Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 177,608
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 174,810
3 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 174,188
4 100,000D_เครื่องมือช่าง 174,106
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 171,545
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 170,621
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 169,578
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 168,949
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 162,127
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 159,413
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 159,338
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 158,538
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 69,021
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 63,774
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 51,836
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 44,628
17 Industrial Provision co., ltd 40,716
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 39,349
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 37,313
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 35,630
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 34,535
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 32,856
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 32,288
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 32,106
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 28,537
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 27,547
27 P.D.S. Automation co.,ltd 23,918
28 AVERA CO., LTD. 23,638
29 เลิศบุศย์ 22,626
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 21,407
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 21,292
32 Electronics Source Co.,Ltd. 20,975
33 แมชชีนเทค 20,904
34 มากิโน (ประเทศไทย) 20,147
35 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 20,100
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 19,893
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 19,528
38 SAMWHA THAILAND 19,419
39 วอยก้า จำกัด 19,160
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 18,613
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 18,433
42 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 18,336
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 18,317
44 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 18,288
45 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 18,165
46 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 18,140
47 Systems integrator 17,714
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 17,681
49 Advanced Technology Equipment 17,520
50 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 17,471
16/01/2553 12:50 น. , อ่าน 8,469 ครั้ง
Bookmark and Share
ระบบควบคุมการจ่ายไฟฟ้าอัตโนมัติ (Distribute Automation System : DAS)
โดย : Admin

ที่มา: ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์
และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
www.nectec.or.th

 

 

 

ในอดีตการควบคุมระบบจำหน่ายไฟฟ้า ของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ใช้การสับ Load Break Switch (LBS) โดยใช้คนเป็นผู้ปฏิบัติงานนอกสถานที่ เมื่อเกิดปัญหาไฟฟ้าดับ การใช้งานของสายส่งเกินขีดความสามารถของสายส่ง ฯลฯ การรับรู้ปัญหาและการแก้ไขเป็นไปอย่างล่าช้า อีกทั้งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน ดังนั้น กฟน. จึงได้ปรับปรุงระบบให้เป็นการควบคุมจากระบบกึ่งอัตโนมัติ โดยเปลี่ยนจากอุปกรณ์ Load Break Switch (LBS) ที่ถูกควบคุมด้วยคนเป็นอุปกรณ์ที่สามารถควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถควบคุมจากระยะทางไกล แต่ระบบดังกล่าวยังมีความล่าช้าในการส่งผ่านข้อมูลซึ่งมีความสำคัญในเชิงเวลามาก อุปกรณ์นำเข้าจากต่างประเทศมีราคาแพง Protocol ในการสื่อสารเป็นแบบปิดซึ่งประยุกต์ใช้หรือเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับระบบอื่นๆ ได้ยาก และการติดตั้งระบบใหม่ต้องตามเทคโนโลยีของผู้ผลิตซึ่งทำให้ราคาของระบบใหม่มีมูลค่าสูงขึ้นตาม

 

\"\"
รูปโครงสร้างของระบบควบคุมระบบจำหน่ายอัตโนมัติ (DAS)

 

 

 

ข้อมูลงานวิจัย

เป้าหมายการควบคุม และจัดการอยู่ที่อุปกรณ์ในสายป้อนของระบบจำหน่าย (Load Break Switch , LBS หมายถึง อุปกรณ์ตัดตอนที่นำมาใช้แทนสวิตช์ใบมีดสามารถปลด และสับได้ขณะมีโหลด) และข้อมูลที่ต้องการเช่น แรงดันไฟฟ้า, กระแสไฟฟ้า เป็นต้น ระบบ DAS สามารถตรวจจับ การเกิดกระแสลัดวงจร (Fault) และบริเวณที่เกิดการ ลัดวงจร เพื่อให้ผู้สั่งการสามารถแยกส่วน ที่ลัดวงจรออกจากระบบจำหน่ายได้อย่างรวดเร็ว ในกรณีที่มีกระแสลัดวงจร เกิดขึ้นในสายป้อน ระบบ DAS ซึ่งได้ติดตั้ง  RTU ไว้กับสวิตช์ในสายป้อน จะทำหน้าที่ตรวจจับความผิดปกติของกระแสที่ไหลผ่านสวิตช์แต่ละตัว หากพบกระแสลัดวงจร ก็จะรายงานกลับมายังสถานีแม่ (Master Station) ทำให้พนักงานที่ีสถานีแม่ทราบการเกิดกระแสลัดวงจรได้และสามารถออกคำสั่งควบคุมระยะไกล เพื่อทำการปลดสวิตช์แยกส่วนที่ีเกิดกระแสลัดวงจรออกจากระบบจำหน่าย และสับสวิตช์เพื่อจ่ายไฟฟ้าจากสายป้อนสำรองเข้าจ่ายไฟฟ้าให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าในส่วนที่ไม่เกิดการลัดวงจร ซึ่งจะทำให้ไฟฟ้าดับเป็นบริเวณแคบและจะมีไฟฟ้าดับเฉพาะบริเวณที่เกิดการลัดวงจรเท่านั้น ด้วยวิธีการนี้ีจะเห็นว่าที่สถานีแม่สามารถควบคุมและทำการสับเปลี่ยนการจ่ายไฟฟ้าได้ทันทีนอกจากความสามารถที่ได้กล่าวมาแล้ว RTU ที่ติดตั้งอยู่ในระบบจำหน่ายจะทำหน้าที่ในการตรวจจับเหตุการณ์และอ่านข้อมูลสถานะการทำงานของอุปกรณ์รวมทั้งทำการวัดค่าทางไฟฟ้า ณ จุดต่างๆ ในระบบจำหน่ายที่มี RTU ติดตั้งอยู่เพื่อทำการตรวจจับและอ่านค่าสั่งมายัง สถานีแม่นอกจากนี้ีอีกความสามารถหนึ่งของ RTU ก็คือความสามารถทำงานในโหมดการทำงานแบบอัตโนมัติตาม โปรแกรมที่ีปรับตั้งไว้ในตัว RTU กล่าวคือ RTU มีความสามารถในการตรวจสอบสถานการณ์ว่าเป็นไปตามเงื่อนไขที่ได้กำหนดไว้หรือไม่ถ้าสถานการณ์เป็นไปตามเงื่อนไข RTUจะส่ังการให้อุปกรณ์ที่ีถูกควบคุมทำงานตามที่ได้โปรแกรมไว้ ระบบ DAS ถูกนำมาใช้งาน เพื่อลดระยะเวลาไฟฟ้าดับและความเสียหายที่จะเกิดขี้ึนกับผู้ใช้ไฟฟ้า เมื่อเกิดระบบไฟฟ้า ขัดข้อง รวมทั้งเพื่อเพิ่ิมความปลอดภัย, ประหยัดเวลาและลดค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงาน Switching
 

พันธมิตรที่เกี่ยวข้อง (ร่วมวิจัย/รับการถ่ายทอด)

  • การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.)

ประโยชน์ที่ได้รับ

  • เพื่อวิจัยและพัฒนาต้นแบบระบบควบคุมระบบจำหน่ายอัตโนมัติ (Distribution Automation System : DAS) สำหรับใช้งานภายใน กฟน. และขยายผลไปสู่การผลิตและจำหน่ายในเชิงพาณิชย์
  • เพื่อลดการนำเข้าและพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ประกอบกับระบบที่พัฒนาขึ้นสามารถปรับปรุงและพัฒนาเพิ่มเติมให้เข้ากับความต้องการได้อย่างต่อเนื่อง

 

 

 

วิจัยและพัฒนาโดยหน่วยปฏิบัติการวิจัยพัฒนาการควบคุมและระบบอัตโนมัติทางอุตสาหกรรม ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

 

ขอขอบคุณทุกๆที่มาของแหล่งข้อมูล

 

========================================================

 

 

1 July 2025
:: MEMBER LOGIN
E-mail Account
Password
:: OUR SPONSORS
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD