Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 176,791
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 174,164
3 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 173,452
4 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,449
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,907
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 170,023
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,999
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 168,287
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 161,136
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,814
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,766
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,967
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 68,307
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,811
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 51,154
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 44,047
17 Industrial Provision co., ltd 39,844
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,794
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,707
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 35,034
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,968
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 32,315
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,731
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 31,460
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,971
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,961
27 P.D.S. Automation co.,ltd 23,340
28 AVERA CO., LTD. 23,098
29 เลิศบุศย์ 22,057
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,815
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,708
32 Electronics Source Co.,Ltd. 20,323
33 แมชชีนเทค 20,310
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,570
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,538
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 19,280
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,956
38 SAMWHA THAILAND 18,734
39 วอยก้า จำกัด 18,401
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,974
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,818
42 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,751
43 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,720
44 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,666
45 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,593
46 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,589
47 Systems integrator 17,150
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 17,094
49 Advanced Technology Equipment 16,928
50 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,893
08/01/2553 09:14 น. , อ่าน 9,876 ครั้ง
Bookmark and Share
โรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ อนาคตที่ไทยต้องมี
โดย : Admin

 ที่มา:   

 

 


ภาพประกอบจาก http://maemoh.org

 

ควันจากปล่องโรงไฟฟ้าสร้างความหวาดวิตกแก่ผู้พบเห็นกับคนอาศัยอยู่ละแวกใกล้เคียงก็ยิ่งสร้างความกังวลใจจะเป็นควันพิษ...ก่อให้เกิดโรคร้ายได้สารพัด   พลังงานทดแทนจึงเป็นเหมือนพระเอกขี่ม้าขาว เข้ามาช่วยเป็นพลังงานทางเลือก โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ราคาน้ำมันตลาดโลกผันผวน   พลังงานแสงอาทิตย์คือหนึ่งในนั้น ปัจจุบันกระทรวงพลังงานสนับสนุนผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน ให้หันมาผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในหลายมาตรการ

โดยเฉพาะกำหนดอัตราการให้ส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าไว้ที่ หน่วยละ 8 บาท
      ในภาพรวม การผลิตไฟฟ้าแสงอาทิตย์ในประเทศไทยถือว่าเพิ่มเริ่มต้น ด้วยข้อจำกัดของโซลาร์เซลล์ที่มีต้นทุนสูง ผลิตกระแสไฟฟ้าได้เฉพาะกลางวัน ถ้าจะใช้กลางคืน ต้องเอาไฟฟ้าไปเก็บไว้ในแบตเตอรี่ แบตเตอรี่ก็มีอายุใช้งานเพียง 1-2 ปี ก็เสื่อมคุณภาพ ทำให้ต้นทุนยิ่งสูงมากขึ้น และประเด็นสำคัญ โซลาร์เซลล์ไม่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้จำนวนมาก ระดับโรงไฟฟ้าที่จะแจกจ่ายให้กับบ้านเรือนต่างๆได้เหมือนโรงไฟฟ้าพลังงานแก๊ส ถ่านหิน
หรือถ้าผลิตได้โรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ก็ต้องใช้งบประมาณมหาศาลไม่คุ้มทุนแต่จะคุ้มก็ต่อเมื่อราคารับซื้อไฟฟ้าหน่วยละ 12 บาท
    “เทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ไม่ได้มีเพียงโซลาร์เซลล์ ปัจจุบันยังมี ระบบโซลาเทอร์มอลล์ หรือระบบความร้อนรวมแสงผลิตไฟฟ้าได้เช่นกัน”    
กาญจน์ ตระกูลธรรม กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยามโซลา เอนเนอยี่ จำกัด บอก  ระบบความร้อนรวมแสง นำมาผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าใช้ในบ้านเรือน อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ไปจนถึงระดับโรงไฟฟ้าได้
กาญจน์ บอกว่า ระบบนี้มีหลายเทคโนโลยี แต่ที่เหมาะกับประเทศไทย คือ ระบบ Parabolic trough หรือที่เรียกง่ายๆว่า ระบบราง

ความร้อนรวมแสง
หลักการคร่าวๆ คือ การนำความร้อนที่ได้จากรางที่รวมแสงไปปั˜นเทอร์ไบน์ให้ผลิตกระแสไฟฟ้าออกมา ส่วนในเวลากลางคืน ระบบก็จะเอาความร้อนที่ได้ในช่วงเวลากลางวัน ซึ่งเก็บไว้ในถังเก็บความร้อนค่อยๆปล่อยมาใช้
 
ภาคการทำงานหลักแบ่งออกเป็น 3 ส่วน
SOLAR FIELD รับพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อเปลี่ยนมาเป็นพลังงานความร้อนเป็นส่วนที่ลงทุนสูงที่สุดอยู่ที่ร้อยละ 70
STORAGE TANK เป็นส่วนการเก็บพลังงานความร้อนเพื่อนำมาใช้ในช่วงเวลาที่ไม่มีแสงอาทิตย์ เป็นส่วนที่ลงทุนร้อยละ 5
POWER CYCLE ผลิตกระแสไฟฟ้า โดยใช้พลังงานความร้อนหมุนกังหันไอน้ำเพื่อไปปั˜นเจนเนอเรเตอร์ผลิตกระแสไฟฟ้า เป็นส่วนที่ลงทุนรองลงมาอยู่ที่ร้อยละ 25
 
 
“ระบบนี้ไม่ใช่ระบบใหม่ เป็นระบบที่คิดค้นทำกันมาเกือบ 20 ปีแล้ว แพร่หลายในอเมริกา ยุโรป แถบเอเชียมีน้อยมาก เพราะทำแล้วไม่คุ้มทุน สู้ใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิลไม่ได้”กาญจน์ว่า
ปัจจุบันเชื้อเพลิงฟอสซิลกำลังจะหมดลง และมีแนวโน้มราคาสูงขึ้น พลังงานแสงอาทิตย์จึงเป็นทางออกของพลังงานทางเลือกสำคัญ
มองในแง่การลงทุน ระบบรางความร้อนรวมแสงถือว่าค่อนข้างสูง ถ้าไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล แทบไม่มีโอกาสเป็นไปได้
 
โรงไฟฟ้า 1 โรง ขนาด 8 เมกะวัตต์ ต้องใช้เงินลงทุนกว่า 3,000 ล้านบาท
ย้ำจุดแข็งของเทคโนโลยีผลิตไฟฟ้าระบบรางความร้อนรวมแสง ข้อแรกเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพสูง ข้อที่สองไม่มีต้นทุนทางด้านวัตถุดิบและพลังงาน ข้อที่สามต้นทุนในการบำรุงรักษาต่ำ  ข้อที่สี่สามารถลดปริมาณ คาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมาเป็นพลังงานทางเลือกที่สะอาด ไม่มีมลพิษ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ประเทศไทยผลิตกระแสไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติถึงร้อยละ 70... จากลิกไนต์ถ่านหิน ร้อยละ 17...จากพลังงานน้ำ ร้อยละ 5...จากน้ำมันเตา ร้อยละ 4...จากพลังงานอื่นๆ ร้อยละ 4
 ข้อมูลปี 2549 เราใช้ก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยประมาณ 900 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน...จากพม่าประมาณ 900 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน   ถ้าคิดในอัตราการผลิตกระแสไฟฟ้าต่อหน่วยแล้ว ต้นทุนในการผลิตกระแสไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติอยู่ที่ 2 บาทต่อหน่วย
คาดการณ์ว่า ถ้ายังใช้ก๊าซผลิตไฟฟ้าไปเรื่อยๆอย่างนี้ ก๊าซจะหมดในอีก 30-40 ปี
สมมติว่า โรงไฟฟ้ากำลังผลิต 10 เมกะวัตต์ ถ้าใช้ก๊าซธรรมชาติทั้งหมด จะมีต้นทุนปีละ 200 ล้านบาท แต่ถ้าผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ จะประหยัดค่าวัตถุดิบปีละ 200 ล้านบาท
ปัญหามีว่า โรงงานผลิตไฟฟ้าด้วยก๊าซธรรมชาติมีต้นทุนก่อสร้างต่ำกว่าโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ 5 เท่าตัว
ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 20.20 บาทต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับพลังงานทดแทนอื่น ไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้าพลังงานกังหันลม ขยะ หรือชีวมวล
ช่วงเกิดวิกฤตการณ์น้ำมันปี 2518 การผลิตไฟฟ้าแสงอาทิตย์ต้นทุน 60 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อวัตต์...ผ่านไป 15 ปี ต้นทุนลดลงเหลือ 8 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อวัตต์ ลดลงไปกว่า 7 เท่าตัว
ยุคต่อมาปี 2545 ต้นทุนเซลล์แสงอาทิตย์ลดลงอย่างไม่น่าเชื่อ เซลล์ชนิดผลึกมัลติคริสตัล ผลิตไฟฟ้าด้วยต้นทุน 3-3.5 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อวัตต์ ขณะที่มีประสิทธิภาพการผลิตสูงขึ้น สูญเสียพลังงานความร้อนลดลง
ยุคต่อมาปี 2545 ต้นทุนเซลล์แสงอาทิตย์ลดลงอย่างไม่น่าเชื่อ เซลล์ชนิดผลึกมัลติคริสตัล ผลิตไฟฟ้าด้วยต้นทุน 3-3.5 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อวัตต์ ขณะที่มีประสิทธิภาพการผลิตสูงขึ้น สูญเสียพลังงานความร้อนลดลง

คาดกันว่า อีก 2 ปีข้างหน้า ภายในปี 2553 ต้นทุนจะลดลงอีก เหลือแค่ 1.0-1.25 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อวัตต์ หากในอนาคต มีการผลิตไฟฟ้าแสงอาทิตย์แพร่หลายมั่นใจได้ว่าจะทำให้ต้นทุนดำเนินการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ลดลงมากกว่านี้
สหภาพยุโรปรายงานว่า ปี 2553 ทั่วโลกจะมีการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ รวม 14,000 เมกะวัตต์ ก่อนจะก้าวกระโดดเป็น 70,000 เมกะวัตต์ ในปี 2563
ปี 2573 จะขยายไปอีกเท่าตัว เป็น 140,000 เมกะวัตต์
ประเทศญี่ปุ่นได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่ผลิตไฟฟ้าแสงอาทิตย์มากที่สุด ประมาณร้อยละ 46 ของปริมาณการผลิตทั่วโลก อยู่ที่ 1,656 เมกะวัตต์  รองลงมา ประเทศแถบยุโรป ร้อยละ 28 ส่วนประเทศมหาอำนาจอย่างอเมริกา อยู่อันดับ 3 มีสัดส่วนการผลิตร้อยละ 10
ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งในแถบอาเซียนที่บุกเบิกโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ หากยังจำกันได้... โรงไฟฟ้าผาบ่อง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ขนาดกำลังผลิต 500 กิโลวัตต์ ผลิตไฟฟ้าในพื้นที่ที่สายส่งไฟฟ้าเข้าไม่ถึง
ต้นทุนการผลิต อยู่ที่ 10 บาทต่อหน่วย แต่ก็คุ้มค่าที่จะลงทุน
เทียบกับโรงไฟฟ้าดีเซล โรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่สิ่งแวดล้อม... จากการเผาไหม้น้ำมันดีเซลผลิตไฟฟ้ากว่า 5 แสนกิโลกรัมต่อปี
โรงไฟฟ้าผาบ่อง ผลิตกระแสไฟฟ้าเสริมช่วงกลางวัน ช่วยประหยัดการปั˜นไฟจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำ...แถมเก็บไฟเอาไว้ใช้ในช่วงหัวค่ำ ช่วงที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด และยังช่วยลดการใช้น้ำมันดีเซล ของโรงไฟฟ้าดีเซลได้ปีละกว่า 2 แสนลิตร มูลค่า 3 ล้านบาท
สภาวะปัจจุบัน...ประเทศไทยมีความพยายามหาพลังงานทดแทนมาผลิตกระแสไฟฟ้าปีละ 5,000 เมกะวัตต์ แต่ภาคเอกชนมีศักยภาพขายกระแสไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนประเภทต่างๆ ได้เพียง 500 เมกะวัตต์เท่านั้น เหตุผลเก่าก่อน โรงงานไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ลงทุนไม่คุ้ม เทคโนโลยีไม่ทันสมัย ทำไม่ได้...เอามาอ้างในยุคนี้ไม่ได้อีกแล้ว
ที่แน่ๆ แสงอาทิตย์เป็นพลังงานธรรมชาติที่ไม่ต้องลงทุนซื้อหาไม่ต้องนำเข้า... ไม่มีราคาค่างวดอะไรเลยประเทศไทยมีศักยภาพเต็มร้อยกับพลังงานแสงอาทิตย์...มีความจำเป็นต้องมีโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ เอาไว้เป็นขุมกำลังสำรอง.

 

 

ขอขอบคุณที่มาของแหล่งข่าว


========================================================

 

 

21 November 2024
:: MEMBER LOGIN
E-mail Account
Password
:: OUR SPONSORS
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD