Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 176,791
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 174,164
3 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 173,452
4 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,449
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,907
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 170,023
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,999
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 168,287
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 161,136
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,814
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,767
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,967
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 68,308
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,811
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 51,154
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 44,047
17 Industrial Provision co., ltd 39,844
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,794
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,707
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 35,034
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,968
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 32,315
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,731
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 31,460
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,971
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,961
27 P.D.S. Automation co.,ltd 23,341
28 AVERA CO., LTD. 23,098
29 เลิศบุศย์ 22,057
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,815
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,708
32 Electronics Source Co.,Ltd. 20,324
33 แมชชีนเทค 20,310
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,570
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,538
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 19,280
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,956
38 SAMWHA THAILAND 18,735
39 วอยก้า จำกัด 18,401
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,974
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,818
42 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,751
43 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,721
44 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,666
45 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,593
46 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,589
47 Systems integrator 17,150
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 17,094
49 Advanced Technology Equipment 16,928
50 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,893
08/01/2553 09:35 น. , อ่าน 7,036 ครั้ง
Bookmark and Share
อนาคตโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในไทย
โดย : Admin

ที่มา: 

 

 

เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่แก้กันไม่ตกสักที  ไม่ว่าจะหยิบยกมาคุยเมื่อใดก็ต้องเป็น  "เรื่อง"  แทบทุกครั้งไป  โดยเฉพาะกับ  "โรงไฟฟ้านิวเคลียร์"  ที่ประเทศไทยยังไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน  แต่ทางกระทรวงพลังงานได้ออกมาบอกว่า  โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องเริ่มตั้งแต่วันนี้  เพราะหากวันนี้ยังไม่ทำก็ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะได้เริ่ม  และยังเป็นการเตรียมพร้อมเพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศที่เพิ่มขึ้นทุกวันด้วย
 



 

     ทั้งนี้  เดิมปี  19  รัฐบาลได้อนุมัติให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย  (กฟผ.)  ก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาด  600  เมกะวัตต์  ที่อ่าวไผ่  อำเภอศรีราชา  จังหวัดชลบุรี  แต่ได้มีการคัดค้านจากประชาชน  ทำให้รัฐบาลตัดสินใจล้มเลิกโครงการไปในที่สุด  จนเมื่อช่วง  2-3  ปีที่ผ่านมา  ที่ราคาน้ำมันทุบสถิติทำราคาน้ำมันพุ่งไปอยู่ที่ระดับ  147  เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล  เกินความคาดหมายทั้งหลายทั้งปวงไปอย่างแทบไม่น่าเชื่อ  เรียกว่างานนี้เป็นการตบหน้าบรรดากูรูด้านพลังงานจนหน้าแตกเย็บไม่ติดทีเดียว           


 

     งานนี้ก็เลยกลายเป็นบทเรียนสอนใจไม่ให้ตั้งอยู่ในความประมาท  ซึ่งทำให้รัฐบาลหันมาเห็นความสำคัญของการพัฒนาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขึ้นมาอีกรอบ  เพื่อใช้เป็นทางเลือกสุดท้ายในยามราคาน้ำมันกลับมาทะยานอีกครั้ง  เพราะไม่มีการเตรียมพร้อมรับมือไว้แต่เนิ่นๆ  หากราคาน้ำมันกลับมาสูงอีกครั้งจะทำกันอย่างไรต่อไป  หรือว่าถึงเวลานั้นคนไทยที่เคยชินกับการช่วยอุดหนุนราคาน้ำมันให้ได้ใช้กันในราคาต่ำกว่าความเป็นจริง  จะยอมก้มหน้าก้มตายอมรับชะตากรรมกันตาปริบๆ

 

     โดยกระทรวงพลังงานได้มีการบรรจุแผนก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไว้ในปี  63  ซึ่งเป็นช่วงท้ายของแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า  (พีดีพี)  ที่ไทยมีแผนก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าจำนวน  2  พันเมกะวัตต์  เพื่อใช้เป็นแหล่งไฟฟ้าประมาณ  5%  ของความต้องการใช้ไฟฟ้าทั้งหมด  ซึ่งหากรวมโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เข้าเป็นหนึ่งในแหล่งพลังงานแล้ว  ก็จะทำให้ได้ต้นทุนไฟฟ้าต่อหน่วยต่ำที่สุด  คือ  2.08  บาทต่อหน่วย  เมื่อเทียบกับต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน  2.11  บาทต่อหน่วย  และจากพลังงานแสงอาทิตย์  20.20  บาทต่อหน่วย
 

     แต่ล่าสุด  สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน  (สนพ.)  ได้ทำตัวเลขพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่จะนำไปใช้เป็นข้อมูลในการทำแผนพีดีพีใหม่ให้สอดคล้องกัน  ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่แผนพีดีพีของประเทศรอบใหม่อาจมีการปรับลดกำลังการผลิตไฟฟ้า  โดยเฉพาะโรงไฟฟ้าถ่านหินและโรงไฟฟ้านิวเคลียร์  เพราะต้องยอมรับว่าแผนการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินและนิวเคลียร์มีข้อจำกัดค่อนข้างมาก  ทั้งการหาพื้นที่ก่อสร้างที่ไม่เป็นที่ยอมรับของชุมชน  ประกอบกับสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัว  จึงทำให้ความจำเป็นในการเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าลดลงตามไปด้วย
 

     ทั้งนี้  ในการทบทวนแผนพีดีพีใหม่นี้  จำเป็นต้องมีการปรับรูปแบบการเปิดรับฟังความคิดเห็นให้เปิดกว้างมากขึ้น  โดยจะเริ่มจากการจัดสัมมนากลุ่มย่อย  เพื่อให้มีการระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน  เช่น  ตัวแทนนักวิชาการ  ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย  กลุ่มองค์กรเอกชน  (เอ็นจีโอ)  และประชาชนทั่วไป  หลังจากนั้นก็จะรวบรวมความคิดเห็นที่ได้มาทำประชาพิจารณ์รอบใหม่  เพื่อนำไปสู่การจัดทำแผนพีดีพี  2009  ที่จะสรุปภายในปี  52  นี้
 

     อย่างไรก็ตาม  แผนพีดีพีฉบับปรับปรุงครั้งที่  2  เมื่อเดือน  มี.ค.ที่ผ่านมา  กำหนดให้ปริมาณกำลังผลิตไฟฟ้าสำรองของประเทศอยู่ในระดับที่เหมาะสมกับเศรษฐกิจชะลอตัว  และลดภาระการลงทุนโครงการผลิตไฟฟ้าและระบบสายส่ง  โดยในปี  52-58  จะมีกำลังผลิตไฟฟ้าใหม่เพิ่มขึ้น  12,605  เมกะวัตต์  และปี  53-64  มีกำลังไฟฟ้าผลิตเพิ่มขึ้น  17,550  เมกะวัตต์
 

     อนาคตอีก  10  ปีข้างหน้า  คนไทยจะมีโอกาสได้เห็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งแรกเกิดขึ้นในไทย  หรือไม่นั้นก็คงต้องรอลุ้นกันล่ะว่า  สุดท้ายแล้วเราจะมีทางออกที่ดีไปกว่าการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ยังมีปัญหาการไม่ยอมรับของคนในชุมชนอยู่หรือไม่.


 

 

ขอขอบคุณที่มาของแหล่งข่าว


 

========================================================

 

 

21 November 2024
:: MEMBER LOGIN
E-mail Account
Password
:: OUR SPONSORS
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD