แหล่งที่มาของข้อมูล : เอกสารเผยแพร่ความรู้ของเว็บไซต์การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค https://mea.or.th
การซื้อตู้เย็นนอกจากจะต้องคำนึงถึงราคาแล้ว ควรจะพิจารณาถึงลักษณะและระบบของตู้เย็น เพื่อประหยัดพลังงาน ดังต่อไปนี้
1 ควรเลือกซื้อตู้เย็นที่มีสลากประหยัดไฟโดยเป็นสติกเกอร์ติดอยู่ที่ตู้เย็น ซึ่งสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ) เป็นผู้ตรวจสอบและรับรองคุณภาพ โดยกำหนดเป็นตัวเลขดังนี้ |
||||
|
||||
เลข 5 ดีมาก
|
หมายถึง
|
ประสิทธิภาพสูงสุด
|
||
เลข 4 ดี |
หมายถึง
|
ประสิทธิภาพสูง
|
||
เลข 3 ปานกลาง |
หมายถึง
|
ประสิทธิภาพปานกลาง
|
||
เลข 2 พอใช้ |
หมายถึง
|
ประสิทธิภาพพอใช้
|
||
เลข 1 ต่ำ |
หมายถึง
|
ประสิทธิภาพต่ำ
|
||
2 ควรพิจารณาขนาดให้เหมาะสมกับขนาดครอบครัว ขนาดประมาณ 2.5 ลูกบาศก์ฟุต (คิว) สำหรับสมาชิก 2 คนแรกของครอบครัว แล้วเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 1 ลูกบาศก์ฟุต ต่อ 1 คน
3 ควรเลือกตู้เย็นที่มีฉนวนกันความร้อนหนา และเป็นชนิดโฟมอัด เพื่อไม่ให้มีการสูญเสียความเย็นมาก 4 ตู้เย็น 2 ประตูกินไฟมากกว่าตู้เย็นประตูเดียวที่มีขนาดความจุเท่ากัน เนื่องจากใช้ท่อน้ำยาเย็นที่ยาวกว่า แต่ตู้เย็น 2 ประตู จะมีการสูญเสียความเย็นน้อยกว่า 5 ตู้เย็นชนิดที่ไม่น้ำเข็งจับจะกินไฟมากกว่าชนิดที่มีปุ่มกดละลายน้ำแข็ง 6 ควรเลือกซื้อตู้เย็นที่ใช้กับระบบไฟฟ้า 220-230 โวลต์ เท่านั้น ถ้าใช้ชนิด 110-120 โวลต์จะต้องใช้หม้อแปลงลดแรงดัน ทำให้กินไฟมากขึ้น |
||||
วิธีใช้ตู้เย็นให้ประหยัดพลังงาน | ||||
1.ก่อนใช้ควรศึกษาคู่มือการใช้และปฏิบัติตามคำแนะนำ
2.ตั้งไว้ในที่เหมาะสม ควรตั้งตู้เย็นให้ห่างจากผนังอย่างน้อย 15 เซนติเมตร 3.อย่าตั้งใกล้แหล่งความร้อน ไม่ควรตั้งอยู่ใกล้เตาไฟ หรือแหล่งความร้อนอื่น และไม่ควรให้โดนแสงแดด 4.ปรับระดับให้เหมาะสมเวลาตั้งตู้เย็นให้ปรับระดับด้านหน้าของตู้เย็นสูงกว่าด้านหลังเล็กน้อย เพื่อเวลาปิดน้ำหนักของประตูตู้เย็นจะถ่วงให้ประตูปิดเข้าไปเอง 5. หมั่นตรวจสอบยางขอบประตู ไม่ให้มีรอยรั่วหรือเสื่อมสภาพ 6. อย่าเปิดตู้เย็นบ่อย ๆ เมื่อเปิดแล้วก็ต้องรีบปิด 7. ละลายน้ำแข็งสม่ำเสมอ เพื่อให้การทำความเย็นมีประสิทธิภาพสูง 8. ตั้งสวิตซ์ควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสมกับชนิดและปริมาณอาหารที่แช่ตู้เย็น 9. ถอดปลั๊ก กรณีไม่อยู่บ้านหลายวันหรือไม่มีอะไรในตู้เย็น |
คำแนะนำด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับตู้เย็น | |
1.ควรติดตั้งระบบสายดินกับตู้เย็นผ่านทางเต้าเสียบ-เต้ารับที่มีสายดิน
2.ใช้ไขควงลองไฟตรวจสอบตัวตู้เย็นว่ามีไฟรั่วหรือไม่ ตู้เย็นที่ไม่มีสายดินนั้นการกลับขั้วที่ปลั๊กอาจทำให้มีไฟรั่วน้อยลงได้ 3.ตู้เย็นที่ดีควรจะมีสวิตซ์อัตโนมัติปลดออกและสับเองด้วยการหน่วงเวลาเมื่อมไฟดับ-ตก มิฉะนั้นจะต้องถอดปลั๊กตู้เย็นออกทันทีก่อนที่จะมีไฟเข้ามา และจะเสียบปลั๊กเข้าอีกครั้งเมื่อไฟมาปกติแล้ว 3-5 นาที 4.หลอดไฟในตู้เย็นถ้าขาด ไม่ควรเอาหลอดออกจนกว่าจะเปลี่ยนใหม่ 5.อย่าปล่อยให้พื้นบริเวณประตูตู้เย็นเปียก เพราะอาจเป็นสื่อไฟฟ้าอย่างดี ให้ปูด้วยพรมหรือพื้นยางก็ได้ ส่วนบริเวณมือจับก็ควรมีผ้าหรือฉนวนหุ้มด้วย 6.ดูข้อควรปฏิบัติในการใช้ไฟฟ้าหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัย |
|
|
1 ควรเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศที่มีสลากประหยัดไฟ โดยเป็นสติกเกอร์ติดอยู่ที่เครื่องปรับอากาศ ซึ่งสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) เป็นผู้ตรวจสอบและรับรองคุณภาพ โดยกำหนดเป็นตัวเลขดังนี้
|
|
|||
เลข 5 ดีมาก |
หมายถึง
|
ประสิทธิภาพสูงสุด | ||
เลฃ 4 ดี |
หมายถึง
|
ประสิทธิภาพสูง | ||
เลข 3 ปานกลาง |
หมายถึง
|
ประสิทธิภาพปานกลาง | ||
เลข 2 พอใช้ |
หมายถึง
|
ประสิทธิภาพพอใช้ | ||
เลข 1 ต่ำ |
หมายถึง
|
ประสิทธิภาพต่ำ | ||
|
2 ควรเลือกขนาดของเครื่องปรับอากาศให้เหมาะสมกับห้องที่ต้องการติดตั้ง โดยที่ความสูงของห้องไม่เกิน 3 เมตร ควรเลือกขนาดตามตารางต่อไปนี้
|
พื้นที่ห้องตามความสูงไม่เกิน 3 ม.
(ตร.ม.) |
ขนาดของเครื่องปรับอากาศ
(บีทียู/ชั่วโมง) |
13 - 14
|
7,000 - 9,000
|
16 - 17
|
9,000 - 12,000
|
20
|
11,000 - 13,000
|
23 - 24
|
13,000 - 16,000
|
30
|
18,000 - 20,000
|
40
|
24,000
|
3. ชนิดของเครื่องปรับอากาศที่นิยมใช้ในบ้านอยู่อาศัย ในปัจจุบันมีจำหน่ายในท้องตลาด 3 ชนิด คือ
3.1ชนิดติดหน้าต่าง จะเหมาะสมกับห้องที่มีลักษณะที่ติดตั้งวงกบหน้าต่าง ติดกระจกช่องแสงติดตาย บานกระทุ้ง บานเกล็ด เป็นต้น มีขนาดตั้งแต่ 9,000 – 24,000 บีทียู/ชม. มีค่าประสิทธิภาพ (EER=บีทียูต่อชั่วโมง/วัตต์) ตั้งแต่ 7.5 – 10 บีทียู/ชม./วัตต์ 3.2 ชนิดแยกส่วนติดฝาผนังหรือแขวน เหมาะสมกับห้องที่มีลักษณะทึบจะติดตั้งได้สวยงาม แต่จะมีราคแพงกว่าเมื่อเปรียบเทียบเครื่องปรับอากาศชนิดต่าง ๆ ที่มีขนาดเท่ากัน (บีทียู/ชม.) เครื่องปรับอากาศชนิดนี้ส่วนใหญ่จะมีประสิทธิภาพสูงกว่า และจะมีสวิตซ์ควบคุมอุณหภูมิอัตโนมัติแบบอิเลกคทรอนิกส์สำหรับควบคุมอุณหภูมิความเย็นของห้อง มีขนาดตั้งแต่ 8,000 – 24,000 บีทียู/ชม. ค่า EER ตั้งแต่ 7.5 – 13 บีทียู/ชม./วัตต์ 3.3 เครื่องปรับอากาศชนิดแยกส่วนตั้งพื้น จะเหมาะสมกับห้องที่มีลักษณะห้องที่เป็นกระจกทั้งหมด ผนังทึบซึ่งไม่อาจเจาะ ช่องเพื่อติดตั้งได้ เมื่อเปรียบเทียบเครื่องปรับอากาศชนิดต่าง ๆ ที่มีขนาดเท่ากัน เครื่องปรับอากาศชนิดนี้ส่วนใหญ่จะมีประสิทธิภาพต่ำกว่า มีขนาดตั้งแต่ 12,000 – 36,000 บีทียู/ชม. มีค่า EER ตั้งแต่ 6 – 11 บีทียู/ชม./วัตต์ |
วิธีใช้เครื่องปรับอากาศให้ประหยัดพลังงาน |
1.ติดตั้งในที่เหมาะสม คือต้องสูงจากพื้นพอสมควร สามารถเปิด-ปิดปุ่มต่าง ๆ ได้สะดวก และเพื่อให้ความเย็นเป่าออกจากเครื่องได้หมุนเวียนภายในห้องอย่างทั่วถึง
2.อย่าให้ความเย็นรั่วไหล ควรจะปิดประตูหรือหน้าต่างห้องให้มิดชิด 3.ปรับปุ่มต่าง ๆ ให้เหมาะสมเมื่อเริ่มเปิดเครื่องควรตั้งความเร็วพัดลมไปที่ตำแหน่งสูงสุด เมื่อความเย็นพอเหมาะแล้วให้ตั้งไปที่อุณหภูมิ 26 องศาเซลเซียส 4.หมั่นทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศ อุปกรณ์ในระบบปรับอากาศ และตะแกรง รวมทั้งชุดคอมเดนเซอร ์เพื่อให้อากาศผ่านเข้าออกได้สะดวกจะประหยัดไฟโดยตรง 5.ใช้พัดลมระบายอากาศเท่าที่จำเป็น 6.ควรปิดเครื่องปรับอากาศเมื่อไม่มีความจำเป็นต้องใช้ 7.ในฤดูหนาวขณะที่อากาศไม่ร้อนมากเกินไป ไม่ควรเปิดเครื่องปรับอากาศ 8.หมั่นตรวจสอบ ล้าง ทำความสะอาดตามระยะเวลาที่ผู้ผลิตกำหนด 9.หน้าต่างหรือบานกระจกควรป้องกันรังสีความร้อนที่จะเข้ามาดังนี้ - ใช้อุปกรณ์บังแดดภายนอกมิให้กระจกถูกแสงแดด เช่น ผ้าใบ หรือแผงบังแดด หรือร่มเงาจากต้นไม้ - ใช้กระจกหรือติดฟิล์มที่สะท้อนรังสีความร้อน - ใช้อุปกรณ์บังแดดภายใน เช่น ผ้าม่าน มู่ลี่ (กระจกด้านทิศใต้ให้ใช้ใบอยู่ในแนวนอน กระจกทิศตะวันออก-ตกให้ใช้ใบที่อยู่ในแนวดิ่ง) 10.ผนังหรือเพดานโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านที่มีแสงแดดส่องจะเก็บความร้อนไว้มาก ทำให้มีการสูญเสียพลังงานมาก จึงควรป้องกันดังนี้ - บุด้วยฉนวนกันความร้อนหรือแผ่นฟิล์มอะลูมิเนียมสะท้อนรังสีความร้อน - ทำที่บังแดด/หลังคา/ปลูกต้นไม้ด้านนอก 11.พยายามอย่าใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความร้อนในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ ไฟส่องสว่างก็เป็นตัวให้ความร้อน จึงควรปิดไฟเมื่อไม่มีความจำเป็น 12.ชุดคอนเดนเซอร์ที่ใช้ระบายความร้อนสู่ภายนอก - ควรถูกแสงแดดให้น้อยที่สุด - ขจัดสิ่งกีดขวางทางลมให้ระบายอากาศได้สะดวก - อย่าติดตั้งให้ปะทะกับลมธรรมชาติโดยตรง |
คำแนะนำด้านความปลอดภัยของเครื่องปรับอากาศ |
1.ควรต่อระบบสายดินกับเครื่องปรับอากาศและทดสอบไฟรั่วด้วยไขควงลองไฟ
2.เครื่องตัดไฟรั่วขนาดไม่เกิน 30 mA. หากป้องกันวงจรของเครื่องปรับอากาศด้วย อาจมีปัญหาเครื่องตัดไฟรั่วทำงานบ่อยขึ้น ควรหลีกเลี่ยงโดยการแยกวงจรออก และใช้ขนาด 100 mA. ป้องกันอีกชั้นหนึ่ง 3.ติดตั้งเบรกเกอร์หรือสวิตซ์อัตโนมัติและควบคุมวงจรโดยเฉพาะ 4.กรณีมีไฟตกหรือไฟดับ ถ้าไม่มีสวิตซ์ปลดสับเองโดยอัตโนมัติต้องรีบปิดเครื่องทันทีก่อนที่จะมีไฟมา และควรรอระยะเวลาประมาณ 3-5 นาที ก่อนที่จะสับสวิตซ์เข้าใหม่ 5.หมั่นตรวจสอบขั้วและการเข้าสายของจุดต่อต่าง ๆ อยู่เสมอ 6.ดูข้อควรปฏิบัติในการใช้ไฟฟ้าหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัย |
|
วิธีใช้พัดลมเพื่อให้ประหยัดพลังงาน | |
1.ควรใช้พัดลมตั้งพื้นหรือตั้งโต๊ะแทนพัดลมติดเพดานเพราะจะกินไฟน้อยกว่าพัดลมติดเพดานประมาณครึ่งหนึ่ง |
|
คำแนะนำด้านความปลอดภัยของพัดลม | |
1. ไม่ควรมีวัสดุติดไฟใกล้บริเวณพัดลม เช่น ผ้าม่าน กองกระดาษ หรือหนังสือ
2. ควรเป็นพัดลมชนิดมีฉนวนประเภท 2 มิฉะนั้นต้องมีสายดิน 3. หมั่นตรวจสอบไฟรั่วด้วยไขควงลองไฟเสมอ 4. พัดลมที่เปิดแล้วไม่หมุนหรือหยุดหมุนจะร้อนและเกิดไฟไหม้ได้ให้รีบปิดพัดลมแล้วถอดปลั๊กเพื่อส่งซ่อมต่อไป 5. ตรวจสอบสภาพของสายอ่อนที่ใช้อยู่เสมอ ซึ่งฉนวนมักจะชำรุดได้ง่าย 6. อย่าพยายามเปิดพัดลม เพื่อระบายอากาศในบริเวณที่มีสารระเหยที่ไวไฟ เช่น ก๊าซหุงต้ม ทินเนอร์ หรือไอน้ำมันเชื้อเพลิง 7. ดูข้อควรปฏิบัติในการใช้ไฟฟ้า หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัย |
|
|
วิธีใช้เตารีดไฟฟ้าให้ประหยัดพลังงาน | |
1.ควรรีดผ้าคราวละมากๆ ติดต่อกันจนเสร็จ และควรเริ่มรีดผ้าบางๆ ก่อนในขณะที่เตารีดยังไม่ร้อน และก่อนรีดเสร็จประมาณ 2-3 นาทีให้ถอดปลั๊กออก |
|
คำแนะนำด้านความปลอดภัยของเตารีด | |
1.ควรระวังไม่ให้ความร้อนจากเตารีดสัมผัสสายไฟฟ้าเพราะจะทำให้เปลือกสาย(ฉนวน) เสียหายได้ |
|
|
วิธีใช้เตาไฟฟ้าให้ประหยัดพลังงานและปลอดภัย | |
1.ทำกับข้าวต้องมีแผนการประกอบอาหารแต่ละครั้ง ควรเตรียมเครื่องปรุงต่าง ๆ ให้พร้อมเสียก่อน แล้วจึงเปิดสวิตช์เตาไฟฟ้า ตั้งกระทะประกอบอาหารแต่ละอย่างติดต่อกันไปรวดเดียวจนเสร็จ
2.ใช้ภาชนะก้นแบนภาชนะที่ใช้ควรเป็นชนิดก้นแบนพอดีกับเตา ไม่เล็ก ไม่ใหญ่จนเกินไป และใช้ภาชนะที่มีเนื้อโลหะรับความร้อนได้ดี ซึ่งถูกออกแบบให้ใช้กับเตาไฟฟ้า 3.อาหารแช่แข็ง ทำให้หายแข็งก่อนโดยการนำอาหารลงมาแช่ที่ชั้นล่างก่อนการ ประกอบอาหารเป็นเวลานานพอสมควร 4.ในการประกอบอาหารใส่น้ำแต่พอควร 5.ควรใช้เตาชนิดมองไม่เห็นขดลวด เพราะจะไม่มีความร้อนสูญเปล่าและปลอดภัยกว่า 6.อย่าเปิดเตาบ่อย ๆ และขณะใช้งานควรวางบนพื้นที่ทนไฟหรือไม่ติดไฟ 7. |
========================================================