ที่มา : ภาควิชาไฟฟ้ากำลัง ม.เทคโนโลยีมหานคร
นศ.ม.เทคโนโลยีมหานครทำเครื่องกำจัดกลิ่นรองเท้าโดยใช้โอโซน (Eradicated Shoe Odor by Ozone) อาศัยหลักกระตุ้นสนามไฟฟ้าระหว่างอิเล็กโตรดทำให้มีความเครียดสนามไฟฟ้าสูง ส่งผลให้อากาศที่อยู่ระหว่าง อิเล็กโตรดเกิดการแตกตัวเป็นก๊าซโอโซน ซึ่งมีจุดเด่นในการฆ่าเชื้อโรค ทำลายกลิ่น....
เพราะภูมิอากาศในบ้านเมืองเราเป็นภูมิอากาศแบบร้อนชื้น ปัญหาอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นก็คือเรื่องของกลิ่นอับชื้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลิ่นอับชื้นในรองเท้านั้นก่อให้เกิดปัญหาเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะผ็ที่ต้องสวมใส่รองเท้าตลอดทั้งวันไม่ว่าจะเป็นรองเท้าหนังหรือรองเท้าผ้าใบก็ตาม
ปัญหาดังกล่าวกำลังจะหมดไปเพราะนักศึกษาภาควิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง คณะวิศวกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานครได้คิดค้นเครื่องกำจัดกลิ่นโดยใช้โอโซน (Eradicated Shoe Odor by Ozone) โดยแนวคิดในการทำเครื่องดังกล่าวเริ่มมาจากในปัจจุบันมีการผลิตเครื่องผลิตอากาศบริสุทธิ์โดยใช้โอโซนเพื่อฆ่าแบคทีเรียหรือเชื้อโรคที่ปะปนอยู่ในอากาศ ซึ่งการใช้โอโซนนั้นในปัจจุบันถือเป็นเทคโนโลยีที่ง่ายและราคาถูก
อาจารย์ไชยพร หล่อทองคำ อาจารย์ที่ปรึกษา และนายนพดล พงศ์คำมา,นายพิมาน สว่างศรีและนายวีรยุทธ กิ่งก้ำ นักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร เจ้าของผลงานเครื่องกำจัดกลิ่นในรองเท้าโดยใช้โอโซน เปิดเผยว่า
เลือกใช้การออกแบบโดยใช้เทคนิควิธีสนามไฟฟ้าแรงดันสูง อาศัยแหล่งจ่ายไฟฟ้าแบบสวิตชิ่งแรงดันสูงความถี่สูงโดยใช้ฟลายแบค ขนาดพิกัดแรงดัน 1-2kV, 20-50 kHz เพื่อสร้างก๊าซโอโซนจากปรากฏการณ์โคโรนาดิสชาร์จ พิกัดแรงดันป้อนเข้า 220 V, 50 Hz เท่ากัยพิกัดแรงดันของเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยทั่วไป
ด้วยวิธีกระตุ้นสนามไฟฟ้าระหว่างอิเล็กโตรดทำให้มีความเครียดสนามไฟฟ้าสูง ส่งผลให้อากาศที่อยู่ระหว่าง อิเล็กโตรดเกิดการแตกตัวเป็นก๊าซโอโซน ซึ่งมีจุดเด่นในการฆ่าเชื้อโรค ทำลายกลิ่น สารเคมี ก๊าซพิษได้ดีเยี่ยมและไม่ทิ้งสารตกค้างใด ๆและจากการทดสอบคุณสมบัติของแหล่งจ่ายไฟฟ้าแรงดันสูงแบบสวิตชิ่งฟลายแบคเมื่อทำงานร่วมกับชุดอิเล็กโตรดสร้างสนามไฟฟ้าที่ทำให้เกิดไอออไนเซชั่นแล้ว พบว่าแหล่งจ่ายไฟแรงดันสูงแบบสวิตชิ่งฟลายแบคสามารถจ่ายแรงดันสูงให้กับชุดอิเล็กโตรดสร้างสนามไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงทำให้เกิดโอโซนในปริมาณเพียงพอที่จะกำจัดกลิ่นในรองเท้าได้
ส่วนประกอบของเครื่องกำจัดกลิ่นในรองเท้าโดยใช้โอโซน แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ
ส่วนแรกคือชุดอิเล็กโตรดแบบสนามไฟฟ้า อิเล็กโตรดสร้างสนามไฟฟ้าต้องมีขนาดเล็ก และทนแรงดันได้สูงสุด โดยใช้อิเล็กโตรดเป็นแบบปลายแหลมกับแผ่นระนาบ มีระยะห่างระหว่างอิเล็กโตรด 5 mm มีค่าความจุไฟฟ้า 1.4 n
ส่วนที่สอง คือ สวิตชิ่งฟลายแบคแรงดันสูง หรือวงจรควบคุมแหล่งจ่ายแรงดันสูง 1-2 kV การทำงานของวงจรใช้ MOSFET ในการขับหม้อแปลงฟลายแบค เนื่องจากปริมาณโอโซนแปรผกผันกับความถี่ของแรงดัน จึงออกแบบให้วงจรสัญญาณพัลส์สามารถปรับความถี่ได้ในช่วง 20-50 kHz
“นพดล พงศ์คำมา” หนึ่งในทีมวิจัยโครงการออกแบบเครื่องกำจัดกลิ่นในรองเท้าด้วยโอโซน กล่าวว่าการทำงานของเครื่องสามารถผลิตก๊าซโอโซนเฉลี่ยอยู่ที่ 120 mgO3/hr โดยใช้เทคนิควิธีสนามแม่เหล็กไฟฟ้าแรงดันสูง อาศัยแหล่งจ่ายไฟฟ้าแบบสวิตชิ่งแรงดันสูงความถี่สูงโดยใช้ฟลายแบคขนาดพิกัดแรงดัน 1-2kV, 20-50 kHz เพื่อสร้างก๊าซโอโซนจากปรากฏการณ์โคโรนาดิสชาร์จพิกัดแรงดันป้อนเข้า 220V, 50Hz เท่ากับพิกัดแรงดันของเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยทั่วไป จากการทดสอบคุณสมบัติของแหล่งจ่ายไฟแรงดันสูงแบบสวิตชิ่งฟลายแบคเมื่อทำงานร่วมกับชุดอิเล็กโตรดสร้างสนามไฟฟ้าที่ทำให้เกิดไอออไนเซชั่นแล้ว พบว่า...แหล่งจ่ายไฟแรงดันสูงแบบสวิตชิ่งฟลายแบคสามารถจ่ายแรงดันสูงให้กับชุดอิเล็กโตรดสร้างสนามไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงทำให้เกิดโอโซนปริมาณเพียงพอที่จะกำจัดกลิ่นในรองเท้าได้ในระยะเวลาไม่เกิด 60 นาที“วัสดุที่นำมาประกอบสร้างแหล่งจ่ายและชุดอิเล็กโตรดสร้างสนามไฟฟ้าเป็นวัสดุที่หาได้ง่ายภายในประเทศ ทำให้ต้นทุนการผลิต
ขอขอบคุณที่มาของแหล่งข่าว