การชำรุดของอุปกรณ์ในวงจรคาปาซิเตอร์
เนื่องจากปรากฏการณ์ HUNTING
|
การชำรุดของอุปกรณ์ในวงจรคาปาซิเตอร์ เนื่องจากปรากฏการณ์ " HUNTING" จากประสบการณ์
ที่โรงงานแห่งหนึ่งที่ติดตั้งคาปาซิเตอร์จำนวนหลายชุด โดยมีเครื่องควบคุมการตัดต่อคาปาซิเตอร์
แบบอัติโนมัติทั่วไปเหมือนโรงงานอื่นๆ
- ปัญหาที่เกิดขึ้น คือทางโรงงานแจ้งว่า VCB (Vacuum Circuit Breaker ) ที่เป็นตัวตัดต่อวงจรคาปาซิเตอร์
มีการระเบิดเสียหายโดยไม่ทราบสาเหตุจำนวนหนึ่งชุด โดยสงสัยว่าปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากฮาร์มอนิกหรือไม่
- จากการตรวจสอบ VCB ตัวที่มีปัญหาพบว่ามีรอยอาร์คระหว่างเฟส จากการวัดระยะอาร์คระหว่างเฟสที่เกิดขึ้น
ประกอบกับการพูดคุยกับทางโรงงานพอสันนิษฐานได้ว่ามีแรงดันสูงเกิดขึ้นในระหว่างเฟสและเกิด Flash Over
จนทำให้เกิดการเสียหายขึ้น
- สิ่งที่ตรวจสอบพบเมื่อทำการวัดฮาร์มอนิก พบว่าทั้งกระแสและแรงดันฮาร์มอนิก อยู่ในระดับต่ำอยู่ในระดับต่ำ
ไม่มีนัยสำคัญอะไร จึงได้พุ่งความสนใจไปที่อุปกรณ์ต่างๆ และชุดควบคุมคาปาซิเตอร์ จึงพบว่ามีการตั้งค่า c/k
(ค่า c/k มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า " Starting Current" )ให้ชุดควบคุมไม่ถูกต้อง ประกอบกับผู้ปฏิบัติงานที่อยู่ใน
เหตุการณ ์เล่าว่าได้ยินเสียงการทำงานของ VCB ทำการตัดต่อคาปาซิเตอร์อยู่หลายครั้งก่อนที่ VCB จะระเบิด
เสียหาย
- ข้อสรุป คือเมื่อพบว่ามีการตั้งค่า c/k ไม่ถูกต้อง ประกอบกับการทำงานบ่อยครั้งของ VCB ที่เกิดขึ้นทำให้สันนิษฐาน
ได้ว่าเกิดปรากฏการณ์ Hunting โดยตั้งค่า c/k ต่ำเกินไป ชุดควบคุมวงจรคาปาซิเตอร ์หรือ เครื่องควบคุมค่า
เพาเวอร์แฟคเตอร์ ต้องการค่า c/k เพื่อใช้ในการคำนวณและตัดต่อวงจรคาปาซิเตอร์ ให้เหมาะสมกับสภาวะของ
โหลดที่จะทำให้ค่าเพาเวอร์ของระบบไฟฟ้าอยู่ในระดับที่ต้องการ ค่า c/k นี้สามารถคำนวณได้จากสูตร
ถ้า c/k ต่ำเกินไปจะทำให้การตัดต่อคาปาซิเตอร์เข้าออกอยู่ตลอดเวลาทั้งที่โหลดไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือที่เรียก
ว่าเกิด Hunting การตัดต่อคาปาซิเตอร์เข้าออกบ่อยๆ ในเวลาสั้นๆ จะทำให้แรงดันที่ค้างอยู่ในคาปาซิเตอร์ลดลงไม่
ทัน (ยังดีสชาร์จไม่หมด) จนในที่สุดเกิดแรงดันสะสมสูงเพิ่มขึ้นจนกระทั่งเกิดอันตรายกับ VCB ดังกล่าว
วิธีแก้ไขคือ การป้องกันไม่ให้เกิด Hunting โดยการตั้งค่า c/k ได้เองโดยตรวจสอบระบบแบบอัตโนมัติจึงไม่
เกิดปัญหา ในกรณีที่ต้องการตั้งค่า c/k ได้เองจากสูตรที่กล่าวมาแล้ว โดยสามารถตวรจสอบจากตารางตั้งค่า c/k
ในคู่มือชุดควบคุมคาปาซิเตอร์ซึ่งจะมีรายละเอียดค่า c/k อยู่อย่างครบถ้วน การตั้งค่า c/k ให้ถูกต้องจะสามารถ
แก้ไขปัญหาปรากฏการณ์ Hunting ที่เกิดขึ้นได้
ตารางแสดงค่าc/k
CT Ratio
|
k
|
Capacitor Step Rating (kvar)
|
|
|
|
5
|
10
|
15
|
20
|
30
|
40
|
50
|
60
|
70
|
90
|
100
|
120
|
10/1
|
50/5
|
10
|
.45
|
.90
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
20/1
|
100/5
|
20
|
.23
|
.45
|
.68
|
.90
|
|
|
|
|
|
|
|
|
30/1
|
150/5
|
30
|
.15
|
.30
|
.45
|
.60
|
.90
|
|
|
|
|
|
|
|
40/1
|
200/5
|
40
|
.11
|
.23
|
.34
|
.45
|
.68
|
.90
|
|
|
|
|
|
|
60/1
|
300/5
|
60
|
.07
|
.15
|
.23
|
.30
|
.45
|
.60
|
.79
|
.90
|
|
|
|
|
80/1
|
400/5
|
80
|
.056
|
.11
|
.17
|
.23
|
.36
|
.45
|
.56
|
.68
|
.79
|
.90
|
|
|
100/1
|
500/5
|
100
|
0.45
|
.09
|
.14
|
.18
|
.30
|
..36
|
.45
|
.54
|
.63
|
.81
|
.90
|
|
120/1
|
600/5
|
120
|
.037
|
.07
|
.11
|
.15
|
.23
|
.30
|
.38
|
.45
|
.53
|
.68
|
.75
|
.90
|
160/1
|
800/5
|
160
|
.028
|
.056
|
.08
|
.11
|
.17
|
.23
|
.28
|
.34
|
.40
|
.50
|
.56
|
.68
|
200/1
|
1000/5
|
200
|
.022
|
.045
|
.067
|
.09
|
.13
|
.18
|
.23
|
.27
|
.31
|
.40
|
.45
|
.54
|
300/1
|
1500/5
|
300
|
.055
|
.030
|
.045
|
.060
|
.09
|
.12
|
.15
|
.18
|
.21
|
.27
|
.30
|
.36
|
400/1
|
2000/5
|
400
|
|
.022
|
.034
|
0.45
|
.067
|
.09
|
.11
|
.14
|
.16
|
|
เอกสารอ้างอิง
วารสาร คุณภาพไฟฟ้า Vol 8/ Oct- Dec 2001 ; ABB LIMITED
(ขอขอบคุณ ชาวสมาชิก 9engineer คุณมาโนชน์ ที่กรุณาส่งข้อมูลมาเพื่อเป็นความรู้เผยแพร่)