ที่มา : http://hpe4.anamai.moph.go.th
หลักการผลิตไฟฟ้า
|
จากกฎของฟาราเดย์ ที่ว่าเมื่อหมุนขดลวดตัดสนามแม่เหล็ก จะทำให้เกิดความต่างศักย์ Voltage (V gen) และเหนี่ยวนำให้เกิดกระแสไฟฟ้าขึ้น จากหลักการนี้เองจึงนำมาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า โดยใช้เชื้อเพลิงประเภทต่างๆเพื่อหมุนกังหัน เช่น กังหันไอน้ำ กังหันแก๊ส ฯลฯ โดยเพลาของกังหันจะติดกับเพลาของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า และเหนี่ยวนำให้เกิดกระแสไฟฟ้าส่งไปตามสาย การที่จะเข้าใจผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมของโรงไฟฟ้า จึงต้องเข้าใจกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้า โดยเฉพาะสิ่งที่จะใช้เป็นเชื้อเพลิง เนื่องจากเชื้อเพลิงแต่ละชนิดจะส่งผลต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมต่างกัน เช่นถ้าใช้ลิกไนต์และน้ำมันเตา จะก่อเกิดมลพิษได้สูงกว่าก๊าซธรรมชาติ และถ้าไม่ใช้เชื้อเพลิงในกระบวนการผลิต เช่นใช้พลังน้ำ หรือพลังลม หรือเซลแสงอาทิตย์จะไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยมาก
|
ประเภทของโรงไฟฟ้าแบ่งตามการใช้เชื้อเพลิง
-
ประเภทไม่ใช้เชื้อเพลิง
- พลังน้ำจากเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำ
- พลังธรรมชาติจากแหล่งพลังงานที่ไม่หมดสิ้น ได้แก่ พลังแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังความร้อนใต้พิภพ
-
ประเภทใช้เชื่้อเพลิง
- พลังไอน้ำ โดยใช้ความร้อนเผาน้ำให้กลายเป็นไอ แล้วไอจะไปหมุนกังหันไอน้ำ พลังงานที่ใช้ในการเผาไหม้น้ำให้เป็นไอ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน น้ำมันเตา
พลังงานความร้อน ใช้ก๊าซธรรมชาติ หรือน้ำมันมาสันดาป ทำให้เกิดพลังงานกลต่อไป โรงไฟฟ้่าประเทศนี้ได้แก่ โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม โรงไฟฟ้าดีเซล โรงไฟฟ้ากังหันก๊าซ
เพลลิส playlist ความรู้เกี่ยวการทำงานของโรงไฟฟ้าแต่ละประเภท
ประเภทของโรงไฟฟ้า
|
โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
หลักการทำงานคือสร้างเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำ ให้มีระดับน้ำสูงกว่าระดับของโรงไฟฟ้า
-
ปล่อยน้ำปริมาณที่ต้องการไปตามท่อส่งน้ำ เพื่อไปยังโรงไฟฟ้าที่อยู่ต่ำกว่า
-
พลังน้ำจะไปหมุนเพลาของกังหันน้ำที่ต่อกับเพลา ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ทำให้โรเตอร์หมุน เกิดการเหนี่ยวนำขึ้นในเครื่องกำเนิดไฟฟ้่า ได้พลังไฟฟ้าเกิดขึ้น
โรงไฟฟ้าในยุคแรกๆของประเทศไทยจะเป็นแบบโรงไฟฟ้าพลังน้ำ โดย กฟผ.จะเป็นผู้รับผิดชอบในการดูแลการปล่อยน้ำ ทั้งเพื่อการผลิตไฟฟ้าและการชลประทาน แต่ปัจจุบันการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่จำกัดในเรื่องสถานที่ที่จะสร้าง อีกทั้งการคัดค้่านจากประชาชน จึงหันไปลงทุนในการสร้างเขื่อนในประเทศเื่พื่อนบ้าน แล้วทำสัญญาซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ประเทศลาว และประเทศพม่า
|
โรงไฟฟ้าพลังความร้อน
|
-
ทำการเผาไหม้เชื้อเพลิงเพื่อให้เกิดการสันดาปได้ความร้อน
-
ความร้อนจะไปทำให้น้ำกลายเป็นไอน้ำ และแรงดันไอน้ำจะทำการหมุนกังหันไอน้ำ
-
แกนของไอน้ำจะต่อกับแกนของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เกิดการเหนี่ยวนำทำให้ได้กระแสไฟฟ้า
|
-
เชื้อเพลิงที่จะนำมาใช้ในประเทศไทยได้แก่ ลิกไนต์ ก๊าซธรรมชาติ ปัจจุบันได้มีการนำเข้าถ่านหินคุณภาพดีคือ บิทูมินัสมาใช้เป็นเชื้อเพลิง ในต่างประเทศใช้เชื้อเพลิงนิวเคลียร์
เชื้อเพลิงที่นำมาใช้สำหรับโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนในประเทศไทย คือ ลิกไนต์ เนื่องจากพบเหมืองลิกไนต์ที่จังหวัดลำปาง ลิกไนต์ถือเป็นถ่านหินที่มีคุณภาพต่ำ และก่อเกิดมลพิษได้มากกว่าถ่านหินที่มีคุณภาพสูงเช่น แอนทราไซต์หรือบิทูมินัส
โรงไฟฟ้ากังหันก๊าซ
|
-
เป็นเครื่องยนต์สันดาปภายใน ทำการอัดอากาศ ให้มีความดันสูง 8-10 เท่า
-
ส่งอากาศเข้าไปในห้องเผาไหม้ โดยมีเชื้อเพลิงทำการเผาไหม้
-
อากาศในห้องเผาไหม้เกิดการขยายตัวทำให้แรงดันและ อุณหภูมิสูง
-
ส่งอากาศเข้าไปในหมุนเครื่องกันหันแก๊ส
-
เพลาของเครื่องกังหันแก๊สจะต่อกับเพลาของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ทำให้เกิดการเหนี่ยวนำได้กระแสไฟฟ้่า
|
จากรูปด้านบน ไม่ใช่เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากังหันแก๊สอย่างเดียว แต่ได้นำไอเสียที่ยังมีความร้อนอยู่ไปต้มน้ำใน Stream Boiler ให้เกิดเป็นไอ และให้ไอน้ำไปหมุนกังหันไอน้ำอีกตัว เพลาของกังหันไอน้ำจะต่อกับเพลาของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ทำให้เกิดการเหนี่ยวนำได้กระแสไฟฟ้า การที่เครื่องมีการผสมกันระหว่างกันหันแก๊สและกังหันไอน้ำ จึงเรียกว่า Gas Turbine Combine Cycle สำหรับเชื้อเพลิงที่จะในห้องเผาไหม้นั้น จะใช้น้ำมันหรือก๊าซธรรมชาติก็ได้
โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม
เป็นโรงไฟฟ้าที่ทำงานร่วมกันระหว่าง ระบบกังหันแก๊ส (Gas turine) และระบบกังหันไอน้ำ (Stream Turbine) โดยไอเสียที่ได้จากระบบกังหันแก๊ส ซึ่งมีอุณหภูมิ 550 องศาเซลเซียส จะนำมาต้มน้ำให้เดือดกลายเป็นไอ เพื่อให้ไอน้ำไปหมุนกังหันไอน้ำอีกทีหนึ่่ง ส่วนใหญ่จะใช้ระบบกังหันแก๊สมากกว่า 1 เครื่อง โดยปรกติมักใช้ 2เครื่อง ต่อระบบกังหันไอน้ำ 1 เครื่อง โดยกำลังการผลิตไฟฟ้าที่ได้จากกังหันไอน้ำ จะเป็นครึ่่งหนึ่งของกำลังการผลิตรวมของกำลังการผลิตของกังหัสแก็ส เช่น โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม 1 ชุด ประกอบด้วยกังหันแก๊ส 2 เครื่อง กำลังการผลิต 2 x 700 MW กังหันไอน้ำ 1 เครื่อง กำลังการผลิต 700 MW กำลังการผลิตรวมเท่ากับ 3 x 700 = 2100 MW
โรงไฟฟ้าดีเซล
|
-
เป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อนประเภทหนึ่ง ซึ่งใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิง
-
หลักการทำงานคล้ายกับเครื่องยนต์ดีเซลในรถทั่วไป โดยอาศัยการสันดาปของน้ำมันดีเซลที่ถูกฉีดเข้าไปในกระบอกสูบ ของเครืองยนต์ที่ถูกอัดอากาศจนมีอุณหภูมิสูงที่เรียกว่าจังหวะอัด ในขณะเดียวกันน้ามันดีเซลที่ถูกฉีดเข้าไปจะทำการสันดาป กับอากาศที่มีความร้อนสูงเกิดการระเบิด ดันลูกสูบเคลื่อนที่ลงไปเพลาข้อเหวี่ยง ซึ่งต่อกับเพลาของเครื่องยนต์ที่ต่อกับเพลาของเครื่องกำเนิดไฟฟ้่า เกิดการเหนี่ยวนำได้กระแสไฟฟ้า
|
เนื่องจากน้ำมันดีเซลมีราคาแพงขึ้น ทำให้ไม่ค่อยนิยมที่จะสร้างโรงไฟฟ้าดีเซล เนื่องจากมีต้นทุนสูง โดยต้นทุนการผลิตกระแสไฟฟ้า เรียงลำดับจากต้นทุนต่ำไปสูง เป็นดังนี้ ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันเตา และน้ำมันดีเซล
โรงไฟฟ้่าพลังทดแทน
พลังทดแทนในที่นี้หมายถึงพลังงานใดๆที่จะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ทดแทนแหล่งพลังงาน ซึ่งมีการสะสมตามธรรมชาติและใช้หมดไป (เช่น น้ำมัน ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ ยูเรเนียม ฯ ) พลังงานทดแทนภายในประเทศซึ่งมีความเป็นไปได้ในการนำมาใช้ผลิตไฟฟ้า มีอาทิ เช่น พลังงานจากแสงอาทิตย์ ลม ความร้อนใต้พิภพ น้ำ พืช วัสดุเหลือใช้จากการเกษตร ขยะ ฯ เนื่องจากพลังงานทดแทนดังกล่าวมีลักษณะ กระจายอยู่ตามธรรมชาติและไม่มีความสม่ำเสมอ การลงทุนเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ผลิตไฟฟ้าจึงสูงกว่าการนำมา ใช้ประโยชน์ จากแหล่งประเภทน้ำมัน ถ่านหิน ฯลฯ
-
โรงไฟฟ้าเซลแสงอาทิตย์ เซลแสงอาทิตย์เป็นสิ่งประดิษฐ์ทางอิเลคโทรนิคส์ ส่วนใหญ่เป็นสารกึ่งตัวนำที่ทำจาก ซิลิคอน เยอรมันเนียม หินต่างๆ การทำงานของเซลแสงอาทิตย์เป็นกระบวนการเปลี่ยนจากพลังงานแสงเป็นกระแสไฟฟ้าโดยตรง โดยเมื่อแสงที่เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและมีพลังงาน กระทบสารกึ่งตัวนำ จะเกิดการถ่ายทอดพลังงานระหว่างกัน พลังงานแสงจะทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของอิเลคตรอน (กระแสไฟฟ้า) ในสารกึ่งตัวนำขึ้น จึงสามารถที่จะนำกระแสไฟฟ้าดังกล่าวไปใช้งานได้ ตัวอย่างของโรงไฟฟ้าเซลอาทิตย์ของประเทศไทย เช่นทีจังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งการก่อสร้างระบบส่งไฟฟ้าขนาด 115 KV เป็นระยะทาง 200 ก.ม.นั้นไม่สามารถที่จะดำเนินการได้เนื่องจากต้องผ่านพื่นที่ลุ่มน้ำ 1 เอ ซึ่งมติ ครม. เมื่อ 12 ธันวาคม 2532 ไม่อนุมัติให้หน่วยงานใดในจังหวัดแม่ฮ่องสอนใช้พื้นที่ 1 เอ จึงต้องใช้โรงไฟฟ้าดีเซล และโรงไฟฟ้าเซลแสงอาทิตย์ผาบ่อง ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน กำลังการผลิต 500 KV งบประมาณก่อสร้าง 187.11 ล้านบาท สามารถนำเข้าสู่ระบบและใช้งานไ้ด้สมบูรณ์ตั้งแต่ 9 เมษายน 2547 รายละเอียดโรงไฟฟ้าผาบ่อง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
-
โรงไฟฟ้ากังหันลม โดยใช้พลังงานลมมาหมุนกังหันลม เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งตัวอย่างของโครงการได้แก่ พลังเซลแสงอาทิตย์ร่วมกับกังหันลมที่ควรพรหมเทพ จังหวัดภูเก็ต
-
โรงไฟฟ้าพลังชีวมวล โดยเหตุที่ประเทศไทยทำการเกษตรอย่างกว้างขวางวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร เช่น แกลบ ขี้เลื่อย ชานอ้อย กากมะพร้าว ฯ ซึ่งมีอยู่จำนวนมาก (เทียบได้น้ำมันดิบปีละไม่น้อยกว่า 6,500 ล้านลิตร) ก็ควรจะใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าในเชิงพาณิชย์ได้ ในกรณีของโรงเลื่อย โรงสี โรงน้ำตาล ฯ ขนาดใหญ่ อาจจะยินยอมให้จ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้าต่างๆ
ในประเทศในลักษณะของการผลิตร่วม (Co-generation) ซึ่งมีใช้อยู่แล้วหลายแห่งในต่างประเทศโดยวิธีดังกล่าวแล้วจะช่วย
ให้สามารถใช้ประโยชน์จากแหล่งพลังงานในประเทศสำหรับส่วนรวมได้มากยิ่งขึ้นทั้งนี้อาจจะรวมถึงการใช้ไม้ฟืนจากโครงการปลูกไม้
โตเร็วในพื้นที่นับล้านไร่ในกรณีที่รัฐบาลจำเป็นต้องลดปริมาณการปลูกมันสำปะหลัง อ้อย ฯ เพื่อแก้ปัญหาระยะยาวทางด้านการตลาด
ของพืชทั้งสองชนิด อนึ่ง สำหรับผลิตผลจากชีวมวลในลักษณะอื่นที่ยังใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ เช่น แอลกฮอล์ จากมันสำปะหลัง ก๊าซจากฟืน
(Gasifier) ก๊าซจากการหมักเศษวัสดุเหลือจากการเกษตร(Bio Gas) ขยะ ฯ หากมีความคุ้มค่าในเชิงพาณิชย์ก็อาจนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิง
สำหรับผลิตไฟฟ้าได้เช่นกัน ตัวอย่างของ Bio gas อ่านได้จากบทความ เปลี่ยนของเสีย ๆ ให้เป็น ‘ไบโอแก๊ส' ช่วยลดโลกร้อน...สร้างโลกสวย
พลังงานความร้อนใต้พิภพ มีปรากฎการณ์ตามธรรมชาติในลักษณะน้ำพุร้อนกว่าหกสิบแห่งตามแนวเหนือ-ใต้แถบชายแดนตะวันตกของประเทศไทย (แนวเทือกเขาตะนาวศรี) สันนิษฐานว่าจะเป็นแหล่งประเภทเดียวกันกับที่แคว้นยูนาน ในประเทศจีนตอนใต้ เนื่องจากอยู่ในแนวซ้อนของแผ่น ทวีปคู่เดียวกัน (Indian Plate ซึ่งมุดลงใต้ Chinese Plate และเกิดแรงดันในลักษณะ Back Arch) จัดอยู่ในแหล่งขนาดเล็กถึง ปานกลาง และคาดว่าสามารถให้พลังงานกับโรงไฟฟ้าขนาดไม่เกิน 50 เมกะวัตต์
ประเภทของโรงไฟฟ้าของประเทศไทยในปัจจุบัน
|
ประเภทของโรงไฟฟ้า / Click ดูรายละเอียด
|
กำลังการผลิต (MW)
|
%
|
1
|
พลังความร้อนร่วม
|
12,805.94
|
46.08 %
|
2
|
พลังความร้อน
|
9,666.60
|
34.79 %
|
3
|
พลีงน้ำ
|
3,764.18
|
13.55 %
|
4
|
กังหันก๊าซ
|
967.00
|
3.48 %
|
5
|
พลังหมุนเวียน
|
279.03
|
1.00 %
|
6
|
โรงไฟฟ้าดีเซล
|
5.40
|
0.02 %
|
|
กำลังการผลิตรวม
|
27,488.15
|
|
หมายเหตุ กำลังผลิตรวม ในที่นี้ เป็นการเอาโรงไฟฟ้าในสิ้น เม.ย.50 รวมกับ โรงไฟฟ้าที่กำลังก่อสร้างและจะแล้วเสร็จแน่่ในปี 2551
-
กำลังผลิตติดตั้ง ณ.เมษายน 2550 เท่ากับ 27,788.2 MW
-
Gulf Power Generation (พ.ค.50 และ มี.ค.51) เท่ากับ 734*2 = 1,468 MW
-
Ratchaburi Power (มี.ค.51 และ มิ.ย.51) เท่ากับ 700*2 = 1,400 MW