Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 177,242
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 174,524
3 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 173,828
4 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,797
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 171,246
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 170,329
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 169,295
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 168,665
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 161,687
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 159,128
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 159,069
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 158,284
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 68,711
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 63,481
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 51,494
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 44,360
17 Industrial Provision co., ltd 40,435
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 39,095
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 37,023
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 35,356
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 34,254
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 32,611
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 32,033
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 31,823
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 28,255
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 27,274
27 P.D.S. Automation co.,ltd 23,635
28 AVERA CO., LTD. 23,388
29 เลิศบุศย์ 22,349
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 21,111
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 21,013
32 Electronics Source Co.,Ltd. 20,662
33 แมชชีนเทค 20,600
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,848
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,829
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 19,624
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 19,264
38 SAMWHA THAILAND 19,095
39 วอยก้า จำกัด 18,791
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 18,322
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 18,119
42 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 18,059
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 18,005
44 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 18,002
45 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,904
46 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,897
47 Systems integrator 17,448
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 17,407
49 Advanced Technology Equipment 17,223
50 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 17,214
15/01/2553 13:43 น. , อ่าน 5,676 ครั้ง
Bookmark and Share
บทเรียนจากความผิดพลาดกรณี “มาบตาพุด”
โดย : Admin



โดย กิตติศักดิ์ ปรกติ         
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
 ที่มา: มติชนออนไลน์ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2552 

 

 

 

 

 
บทเรียนจากความผิดพลาดกรณี “มาบตาพุด” โดย กิตติศักดิ์ ปรกติ

"หากผู้ทรงคุณวุฒิอย่างคณะกรรมการกฤษฎีกามองข้ามคำพิพากษาสำคัญ ๆ ของศาลปกครองสูงสุด และไม่ติดตามแนวคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญเสียเองแล้ว รัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐจะพึ่งพาคณะกรรมการกฤษฎีกาให้เป็นที่ปรึกษาในเรื่องสำคัญ ๆ ได้อย่างไร"
 การที่ศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวเมื่อปลายเดือนกันยายนศกนี้ ด้วยการสั่งให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรม­ชาติและสิ่งแวด­ล้อม การนิคมอุตสาหกรรม และรัฐมนตรีกระทรวงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในคดีมาบตาพุดอีก ๕ กระ­ทรวงได้แก่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพลังงาน กระทรวงคมนาคม กระทรวงสาธารณสุข ระงับโครงการหรือกิจกรรมตามโครงการมาบตาพุด ๗๖ โครงการไว้ชั่วคราว จนกว่าศาลจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นนั้น

 ดูเหมือนจะจุดชนวนให้เกิดการกล่าวอ้างว่า การระงับโครงการเหล่านี้จะก่อให้เกิดเสียหายเป็นลูกโซ่มีมูลค่ามหาศาล ทั้งทางตรงและทางอ้อม และเกิดข้อโต้แย้งถกเถียงอื่น ๆ ตามมาหลายประการนั้น เป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดว่า “เป็นสิ่งที่ไม่น่าจะเกิด และไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้น” หากผู้เกี่ยว­ข้องไม่ก่อความผิดพลาดขึ้น 

แน่นอนที่สุด ขณะนี้หน่วยงานของรัฐ และผู้เกี่ยวข้องย่อมจะพยายามหาทางเยียวยาความเสียหาย และแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุด อย่างไรก็ดี เราควรจะถือโอกาสที่สังคมกำลังเพ่งเล็งปัญหานี้ร่วมกันสำรวจที่มาของความบกพร่องผิดพลาดครั้งนี้ และหาทางแก้ไขไม่ให้เกิดขึ้นซ้ำรอยได้อีกในอนาคต


๑. รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐมองเห็นปัญหานี้ล่วงหน้าหรือไม่?

บทบัญญัติมาตรา ๖๗ วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญ ฉบับ ๒๕๕๐ อันเป็นที่มาของข้อโต้แย้งถกเถียงเกี่ยวกับการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรือคุณภาพชีวิตของบุคคลนั้น อันที่จริงไม่ใช่ของใหม่ เพราะเป็นบทบัญญัติที่ตราขึ้นตามแนวของมาตรา ๕๖ วรรคสอง และมาตรา ๕๙ ของรัฐธรรมนูญ ฉบับ ๒๕๔๐ ซึ่งมีผลใช้มาแล้วถึง ๑๒ ปีนั่นเอง

สาระสำคัญของรัฐธรรมนูญมาตรานี้ก็คือ หลักคุ้มครองสิทธิในชีวิตและร่างกาย โดยเน้นสิทธิในการดำรงชีพอย่างปกติ ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของประชาชน ด้วยเหตุนี้มาตรา ๖๗ วรรคสองจึงวางหลัก ห้ามมิให้ดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อผลกระทบรุนแรงต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ หรือสุขภาพของประชาชน

 แต่การห้ามนี้ก็ไม่ใช่ห้ามขาด เพราะสิ่งที่อาจส่งผลกระทบรุนแรงนั้น ในทางหลักวิชา ในทางข้อเท็จจริง หรือตามมาตรฐานความรู้สึกนึกคิดของประชาชนอาจจะไม่รุนแรงก็ได้ ดังนั้นรัฐธรรมนูญจึงวางข้อยกเว้นไว้ว่า การดำเนินกิจการเหล่านี้อาจมีได้หากได้ทำสิ่งสำคัญ ๓ สิ่งเสียก่อนคือ

๑. ทำการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ

๒.รับฟังความคิดเห็นของประชาชนผู้มีส่วนได้เสีย

๓.  ให้คนกลาง คือองค์กรอิสระซึ่งประกอบด้วยผู้แทนองค์การเอกชน และนักวิชาการซึ่งเป็นผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม และด้านสุขภาพได้ให้ความเห็นประกอบ


 กล่าวได้ว่า ความตามรัฐธรรมนูญนี้ เป็นเรื่องที่รัฐบาลและเจ้าหน้าที่ของรัฐตระหนักดี ด้วยเหตุนี้ คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติไว้เมื่อ ๒ ตุลาคม ๒๕๕๐ กำหนดให้กระทรวงทรัพยากรธรรม­ชาติและสิ่งแวด­ล้อมในฐานะหน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักร่วมกันกับส่วนราชการอื่นทุกหน่วยงาน กำหนดมาตร­การและกระบวนการรองรับการใช้สิทธิของบุคคลที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชนในการดำเนิน­การตามมาตรา ๖๗ ของรัฐธรรมนูญ

แต่จากบันทึกรายงานการประชุมของคณะกรรม­การกฤษฎีกา ปรากฏว่าจนถึงเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๒ ไม่ได้มีการดำเนินการในเรื่องนี้อย่างเป็นรูปธรรมแต่อย่างใด

จะเห็นได้ว่า หากเจ้าหน้าที่ของรัฐ และหน่วยงานของรัฐ รวมตลอดถึงนักการเมืองที่รับผิดชอบจะใส่ใจต่อปัญหาสำคัญที่อาจกระทบต่อสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ ก็น่าจะได้ดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อป้องกันผลร้ายไว้บ้าง เพราะตั้งแต่ ๒ ตุลาคม ๒๕๕๐ จนกระทั่งศาลปกครองได้มีคำสั่งคุ้ม­ครองชั่วคราว ก็มีเวลาร่วม ๒ ปีเต็ม

คำถามที่ประชาชนควรถามก็คือ การที่งานราชการหละหลวมไม่มีการเตรียมการวิเคราะห์ และป้องกันความเสี่ยง ตลอดจนวางมาตรการแก้ปัญหาให้ทันท่วงที จนเกิดเป็นเรื่องเสียหายใหญ่โตขึ้นเช่นนี้ ใครบ้างหนอควรจะต้องรับผิดชอบ?



๒.เหตุใดหน่วยงานของรัฐเพิ่งจะมาตื่นตัวเอาในปี ๒๕๕๒?

 ความชะล่าใจของหน่วยงานของรัฐที่ดำรงอยู่เกือบสองปีได้สิ้นสุดลงเมื่อประชาชนในพื้นที่อุตสาหกรรมมาบตาพุดได้ใช้สิทธิฟ้องต่อศาลปกครองระยองว่าการดำเนินการของนิคมอุตสาหกรรมในเขตเทศบาลมาบตาพุด ก่อให้เกิดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัยของประชาชนในท้องที่อย่างรุนแรง

แต่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติกลับละเลยไม่ประกาศกำหนดให้ท้องที่ตำบลมาบตาพุดเป็นเขตควบคุมมลพิษ และศาลปกครองระยองได้พิพากษาเมื่อต้นเดือนมีนาคม ๒๕๕๒ ให้คณะกรรม­การสิ่งแวดล้อมแห่งชาติประกาศท้องที่เทศบาลเมืองมาบตาพุด และใกล้เคียงเป็นเขตควบคุมมลพิษภายใน ๖๐ วันนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา

จากนั้นหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องหน่วยต่าง ๆ จึงเริ่มร้อนตัว และหาทางแก้ตัวด้วยการทยอยส่งหนังสือหารือมายังคณะกรรมการกฤษฎีกาว่า

๑.  มาตรา ๖๗ วรรคสองของรัฐธรรมนูญมีผลบังคับทันทีหรือไม่ หรือต้องรอให้มีกฎหมายเฉพาะมากำหนดรายละเอียดในการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญเสียก่อน และ

 ๒.  ระหว่างที่ยังไม่มีกฎหมายเฉพาะเช่นนั้นหน่วยงานของรัฐจะวางมาตรการเพื่อปฏิบัติให้เป็นปามมาตรา ๖๗ วรรคสองของรฐธรรมนูญไปพลางก่อนได้หรือไม่

๓.  ระหว่างที่ยังไม่มีกฎหมายเฉพาะดังกล่าว หน่วยงานซึ่งมีอำนาจอนุญาตตามกฎหมายปัจจุบันจะอาศัยอำนาจตามกฎหมายปัจจุบันออกใบอนุญาตแก่โครงการหรือกิจกรรมที่อาจอยู่ใต้บังคับของมาตรา ๖๗ วรรคสองของรัฐธรรมนูญหรือไม่

มีข้อน่าสังเกตว่า หากหน่วยงานเหล่านี้ได้รับหนังสือแจ้งมติคณะรัฐมนตรีเมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๕๐ แล้วเกิดสงสัยขึ้นว่า ควรจะปฏิบัติอย่างไร ดังนี้คำถามข้างต้นนี้ก็น่าจะส่งมายังกฤษฎีกาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๐ โน่นแล้ว การที่รอมาถึงสองปีแล้วค่อยถามจึงเป็นข้อที่ชวนสงสัยในคุณสมบัติและความเหมาะสมต่อตำแหน่งของหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างยิ่ง


การใช้เวลาเนิ่นนานเช่นนี้ ทำให้ฉุกคิดต่อไปว่า
ถ้าไม่มีคำพิพากษาศาลปกครองระยองเมื่อเดือนมีนาคม ๒๕๕๒ ขึ้นมา เจ้าหน้าที่ของรัฐจะเริ่มคิดตั้งคำถามกันหรือไม่ และในระหว่าง ๒ ปีมานี้ บรรดากระทรวง ทบวง กรม และหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเหล่านี้ไม่มีผู้ทรงคุณวุฒิพอที่จะตอบปัญหานี้ได้เชียวหรือ
 
ในเมื่อบุคลากรหรืออดีตบุคลากรของหน่วยงานเหล่านี้ก็ล้วนได้รับเชิญไปเป็นคณะกรรมการกฤษฎีกาบ้าง เป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจขนาดยักษ์ใหญ่ หรือบริษัทใหญ่ ๆ ที่รัฐเป็นผู้ถือหุ้นเสียงข้างมากอยู่หลายคน รับเบี้ยประชุมและโบนัสกันบางแห่งเป็นจำนวนเงินหลายล้านบาท ท่านเหล่านั้นจะไม่มีสติปัญญาเพียงพอจะคิดหาคำตอบไม่ออกกันเชียวหรือ


๓.เหตุใดความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาจึงไม่ช่วยแก้ปัญหา?

 คณะกรรมการกฤษฎีกาได้พิจารณาข้อหารือของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เสนอเข้ามาโดยใช้เวลาประชุม ๓ เดือนระหว่างพฤษภาคมจนถึงกรกฎาคม ๒๕๕๒ จนได้ข้อยุติสรุปได้ว่า

 ๑. แม้สิทธิชุมชนและความคุ้มครองตามมาตรา ๖๖ และ ๖๗ ของรัฐธรรมนูญจะได้เกิดขึ้นและได้รับการคุ้มครองแล้วทันทีที่รัฐธรรมนูญมผล แต่เมื่อมาตรา ๓๐๓ ของรัฐธรรมนูญบัญญัติว่า ให้คณะรัฐมนตรีจัดทำหรือปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้แล้วเสร็จในเวลาที่กำหนด ทำให้คณะกรรมการกฤษฎีกาให้ความเห็นต่อไปว่ามาตรา ๓๐๓ มาเป็นบทยกเว้นในฐานะเป็นบทเฉพาะกาล มีผลให้มาตรา ๖๗ ของรัฐธรรมนูญยังไม่มีผลบังคับทันที จนกว่าจะมีกาตรากฎหมายเฉพาะกำหนดรายละเอียดในการปฏิบัติแล้ว

๒. ในระหว่างที่ยังไม่มีกฎหมายเฉพาะกำหนดรายละเอียดตามมาตรา ๖๗ วรรคสอง คณะกรรม­การกฤษฎีกาเห็นว่า คณะรัฐมนตรีมีหน้าที่จัดทำกฎหมายเกี่ยวกับการปฏิบัติตามมาตรา ๖๗ วรรคสอง ให้อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน แต่หากหน่วยงานของรัฐจะใช้ดุลพินิจดำเนินการตามรัฐธรรมนูญไปพลางก่อนก็ไม่ต้องห้าม แต่อาจเกิดความสับสน เพราะอาจใช้เกณฑ์ต่างกัน และควรเข้าใจด้วยว่า เกณฑ์เหล่านั้นไม่มีผลบังคับเด็ดขาด คือผู้เกี่ยวข้องมีสิทธิโต้แย้งหน่วยงานที่วางเกณฑ์เหล่านั้นได้

๓.ในระหว่างที่ยังไม่มีการตรากฎหมายเฉพาะนั้น หน่วยงานของรัฐอาจออกใบอนุญาตแก่โครงการต่าง ๆ ที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือชุมชนได้ โดยปฏิบัติตามแนวทางที่กฎหมายที่บังคับอยู่ในปัจจุบันได้กำหนดไว้ได้ เพื่อมิให้การพิจารณาอนุญาตหรือการลงทุนของเอกชนต้องหยุดชะงักอันส่งผลกระทบต่อการบริหารราชการแผ่นดินและเศรษฐกิจของประเทศ

ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาข้างต้นนี้ได้ทำขึ้นเมื่อปลายเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๒ แต่สำหรับผู้ที่ติดตามความเคลื่อนไหวในทางกฎหมายมหาชนพอสมควร ก็จะทราบว่าความเห็นของคณะกรรม­การกฤษฎีกาข้างต้นนี้มีปัญหาทางหลักวิชา เพราะการตีความว่ามาตรา ๖๗ วรรคสองยังไม่มีผลบังคับทันที ต้องรอให้มีกฎหมายเฉพาะมารองรับเสียก่อนนี้ เป็นการตีความที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญอย่างโจ่งแจ้ง และก่อให้เกิดความเข้าใจผิด ๆ ตามมาอีกหลายประการ

การตีความของคณะกรรมการกฤษฎีกาข้างต้นนี้ ขัดกับความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญฉบับ ๒๕๕๐ อย่างเห็นได้ชัด เพราะเป็นที่เข้าใจกันดีว่ารัฐธรรมนูญมุ่งให้สิทธิขั้นพื้นฐานมีผลบังคับทันที จึงได้ตัดถ้อยคำที่ใช้ในรัฐธรรมนูญ ฉบับ ๒๕๔๐ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดที่ว่า “ทั้งนี้ตามกฎหมายบัญญัติ” ออกไป

 นอกจากนี้กรณีมาตรา ๖๗ นี้ศาลปกครองสูงสุด และศาลรัฐธรรมนูญก็เคยวินิจฉัยไว้ก่อนนั้นแล้วว่า ย่อมมีผลบังคับทันทีโดยไม่ต้องรอให้มีกฎหมายเฉพาะมารองรับอีก

 ศาลปกครองสูงสุด ได้ตัดสินกรณีถมคลองถนนเขต ไว้ตั้งแต่เดือนตุลาคม ๒๕๕๐ เกือบสอง

========================================================

 

 

2 April 2025
:: MEMBER LOGIN
E-mail Account
Password
:: OUR SPONSORS
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD