Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 176,791
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 174,164
3 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 173,452
4 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,449
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,907
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 170,023
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,999
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 168,287
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 161,136
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,814
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,766
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,967
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 68,307
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,811
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 51,154
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 44,047
17 Industrial Provision co., ltd 39,844
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,794
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,707
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 35,034
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,968
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 32,315
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,731
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 31,460
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,971
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,961
27 P.D.S. Automation co.,ltd 23,340
28 AVERA CO., LTD. 23,098
29 เลิศบุศย์ 22,057
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,815
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,708
32 Electronics Source Co.,Ltd. 20,323
33 แมชชีนเทค 20,310
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,570
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,538
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 19,280
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,956
38 SAMWHA THAILAND 18,734
39 วอยก้า จำกัด 18,401
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,974
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,818
42 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,751
43 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,720
44 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,666
45 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,593
46 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,589
47 Systems integrator 17,150
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 17,094
49 Advanced Technology Equipment 16,928
50 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,893
28/10/2552 07:58 น. , อ่าน 5,759 ครั้ง
Bookmark and Share
iTAPเพิ่มทักษะ “หมอเลื่อย” หวังพัฒนาอุตฯผลิตภัณฑ์ไม้
โดย : Admin

โดย : SMEs Creative By iTAP
 29 ตุลาคม 2552


 



 iTAP แนะทักษะความรู้ให้ “หมอเลื่อย” วิเคราะห์โรคไม้ รู้จักปรับปรุงแก้ไข ลดการสูญเสียวัตถุดิบ หวังพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ไม้ของไทย

นายสันทัด  แสงกุล   ผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมไม้ ปัจจุบันเป็นอาจารย์พิเศษ ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมอุตสาหการ  วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญซึ่งเข้ามาเป็นวิทยากรของ iTAP ได้ร่วมให้ความรู้ในหัวข้อ “การใช้ใบเลื่อยสายพานหน้ากว้างกับเครื่องเลื่อยสายพาน”ว่า  เลื่อยเป็นหัวใจของโรงงาน ถ้าการใช้งานเลื่อยไม่มีประสิทธิภาพ ผลผลิตและวัตถุดิบก็จะมีความเสียหายเกิดขึ้น ดังนั้นคนที่จะวินิจฉัยเกี่ยวกับการใช้เลื่อยเพื่อแปรรูปไม้ หรือ หมอเลื่อย(Saw Doctor) จึงเปรียบเหมือนคนที่ต้องรู้จักตั้งสมมุติฐาน วิเคราะห์โรคของไม้ และหาวิธีแก้ไข เพื่อปรับปรุงการทำงานให้มีประสิทธิภาพ ตลอดจนต้องดูแลกระทั่งนำใบเลื่อยไปใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุด 
 

“หากยังไม่เข้าใจถึงพื้นฐานการใช้ใบเลื่อย หรืองานเกี่ยวกับใบเลื่อย ซึ่งไม่ได้หมายถึงใครก็ได้ที่จ้างมาลับใบเลื่อย แต่ต้องรู้จักวิธีการสามารถวิเคราะห์ปัญหาแก้ไขได้ ถ้าหากรู้จักใช้อุปกรณ์ต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพ จะสามารถแก้ไขปรับปรุงดูแล นั่นหมายถึง การเป็นหมอเลื่อยที่ดี”
 

ผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมไม้ กล่าวว่า หลักในการใช้เลื่อยสายพานให้มีประสิทธิภาพสูงสุดนั้น จำเป็นต้องมีการตรวจสอบปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานหรือจุดสำคัญในการบำรุงรักษาเลื่อยสายพาน เช่น การเดินเครื่องที่เรียบไม่มีการสั่นของเครื่องเลื่อย การตั้งใบเลื่อยและอุปกรณ์ที่ถูกต้อง อีกทั้งยังต้องคำนึงถึงความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน ฯลฯ
นอกจากนี้ยังได้ให้ความรู้อีกว่า การนวดใบเลื่อยสายพาน เป็นเรื่องที่ช่างแต่งใบเลื่อยหลายคนคิดว่าเป็นงานที่ยุ่งยากมากที่สุดอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะหากมีการเลื่อยไม้หลายชนิดปนกัน การนวดใบเลื่อยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างที่ไม่สามารถกำหนดโดยกฎเกณฑ์หรือหลักสูตรใดๆได้ ช่างแต่งใบเลื่อยจะต้องได้รับการฝึกหัดเป็นอย่างดีพร้อมทั้งมีประสบการณ์ที่ยาวนาน 
 

สาเหตุที่ต้องทำการนวดใบเลื่อย การนวดใบเลื่อยมีความหมายโดยทั่วไปว่าเป็นการขยายหรือยืดส่วนกลางของใบเลื่อยซึ่งทำให้เกิดบริเวณที่ต่อเนื่องกันโดยตลอดบนโต๊ะแท่นนวดใบเลื่อย โดยให้แรงอัดที่เหมาะสม ส่วนกลางของใบเลื่อยจะขยายตัวออกเป็นผลให้ส่วนหลังและส่วนคมฟันเลื่อยนั้นสั้นลง สำหรับเหตุผลการนวดใบเลื่อยสายพานคือ เพื่อให้ใบเลื่อยอยู่หน้ามู่เล่ซึ่งเป็นแบบหน้าเรียบหรือหน้าโค้งได้ และเพื่อให้หน้าฟันเลื่อยแข็งและแกร่ง เพื่อชดเชยการขยายตัวของเหล็กใบเลื่อยที่เกิดความร้อนในขณะทำการเลื่อยไม้
 

อาจารย์พิเศษภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมอุตสาหการ  วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กล่าวอีกว่า ปัญหาของอุตสาหกรรมไม้ในบ้านเราคือ ยังขาดคนที่มีทักษะความรู้ด้านนี้โดยเฉพาะ แทบจะนับคนได้ว่าเหลืออยู่เพียงไม่กี่คน อีกทั้งยังขาดสถานที่ในการฝึกอบรมให้ความรู้ด้านนี้เฉพาะทาง และสาเหตุหนึ่งคือเทคโนโลยีทั้งหมดมาจากต่างประเทศ
 

ดังนั้น iTAP จึงเป็นโครงการหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการทราบถึงหลักการใช้งานเครื่องเลื่อยสายพานที่ถูกต้อง ทำให้สามารถใช้งานได้มีประสิทธิภาพ ลดความเสียหายของเครื่องเลื่อยสายพาน และใบเลื่อยสายพานหน้ากว้าง ยืดอายุการใช้งานของใบเลื่อย และส่งผลให้ชิ้นงานที่ได้มีคุณภาพดียิ่งขึ้นต่อไป  ผู้ประกอบการที่สนใจขอรับความช่วยเหลือจากโครงการ iTAP ติดต่อได้ที่โทร.02-564-7000 ต่อ 1368 และ 1381

 
 

ขอขอบคุณที่มาของแหล่งข่าว



========================================================

 

 

21 November 2024
:: MEMBER LOGIN
E-mail Account
Password
:: OUR SPONSORS
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD