทำลายสิ่งแวดล้อมใดทางทะเลตามที่หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกต ในกรณีคราบน้ำมันและก้อนกลมที่เกิดขึ้นตามแนวชายฝั่งนั้น มีหลายส่วนทั้งภาครัฐ ประชาชนและสื่อมวลชนสงสัยว่าสาเหตุน่าจะเกิดจากกระบวนการผลิตน้ำมันของบริษัทที่ตั้งอยู่ห่างจากแนวชายฝั่งทะเล อ.สทิงพระ ทางบริษัทได้ให้ทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมตรวจสอบการทำงานของแท่นผลิตทุกขั้นตอน โดยผลการตรวจสอบของภาครัฐพบว่าคราบน้ำมันและก้อนน้ำมันไม่ได้เกิดจากการรั่วไหลของน้ำมันดิบจากแท่น ผลิตของบริษัทแต่อย่างใด ส่วนสาเหตุที่แท้ จริงจะมาจากที่ใดนั้นทางเจ้าหน้าที่กำลังดำเนินการตรวจสอบอยู่ ทั้งนี้ในส่วนของค่าชดเชยที่ชาวประมงเรียกร้องทางบริษัทจะหารือกับจังหวัดและตัวแทนชาวประมงเพื่อยุติปัญหาดังกล่าวต่อไป
 

 



 สุชาติ กุลบุษราคัม-ภาพ/ นพปฎล รัตนพันธ์-รายงาน
ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

========================================================

 

 

3 February 2025
:: MEMBER LOGIN
E-mail Account
Password
:: OUR SPONSORS
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD