บทบาทซอฟต์แวร์ที่แทรกซึมผ่านเข้าไปเป็นองค์ประกอบในภาคธุรกิจ การค้า ลงไปถึงสินค้าคอนซูเมอร์ กำลังเปิดประตูสู่ตลาดใหม่ให้กับผู้พัฒนาฝั่งเอเชีย
ในส่วนของประเทศไทยปัจจุบันมีเพียง เอสเอสซี ที่เข้าเป็นสมาชิกโดยมองว่าเครือข่ายความร่วมมือนี้จะต่อยอดไปถึงเครือข่ายระดับภูมิภาคทีใหญ่ขึ้นไป เพิ่มโอกาสส่งออกให้กับผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ไทย ที่ยังมีข้อจำกัดโดยเฉพาะการเข้าร่วมโครงการใหญ่ๆโดยปัจจุบันมูลค่าตลาดซอฟต์แวร์ในประเทศไทยราว 6 หมื่นล้านบาทต่อปีนั้น มีสัดส่วนที่เป็นซอฟต์แวร์ในประเทศเพียง 20% ทั้งนี้ เอสเอเอ มีแผนจัดตั้งตัวแทนการตลาดในทุกประเทศเป้าหมาย นอกเหนือจากการใช้ www.softwareasiaalliance.com เป็นช่องทางกลางในการเข้าถึงลูกค้า โดยตัวแทนจะมีบทบาททั้งการทำหน้าที่เวอริไฟลูกค้าที่เข้ามา สนับสนุนข้อมูลเบื้องต้นและเป็นที่ปรึกษาให้กับสมาชิก "เรามองว่าต้องมีออฟฟิศ ไม่สามารถทำผ่านเวอร์ช่วล โดยที่ผ่านมาเมื่อมีผู้เข้ามาที่เว็บไซต์และสนใจโปรดักท์ไหน ระบบก็จะส่งผ่านไปยังลิงค์บริษัทเจ้าของโปรดักท์นั้นๆ แต่รูปแบบใหม่นี้ตัวแทนที่อยู่ประเทศต้นทางที่ลูกค้าแอ็คเซสเข้ามา จะมีบทบาทเป็นสำนักงานขายให้เรา และทำหน้าที่ ตรวจสอบข้อมูลว่าบริษัทลูกค้ารายนั้นมีตัวตนจริง" เบื้องต้น นอกเหนือจาก 3 ประเทศที่เป็นสมาชิกปัจจุบันแล้ว ยังเจรจาเพื่อตั้งตัวแทนการตลาดแล้วในฮ่องกง สิงคโปร์ และไต้หวัน นอกจากนี้ การเข้าไปบุกตลาดต่างประเทศนั้น อาจต้องเปลี่ยนเป็นใช้ผู้ประกอบการ หรือพันธมิตรในท้องถิ่นเป็นผู้ออกหน้า ขณะที่ ทางบริษัทที่เป็นผู้พัฒนาจะเป็นผู้ตาม เนื่องจากหลายๆ โครงการจำเป็นต้องอาศัย "ความสัมพันธ์" หรือคอนเนคชั่น อย่างไรก็ตาม เขายอมรับว่ารูปแบบใหม่นี้ จะต้องมีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมจากสมาชิก กรณีที่มีการส่งผ่านข้อมูลลูกค้าไปยังบริษัทเจ้าของซอฟต์แวร์นั้นๆ ซึ่งถือเป็นค่าบริหารจัดการที่จะสร้างการต่อยอดในเชิงการตลาดได้ "เท่าที่มองอยู่ตอนนี้ ประเทศไทยในส่วนของเอสเอสซี ก็มีจุดเด่นด้านระบบซอฟต์แวร์บริหารจัดการน้ำ ส่วนมาเลเซีย มีจุดแข็งด้านระบบบำรุงรักษาสนามบิน และซอฟต์แวร์การเงิน ขณะที่ อินโดนีเซีย เก่งในเรื่องอีกอฟเวิร์นเมนท์" บรูไนแนะผนึกกำลังสู่ตลาดโลก "ปัจจัยข้างต้นทำให้ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาจากภูมิภาคนี้มีความน่าเชื่อถือ โดยเฉพาะหากเราสร้างความร่วมมือกันให้เกิดขึ้น และร่วมกันฝ่าฟันเรื่องการตลาด แพ็คเกจจิ้ง และอุปสรรคด้านภาษา ซึ่งการพัฒนาโปรดักท์ในระดับภูมิภาคเอเชีย จะช่วยสร้างความโดดเด่นในตลาดโลก และแข่งขันกันในระดับมาตรฐานสากลได้" นอกจากนี้ โอกาสของตลาดเอาท์ซอร์สในภูมิภาคนี้ยังมีอีกมหาศาล เนื่องจากบางประเทศที่มีขนาดเล็ก หรือประชากรไม่มากนักอย่างเช่น บรูไน ก็ควรมุ่งพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับตลาดเฉพาะด้าน ซึ่งต้องการใช้บุคลากรไม่มากนัก และใช้วิธีการเอาท์ซอร์สแทนในส่วนอื่นๆ นายสตีเฟ่น เหลา ประธานสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศเอเชียแปซิฟิก (APICTA) กล่าวว่า โอกาสด้านเอาท์ซอร์สซิ่งสำหรับภูมิภาคนี้ยังเติบโตต่อเนื่อง เพราะมีความต้องการสูงมาก และสามารถสร้างผลตอบแทนทางธุรกิจได้ดีกว่า โดยแนวโน้มที่น่าสนใจ ได้แก่ ตลาดเฮลธ์แคร์ การบริหารความเสี่ยงในเรื่องระบบความปลอดภัย แอพพลิเคชั่นเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เป็นต้น ซอฟต์แวร์พาร์คอะไลแอนซ์ "ลุยต่อ" โดยจะสร้างเวทีให้เกิดการเจรจาการทำธุรกิจซอฟต์แวร์ ภายใต้รูปแบบความร่วมมือระหว่างประเทศในลักษณะ Bilateral Trade หรือการเจรจาแบบสองฝ่ายให้มากขึ้น รวมทั้ง ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี เว็บ 2.0 ผ่านเว็บไซต์ Social Network ที่มีอยู่แล้ว สำหรับซอฟต์แวร์พาร์คและบริษัทซอฟต์แวร์ที่อยู่ในพาร์คได้ใช้ประโยชน์ในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน เพื่อทำให้การพัฒนางานซอฟต์แวร์ไม่เกิดการซ้ำซ้อน และสามารถต่อเชื่อมโซลูชั่นระหว่างกันได้ทันที ทั้งนี้เพื่อใช้ประโยชน์จากเครือข่ายความร่วมมือระดับภูมิภาค เพื่อเพิ่มช่องทางการ "ส่งออก" ซอฟต์แวร์ไปท้าชนกับมาตรฐานระดับโลก โดยอาศัยข้อได้เปรียบจากจุดต่างด้านราคา
|
||
|
========================================================
================= ยูทุปของ 9engineer ,com ===================
คลิปที่น่าสนใจจัดทำโดย 9engineer.com ภายใต้ชื่อช่องTechnology talk Channel
**** นายเอ็นจิเนียร์ขอสงวนสิทธิ์รับรองความถูกต้อง โปรดใช้วิจารณญาณในการรับข่าวสารข้อมูล