Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 176,791
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 174,164
3 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 173,452
4 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,449
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,907
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 170,023
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,999
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 168,287
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 161,136
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,814
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,767
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,967
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 68,308
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,811
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 51,154
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 44,047
17 Industrial Provision co., ltd 39,844
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,794
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,707
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 35,034
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,968
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 32,315
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,731
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 31,460
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,971
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,961
27 P.D.S. Automation co.,ltd 23,340
28 AVERA CO., LTD. 23,098
29 เลิศบุศย์ 22,057
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,815
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,708
32 Electronics Source Co.,Ltd. 20,324
33 แมชชีนเทค 20,310
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,570
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,538
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 19,280
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,956
38 SAMWHA THAILAND 18,735
39 วอยก้า จำกัด 18,401
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,974
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,818
42 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,751
43 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,721
44 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,666
45 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,593
46 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,589
47 Systems integrator 17,150
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 17,094
49 Advanced Technology Equipment 16,928
50 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,893
27/01/2553 08:48 น. , อ่าน 5,714 ครั้ง
Bookmark and Share
จีเอ็ม ฉลุย3แบงก์ปล่อยกู้1.35หมื่นล้าน ลุยตั้งโรงงานผลิตปิกอัพใหม่ปี 2555
โดย : Admin


25 มกราคม 2553


 

จีเอ็ม" ได้แหล่งเงินกู้ 3 แบงก์ "บัวหลวง - ไทยพาณิชย์ - ทิสโก้" วงเงินรวม 1.35 หมื่นล้านบาท

เดินหน้าตั้งโรงงานประกอบรถปิกอัพ ผลิตเครื่องยนต์ดีเซลรุ่นใหม่ พร้อมเปิดตัวปี 2555  ด้าน "จีเอ็มไอโอ" สำนักงานเซี่ยงไฮ้เตรียมเงินสนับสนุนอีก 2,500 ล้านบาท
หลังจากเกิดวิกฤติยานยนต์ในสหรัฐอเมริกา เจนเนอรัล มอเตอร์ส หรือ จีเอ็ม บริษัทแม่ประสบปัญหาขาดทุนอย่างหนัก จนในปี 2552 ที่ผ่านมา ต้องยื่นขอพิทักษ์ทรัพย์กับศาลล้มละลายและเดินหน้าเข้าสู่การปฏิรูปองค์กรตามมาตรฐานที่ 11 ที่มีรัฐบาลสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ควบคุมดูแล และถูกสั่งห้ามส่งเงินออกนอกประเทศหลังจากรับเงินช่วยเหลือพยุงกิจการจากรัฐบาล ทำให้ธุรกิจจีเอ็มในภูมิภาคที่จีเอ็มไม่แข็งแกร่งหนักได้รับผลกระทบโดยตรง และขาดสภาพคล่องในการพัฒนาธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงประเทศไทย

โคโลราโดใหม่เลื่อนไปปี 2555
 สำหรับจีเอ็มในประเทศไทย ที่มีรถยนต์ทำตลาดในแบรนด์ เชฟโรเลต ช่วงก่อนที่จะเกิดวิกฤติ ในช่วงเดือนสิงหาคม ปี 2551 ได้ประกาศลงทุนตั้งโรงงานผลิตรถปิกอัพรุ่นใหม่ และเครื่องยนต์ดีเซลแห่งแรกในอาเซียนที่ประเทศไทย ซึ่งเป็นการร่วมทุนกันระหว่างจีเอ็ม และ วี เอ็ม โมโตริ (VM.MOTORI) ประเทศอิตาลี ซึ่งจีเอ็มเข้าไปซื้อหุ้นใหญ่มาเมื่อปี 2550 โดยมีมูลค่าการลงทุนกว่า 1.46 หมื่นล้านบาท หรือ 455 ล้านดอลลาร์ สถานที่คือติดกับโรงงานเดิม ณ ศูนย์การผลิตจีเอ็ม จังหวัดระยอง แต่พอถึงเดือนธันวาคม ปี 2551 ผู้บริหารระดับสูงของจีเอ็มในประเทศไทยก็ต้องออกมายอมรับว่าจำเป็นต้องเลื่อนแผนการตั้งโรงงานออกไปอย่างน้อย 1 ปี
เมื่อบริษัทแม่ล้ม จีเอ็มไทยก็เคว้งคว้าง นายสตีฟ คาร์ไลส์ ประธานกรรมการ บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส เซาท์อีสต์เอเซีย โอเปอเรชั่นส์ จำกัด และ บริษัท เชฟโรเลตเซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด ต้องทำงานอย่างหนัก ในการเดินสายเข้าพบผู้นำและรัฐมนตรีในรัฐบาล และสถาบันการเงินที่มีศักยภาพ เพื่อหาเงินมาสานต่อโครงการให้สำเร็จ หลังจากที่ได้ลงเสาเข็มโรงงานไปแล้ว ในส่วนของการผลิตเดิม ก็ต้องพยายามลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจทุกอย่าง เรียกได้ว่าทำมาครบทุกตำราแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเปิดให้สมัครใจลาออกไปกว่าครึ่งบริษัท เพิ่มแทคไทม์ในการผลิต ลดกะ จนถึงขั้นปิดโรงงานชั่วคราวสองสัปดาห์ในช่วงที่บริษัทแม่ล้ม เป็นต้น
เมื่อ จีเอ็ม ประสบวิกฤติทางการเงิน และทำให้ต้องเลื่อนโครงการตั้งโรงงานใหม่ จึงส่งผลกระทบปิกอัพโคโลราโดโฉมใหม่โดยตรง เพราะเครื่องยนต์ที่จะติดตั้งในรุ่นนี้จะมาจากโรงงานดังกล่าว ไม่ใช่เครื่องยนต์ของอีซูซุ เพราะจีเอ็มได้ถอนหุ้นออกจากอีซูซุเกือบหมดแล้ว ถึงแม้จะใช้โครงสร้างตัวถังหลักร่วมกัน แต่การออกแบบเปลือกนอกและภายใน จีเอ็มจะพัฒนาเอง รวมถึงเครื่องยนต์ดีเซลคอมมอนเรลใหม่จะไม่ได้ใช้เครื่องยนต์ของอีซูซุอีกต่อไป ดังนั้นจากเดิมที่มีแผนขึ้นไลน์ผลิตโคโลราโดใหม่และเปิดตัวประมาณช่วงปลายปี 2553 แต่เมื่อวันนี้โรงงานเพิ่งทำแค่ปรับพื้นกับลงเสาเข็ม และเพิ่งจะหาเงินกู้ได้ ซึ่งช้ากว่าที่คาดไว้ รถปิกอัพใหม่ก็คงจะออกสู่ตลาดเอาในปี 2555

'บัวหลวง-ไทยพาณิชย์-ทิสโก้'ผนึกกำลังปล่อยกู้
ก่อนหน้านี้มีข่าวเล็ดลอดออกมาตลอดทุกครั้ง เมื่อจีเอ็มยื่นเอกสาร (Proposal) ขอเงินกู้ แม้ว่าโครงการทั้งหมดจะสูงกว่า 1.5 หมื่นล้านบาท แต่ในช่วงที่ฝุ่นตลบผู้บริหารจีเอ็มก็บอกว่า ต้องการเงินกู้ส่วนหนึ่งก้อน 1 ใน 3 หรือประมาณ 5,000 ล้านบาท เพื่อพยุงธุรกิจ สถาบันการเงินที่อยู่ในข่ายครั้งนั้น อาทิ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า หรือเอ็กซิมแบงก์ และธนาคารกรุงเทพ
แต่มาในวันนี้ทุกอย่างชัดเจนแล้ว เพราะจีเอ็มได้แหล่งเงินกู้ในประเทศทั้งหมดรวมกว่า 1.35 หมื่นล้านบาท จาก 3 ธนาคารชั้นนำ คือ ธนาคารกรุงเทพ 6,000 ล้านบาท ธนาคารไทยพาณิชย์ 6,000 ล้านบาท และธนาคารทิสโก้ 1,500 ล้านบาท มีระยะเวลาการกู้ 6-7 ปี และจะแถลงข่าวอย่างเป็นทางการในวันที่ 29 มกราคมนี้ ณ โรงแรมคอนราด โดยมี นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นสักขีพยานในการลงนามขอกู้
ทางด้านความเสี่ยงของสินเชื่อนั้น การที่ธนาคารพิจารณาให้สินเชื่อกับจีเอ็ม เนื่องจากมองว่าความเสี่ยงไม่ได้สูงมาก แม้จะสูงกว่าในอดีต แต่ก็ไม่ถึงกับเสี่ยงจนรับไม่ได้ ทั้งนี้เงื่อนไขในการปล่อยกู้นั้นทางบริษัทแม่จะเข้ามารับผิดชอบในบางส่วน แต่ไม่ได้เป็นการค้ำประกันสินเชื่อ แต่เป็นการออกหนังสือรับรอง

'จีเอ็มไอโอ' ส่งเงินเติมเต็ม 1.5 หมื่นล้าน
 อย่างไรก็ตาม แม้จีเอ็มจะได้แหล่งเงินกู้จากในประเทศวงเงินรวม 1.35 หมื่นล้านบาท แต่โครงการทั้งหมดของจีเอ็มที่วางไว้นั้นจะต้องใช้เงินรวมกว่า 1.5 หมื่นล้านบาท คำถามก็คือ ส่วนต่างอีก 1,500 ล้านบาทนั้นจะเอาจากที่ไหน หรือว่าจีเอ็มในเมืองไทยมีเงินส่วนนี้อยู่แล้ว
มีรายงานข่าวที่น่าเชื่อถือได้ว่า บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล โอเปอเรชั่นส์ (General Motors International Operations) หรือ จีเอ็มไอโอ (GMIO) ซึ่งดูแลธุรกิจของจีเอ็มในตลาดเศรษฐกิจใหม่ ทั้งในเอเชีย แปซิฟิก ละตินอเมริกา แอฟริกา และตะวันออกกลาง มีสำนักงานอยู่ที่เมืองเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน จะส่งเงินมาสมทบให้อีกจนครบหรืออาจจะแถมให้ด้วยเพื่อนำมาใช้ในการปรับปรุงระบบการจัดจำหน่าย และการสื่อสารการตลาด คาดว่าเงินจำนวนดังกล่าวจะไม่เกิน 2,500 ล้านบาท
ทั้งนี้ จีเอ็มไอโอ ถือเป็นศูนย์กลางธุรกิจของจีเอ็มที่สำคัญที่สุด เพราะตั้งอยู่ในประเทศจีน ที่จีเอ็มเข้าไปบุกเบิกธุรกิจยานยนต์ไว้อย่างใหญ่โตร่วมกับพันธมิตรในประเทศจีน ยอดขายรถในจีนปี 2552 โดยจีเอ็มและพันธมิตรมีอัตราเติบโตถึง 67% หรืออยู่ที่ 1.8 ล้านคัน และแนวโน้มยังอยู่ในขาขึ้น เมื่อทางการจีนช่วยกระตุ้นยอดขายรถด้วยการลดภาษีและอุดหนุนคนขับที่เปลี่ยนมาใช้รถที่ปล่อยมลพิษน้อยลง ประหยัดน้ำมันมากขึ้น โดยความช่วยเหลือส่วนใหญ่มุ่งไปที่รถขนาดเล็กของจีน แต่ผู้ผลิตรถต่างชาติก็ทำยอดขายได้เพิ่มขึ้น ฉะนั้นจีเอ็มไอโอถือเป็นหน่วยธุรกิจที่มีความแข็งแกร่งทั้งในเรื่องฐานตลาดและเงินทุน


เปิดแผนการใช้เงิน
 การที่มีธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ให้การสนับสนุนเงินกู้ครั้งนี้ อาจเป็นการสะท้อนภาพว่าจีเอ็มนั้นมีศักยภาพในการฟื้นตัวและดำเนินธุรกิจต่อไปได้ เพราะต้องเสนอแผนงานในการนำเงินมาใช้และสร้างผลกำไรในการใช้หนี้คืน ธนาคารเหล่านี้ก็มีทีมงานตรวจสอบความเป็นไปได้ของโครงการอยู่แล้ว อีกทั้งธนาคารคงมองภาพรวมอุตสาหกรรมรถยนต์มีแนวโน้มที่ดีขึ้นแล้วเมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้านี้ ขณะที่จีเอ็มเองมีการปรับโครงสร้างบริษัทและปรับโครงสร้างหนี้ไปแล้ว

 
ความน่าสนใจของโครงการนี้จนนำมาสู่การปล่อยเงินกู้วงเงินระดับหมื่นล้านบาท อยู่ที่เป็นโครงการลงทุนของค่ายรถยักษ์ใหญ่ของโลก ที่มีฐานธุรกิจในเมืองไทยขนาดใหญ่ และน่าจะมีศักยภาพเติบโตได้ในอนาคต
 
อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงของการปล่อยกู้ทำให้อัตราดอกเบี้ยที่จะให้กับจีเอ็มครั้งนี้จะต้องอยู่ในระดับสูงอย่างแน่นอน ซึ่งทางจีเอ็มเองก็คงต้องยอมรับในต้นทุนที่อยู่ในระดับสูง แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมาฐานะการเงินของบริษัทเจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) ถือว่ายังอยู่ในระดับที่ดีและมีผลกำไรแต่ที่ผ่านมาประสบปัญหาจากภาวะเศรษฐกิจโดยรวมประกอบกับข่าวล้มละลายของบริษัทแม่ ทำให้ยอดขายรถยนต์หดตัวลงมาก
ส่วนแผนการใช้เงินกู้และเงินสนับสนุนจากจีเอ็มไอโอ รวมกว่า 1.5 หมื่นล้านบาทนั้น ล็อตแรกจะเป็นการเตรียมประกอบรถปิกอัพ รุ่นโคโลราโดใหม่ ที่ฐานการผลิตรถยนต์จีเอ็ม จังหวัดระยอง โดยรถใหม่ของโคโลราโด พัฒนาในรหัส GMI 700 เป็นรถที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล 2,500 ซีซี และ 2,800 ซีซี เทคโนโลยีเครื่องยนต์ เป็นการพัฒนาจาก วี เอ็ม โมโตริ ของอิตาลี และเครื่องยนต์ดีเซล คอมมอนเรล 4 สูบรุ่นใหม่นี้ ไม่ใช่แค่ใช้ในรถเชฟโรเลตในภูมิภาคนี้เท่านั้น หากยังจะถูกส่งออกไปทั่วโลกด้วย มีเป้าหมายเบื้องต้นในการผลิตมากกว่า 1 แสนเครื่องต่อปี จากฝีมือแรงงานไทย 340 คน
ขณะที่วงเงินที่เหลือจะใช้ในการขึ้นสายการผลิตรถยนต์นั่งในโรงงานเดิม ที่เริ่มลงทุนในปลายปี 2539 ด้วยเงินลงทุนกว่า 3 หมื่นล้านบาท บนพื้นที่ 440 ไร่ ภายในนิคมอุตสาหกรรม อีสเทิร์น ซีบอร์ด จังหวัดระยอง ศูนย์การผลิตรถยนต์แห่งนี้ได้รับการออกแบบ ตามศูนย์การผลิตรถยนต์ต้นแบบของ เจนเนอรัล มอเตอร์ส ที่เมืองไอเซนนาร์ค ประเทศเยอรมนี ซึ่งได้ชื่อว่า เป็นศูนย์การผลิตที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
เทคโนโลยีล้ำสมัยที่ได้รับการติดตั้งภายในศูนย์การผลิตรถยนต์ จีเอ็ม ประเทศไทย ทำให้ศูนย์ฯแห่งนี้กลายเป็นศูนย์การผลิตที่ทันสมัยที่สุดในประเทศไทยและดีที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและของโลก ในปี 2548 ศูนย์การผลิตฯ ได้ประกาศเพิ่มการลงทุนกว่า 2,000 ล้านบาทเพื่อสร้างโรงงานสีแห่งที่ 2

สำหรับรถยนต์นั่งรุ่นใหม่ของ จีเอ็ม ที่มีแผนจะผลิต ได้แก่ รุ่น ครูซ (CRUZE) (Project J300) ซึ่งเป็นรถยนต์นั่งขนาดคอมแพค เพื่อทดแทนเชฟโรเลต ออพตร้า ซึ่งในตลาดเมืองจีนผลิตออกมาแล้ว และในเมืองไทยคาดว่าจะทันในปลายปี 2553 นี้ รถยนต์นั่งรุ่นใหม่ อาวีโอ (Project T300) ซึ่งอยู่ระหว่างการพัฒนารูปแบบและการผลิตเพื่อแข่งขันในตลาดบี เซ็กเมนท์ รวมไปถึงรถยนต์อเนกประสงค์ขับเคลื่อน 4 ล้อ แคปติวาใหม่ (Project C140) ที่จะมาแทนรุ่นเดิม

========================================================

 

 

21 November 2024
:: MEMBER LOGIN
E-mail Account
Password
:: OUR SPONSORS
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD