ที่มา: ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์
และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
www.nectec.or.th
พจนานุกรมสื่ออิเล็กทรอนิกส์ไทย อังกฤษ LEXiTRON คือเทคโนโลยีช่วยค้นหาคำศัพท์และข้อมูลต่างๆ ของคำศัพท์ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วทันใจ โดยช่องรับข้อมูล input box ในหน้า Homepage นอกจากนี้ยังสามารถ Download ทั้งโปรแกรมและข้อมูลไปติดตั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้งาน LEXiTRON ได้โดยไม่ต้องผ่านอินเทอร์เน็ตอีกด้วย
หลักการสำคัญของการพัฒนา LEXiTRON คือ การนำเทคโนโลยีฐานข้อมูลขนาดใหญ่เข้ามาช่วยในการวิจัยและพัฒนา ร่วมกับศาสตร์ในสาขาการประมวลผลภาษาธรรมชาติ เรียกว่า การสร้างพจนานุกรมจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Corpus-Based Dictionary) และใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์รวบรวมและคัดเลือกคำ ประโยค หรือข้อความ ที่มีใช้จริงและมีอัตราการปรากฏสูงในบริบทต่างๆ ของการใช้ภาษา จากแหล่งข้อมูลและข่าวสารที่เผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ตและแหล่งข้อมูลอื่นๆ ที่เชื่อถือได้ เช่น วรรณกรรม บทความ เอกสารทางวิชาการ ข้อมูลข่าวสารจากหนังสือพิมพ์ เป็นต้น
ลักษณะเด่นของ LEXiTRON คือ แสดงความหมายและประเภทของคำพร้อมทั้งประโยคตัวอย่างที่มีใช้จริง มีการพัฒนา ฐานข้อมูลพจนานุกรม อังกฤษ-ไทย (79,000 คำ) ไทย-อังกฤษ (51,000 คำ) ค้นหา คำพ้องและคำตรงข้ามและคำนิยามศัพท์ คำลักษณะนาม
นอกจากนี้ Lexitron ยังมีพันธมิตรที่เกี่ยวข้อง คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาเกษตรศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย มหาสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยโตเกียว ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท ปูนซิเมนต์ไทยจำกัด (มหาชน) เมกาติก สตาร์ดิก บริษัทซีแอนด์เอ็นโซลูชั่น ลองดูดิก http://lightlex.com และ http://sanook.com
ปัจจุบันมีการพัฒนาระบบ ให้มีคุณลักษณะที่สำคัญๆ เพื่อสนับสนุนผู้ใช้เล็กซิตรอน คือ แนะนำคำศัพท์และจัดระดับคำศัพท์ เพื่อให้ได้คำศัพท์ที่ครอบคลุม และตรงตามความต้องการของผู้ใช้
วิจัยและพัฒนาโดยหน่วยปฏิบัติการวิจัยพัฒนาการควบคุมและระบบอัตโนมัติทางอุตสาหกรรม ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
========================================================
================= ยูทุปของ 9engineer ,com ===================
คลิปที่น่าสนใจจัดทำโดย 9engineer.com ภายใต้ชื่อช่องTechnology talk Channel
**** นายเอ็นจิเนียร์ขอสงวนสิทธิ์รับรองความถูกต้อง โปรดใช้วิจารณญาณในการรับข่าวสารข้อมูล