Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 176,798
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 174,171
3 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 173,457
4 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,452
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,913
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 170,029
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 169,006
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 168,295
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 161,146
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,818
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,773
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,973
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 68,318
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,816
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 51,160
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 44,053
17 Industrial Provision co., ltd 39,850
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,798
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,713
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 35,041
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,974
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 32,322
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,741
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 31,469
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,975
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,969
27 P.D.S. Automation co.,ltd 23,347
28 AVERA CO., LTD. 23,102
29 เลิศบุศย์ 22,062
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,820
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,714
32 Electronics Source Co.,Ltd. 20,327
33 แมชชีนเทค 20,316
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,576
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,545
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 19,286
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,963
38 SAMWHA THAILAND 18,740
39 วอยก้า จำกัด 18,406
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,978
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,824
42 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,759
43 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,725
44 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,670
45 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,602
46 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,595
47 Systems integrator 17,156
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 17,101
49 Advanced Technology Equipment 16,934
50 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,898
17/01/2553 21:43 น. , อ่าน 11,084 ครั้ง
Bookmark and Share
Solar cell พลังงานแห่งแสงอาทิตย์
โดย : Admin

 

Solar cell พลังงานแห่งแสงอาทิตย์

     

         ในปัจจุบันที่ภาวะ น้ำมันอันเป็นแหล่งพลังงานของโลก มีราคาที่สูงขึ้นทุกวัน ในขณะที่การใช้งานนั้นก๊ไม่มีทีท่า ว่าจะลดลงแต่อย่างใด มีแต่ความต้องการปริมาณน้ำมันที่สูงขึ้น ทั้งการใช้งานเพื่อการค้า การอยู่อาศัย เป็นแหล่งพลังงานต่างๆ สถานะการณ์เช่นนี้ทำให้ประเทศต่างๆต้องมุ่งศึกษาและใช้พลังงาน ทดแทนแบบใหม่ เพื่อทดแทนการใช้นำมันที่จากรายงานมีโอกาสที่จะหมดจากโลกนี้ไปในอีก 100 ปีข้างหน้า 
 

 พลังงานตัวหนึ่งที่เราสามารถหยิบจับมาใช้เปล่าได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆเลยคือ พลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งการจะเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ซึ่ง อยู่ในรูปแสงแดดให้เป็นพลังงานได้นั้นเราทำผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า Solar cell
 

 สิ่งประดิษฐ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่สร้างจากสารกึ่งตัวนำ ซึ่งสามารถเปลี่ยน พลังงานแสงอาทิตย์ ( หรือแสงจากหลอดแสงสว่าง) ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า ได้โดยตรง และไฟฟ้าที่ได้นั้น จะเป็นไฟฟ้ากระแสตรง Direct Current ถึงแม้ว่าปัจจุบัน จะมีการสร้างเซล ที่สามารถแปลงแสง เป็นไฟสลับ ได้แล้วก็ตาม  จัดว่าเป็นแหล่งพลังงานทดแทน ชนิดหนึ่ง ( Renewable Energy ) สะอาด และไม่สร้างมลภาวะใดๆ ขณะใช้งาน เซลล์แสงอาทิตย์ผลิตพลังงานไฟฟ้า ได้มากน้อยเพียงใด
 

          พลังงานแสงอาทิตย์ ที่ตกกระทบพื้นโลกเรามีค่ามหาศาล บนพื้นที่ 1 ตารางเมตร เราจะได้พลังงานประมาณ 1,000 วัตต์ หรือเฉลี่ย 4-5 กิโลวัตต์-ชั่วโมงต่อตารางเมตรต่อวัน ซึ่งมีความหมายว่า ในวันหนึ่งๆ บนพื้นที่เพียง 1 ตารางเมตรนั้น เราได้รับพลังงานแสงอาทิตย์ 1 กิโลวัตต์เป็นเวลานานถึง 4-5 ชั่วโมงนั่นเอง ถ้าเซลล์แสงอาทิตย์ มีประสิทธิภาพในการแปลงพลังงาน เท่ากับร้อยละ 15 ก็แสดงว่า เซลล์แสงอาทิตย์ที่มีพื้นที่ 1 ตารางเมตร จะสามารถ ผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ 150 วัตต์ หรือเฉลี่ย 600-750 วัตต์ - ชั่วโมงต่อตารางเมตรต่อวัน ในเชิงเปรียบเทียบ ในวันหนึ่งๆ ประเทศไทยเรามีความต้องการ พลังงานไฟฟ้าประมาณ 250 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมงต่อวัน ดังนั้น ถ้าเรามีพื้นที่ประมาณ 1,500 ตารางกิโลเมตร ( ร้อยละ 0.3 ของประเทศไทย) เราก็จะสามารถผลิตไฟฟ้า จากเซลล์แสงอาทิตย์ ได้เพียงพอกับความต้องการทั้งประเทศ

รูปที่ 1 ระบบผลิตไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ในโรงเรียน ตชด.

นโยบายการใช้เซลล์แสงอาทิตย์ในประเทศไทย

เมื่อเดือนธันวาคม 2544 สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) ได้จัดสัมมนา เรื่อง "แผนยุทธศาสตร์การอนุรักษ์พลังงานของประเทศ ในช่วงปี พ.ศ. 2545-2554" โดยเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายองค์กร เข้ามามีส่วนร่วมเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และเสนอแนะแนวคิด โดยแผนยุทธศาสตร์ ฯ ที่เกี่ยวข้องพลังงานแสงอาทิตย์มีมาตรการและเป้าหมายที่คาดหวัง สรุปได้ดังนี้

  • มาตรการส่งเสริมการใช้ในรูปของการผลิตไฟฟ้า

  • มาตรการส่งเสริมการใช้ในรูปของความร้อน

  • มาตรการส่งเสริมการผลิตและประกอบเซลล์ขึ้นในประเทศ

  • มาตรการสร้างและพัฒนาบุคลากรขึ้นในประเทศ

  • มาตรการการประชาสัมพันธ์

เซลล์แสงอาทิตย์คืออะไร

เซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Cell) เป็นสิ่งประดิษฐ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างจากสารกึ่งตัวนำ (Semiconductor) เมื่อได้รับแสงจากดวงอาทิตย์หรือแสงจากหลอดไฟ เซลล์แสงอาทิตย์จะเปลี่ยนพลังงานแสงเป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง (Direct Current : DC) ถือว่าพลังงานไฟฟ้าที่เกิดจากเซลล์แสงอาทิตย์นี้ เป็นพลังงานทดแทนชนิดหนึ่ง (Renewable Energy) ซึ่งเป็นพลังงานที่สะอาดและไม่สร้างมลภาวะใด ๆ ให้กับสิ่งแวดล้อมในขณะใช้งาน

 

หลักการทำงานและประเภทของเซลล์แสงอาทิตย์

หลักการทำงานของเซลล์แสงอาทิตย์ เริ่มจากแสงอาทิตย์ตกกระทบเซลล์แสงอาทิตย์ จะเกิดการสร้างพาหะนำไฟฟ้าประจุลบ (เรียกว่า อิเล็กตรอน) และประจุบวก (เรียกว่า โฮล) ซึ่งอยู่ในภายในโครงสร้างรอยต่อพีเอ็นของสารกึ่งตัวนำ โดยโครงสร้างรอยต่อพีเอ็นนี้จะทำหน้าที่สร้างสนามไฟฟ้าภายในเซลล์ เพื่อแยกพาหะไฟฟ้าชนิดอิเล็กตรอนให้ไหลไปที่ขั้วลบ และทำให้พาหะนำไฟฟ้าชนิดโฮลไหลไปที่ขั้วบวก ซึ่งทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าแบบกระแสตรงขึ้นที่ขั้วทั้งสอง เมื่อเราต่อเซลล์แสงอาทิตย์เข้ากับเครื่องใช้ไฟฟ้า (เช่น หลอดไฟ มอเตอร์ เป็นต้น) ก็จะเกิดกระแสไฟฟ้าไหลในวงจร เนื่องจากกระแสไฟฟ้าที่ไหลออกจากเซลล์แสงอาทิตย์เป็นชนิดกระแสตรง ดังนั้น ถ้าต้องการจ่ายไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ไฟฟ้ากระแสสลับ ต้องต่อเซลล์แสงอาทิตย์เข้ากับอินเวอร์เตอร์ (Inverter) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับแปลงไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ให้เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC)

 

ประเภทของเซลล์แสงอาทิตย์

 1. เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดผลึกเดี่ยวซิลิกอน (Single Crystalline Silicon Solar Cell หรือ c-Si)  
       ซิลิกอนเป็นวัสดุสารกึ่งตัวนำที่มีราคาถูกที่สุด เนื่องจากซิลิกอนเป็นธาตุที่มีมากที่สุดในโลกชนิดหนึ่ง สามารถถลุงได้จากหินและทราย เรานิยมใช้ธาตุซิลิกอนในงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ใช้ทำทรานซิสเตอร์และไอซี และเซลล์แสงอาทิตย์

เทคโนโลยี c-Si ได้รับความนิยมและใช้งานกันอย่างแพร่หลาย นิยมใช้งานในพื้นที่เฉพาะได้แก่ ในชนบทที่ไม่มีไฟฟ้าใช้เป็นหลัก

2. เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดผลึกโพลีซิลิกอน (Polycrystalline Silicon Solar Cell หรือ pc-Si)
     จากความพยายามในการที่จะลดต้นทุนการผลิตของ c-Si จึงทำให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยี pc-Si ขึ้นเป็นผลให้ต้นทุนการผลิตของ pc-Si ต่ำกว่า c-Si ร้อยละ 10 อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยี pc-Si ก็ได้รับความนิยมและใช้งานกันอย่างแพร่หลายเช่นกัน

3. เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดฟิล์มบางอะมอร์ฟัสซิลิกอน (Amorphous Silicon Solar Cell หรือ a-Si)
     เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ธาตุซิลิกอนเช่นกัน แต่จะไม่เป็นผลึก แต่ผลของสารอะมอร์ฟัสจะทำให้เกิดเป็นฟิล์มบางของซิลิกอน ซึ่งมีความบางประมาณ 300 นาโนเมตร ทำให้ไม่สิ้นเปลืองเนื้อวัสดุ น้ำหนักเบา การผลิตทำได้ง่าย และข้อดีของ a-Si ไม่เกิดมลพิษกับสิ่งแวดล้อม จึงเหมาะที่จะประยุกต์ใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่กินไฟฟ้าน้อย เช่น เครื่องคิดเลข นาฬิกาข้อมือ วิทยุทรานซิสเตอร์ เป็นต้น

นอกจากซิลิกอนแล้ว วัสดุสารกึ่งตัวนำอื่น ๆ ก็ใช้ผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ได้เช่นกัน ได้แก่ แกลเลียมอาร์เซไนด์ (GaAs : Gallium Arsenide) แคดเมียมเทลลูไรด์ (CdTe : Cadmium Telluride) คอปเปอร์อินเดียมไดเซเลไนด์ (CIS : Copper Indium Diselenide) โดยเซลล์แสงอาทิตย์ที่ผลิตจาก GaAs จะมีประสิทธิภาพการแปรพลังงานที่สูงที่สุด จึงเหมาะกับงานด้านอวกาศ ซึ่งราคาจะแพงมากเมื่อเทียบกับที่ผลิตจากซิลิกอน นอกจากนี้มีการคาดหมายกันว่า เซลล์แสงอาทิตย์ที่ผลิตจาก CIS จะมีราคาถูกและมีประสิทธิภาพสูง





 

  • การบำรุงรักษาเซลล์แสงอาทิตย์และอายุการใช้งาน

อายุการใช้งาน เซลล์แสงอาทิตย์ โดยทั่วไปยาวนานกว่า 20 ปี และเนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งอยู่กับที่ ไม่มีส่วนใดที่เคลื่อนไหว เป็นผลให้ลดการดูแลและบำรุงรักษาระบบดังกล่าว จะมีเพียงในส่วนของการทำความสะอาด แผงเซลล์แสงอาทิตย์ ที่เกิดจาก ฝุ่นละอองเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบกับ การดูแลระบบปรับอากาศ ขนาดเล็กตาม บ้านพักอาศัยแล้ว จะพบว่างานนี้ดูแลง่ายกว่า
 

เทคโนโลยีของ เซลล์แสงอาทิตย์ ในปัจจุบัน มีการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ประกอบกับ การนำ ระบบควบคุมที่ดี มาใช้ในการผลิต ทำให้ เซลล์แสงอาทิตย์ สามารถที่จะผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ประมาณ 1,600-1,800 กิโลวัตต์-ชั่วโมง ต่อกิโลวัตต์ สูงสุดต่อปี พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากบ้าน 1 หลัง ประมาณ 3,750-4,500 หน่วย/ปี สามารถ ลดการใช้ น้ำมัน ในการผลิต ไฟฟ้าลงได้ 1,250-1,500 ลิตร/ปี   เนื่องจากการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ไม่ใช้เชื้อเพลิง โครงการนี้จึงมีส่วนช่วยลด CO2 SOX และ NOX ที่เกิดจากโรงไฟฟ้าที่ผลิตอยู่ในปัจจุบัน และ ช่วยลดค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการกำจัดสารต่างๆ ดังกล่าวนั้นด้วย

  • ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม           

   จุดเด่นของเซลล์แสงอาทิตย์

1.แหล่งพลังงานได้จากดวงอาทิตย์ เป็นแหล่งพลังงานที่ไม่มีวันหมดและไม่เสียค่าใช้จ่าย
2.เป็นแหล่งพลังที่สะอาดไม่ก่อให้เกิดมลภาวะแก่สิ่งแวดล้อม
3.สร้างไฟฟ้าได้ทุกขนาดตั้งแต่เครื่องคิดเลข ไปจนถึงโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่
4.ผลิตที่ไหนใช้ที่นั่น ซึ่งระบบไฟฟ้าปกติแหล่งผลิตไฟฟ้ากับจุดใช้งานอยู่คนละที่ และจะต้องมีระบบนำส่ง แต่เซลล์แสงอาทิตย์สามารถผลิตไฟฟ้าในบริเวณที่ใช้งานได้

 

 

 

 

 

 บทความนี้ร่วมเผยแพร่โดย www.thainotebook.co.th

========================================================

 

 

 

23 November 2024
:: MEMBER LOGIN
E-mail Account
Password
:: OUR SPONSORS
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD