โดย: ภาคีวิศวกรรมกรไขว่คว้า ประเทศไทย
สูตรบัญชีง่ายๆ กำไร = ราคาขาย - ต้นทุน แค่นี้เอง วิศวกรผู้ผ่านการตรากตรำ ผ่านการเรียน คณิตศาสตร์ชั้นสูง วิเคราะห์ไม่ออก ยกตัวอย่างง่ายๆ ให้หากำไร 20% จากราคาขายก็งงแล้ว เพราะตั้งแต่เรียนประถม จนกระทั่งจบวิศวะ เขาก็คิดจากต้นทุน แต่เวลาทำงาน กลับคิดกำไรจากราคาขาย เพราะมาตรฐานทางบัญชีเขามองจากราคาขาย ไม่ได้มองจากราคาต้นทุน ยกตัวอย่าง เช่น ซื้อของมา 100 บาท ขายไป 120 บาท ตั้งแต่ประถม จนกระทั่งจบวิศวะ เขาก็คิดเป็น กำไร 20 % แต่แผนกบัญชีบอกว่า คิดเป็น กำไร 17 % ในทางธุรกิจ หรือทางบัญชีให้บอกว่า กำไร 20 บาท นั่นคือ 17% คิดจากราคาขาย งง!!! นี่เป็นเพียงตัวอย่างง่ายๆ ที่วิศวกรไทย มากกว่า 90% เมื่อจบออกมาแล้วไม่ค่อยจะเข้าใจธุรกิจ นอกเหนือไปจากนี้ยังมีเรื่องต้นทุนที่ ผู้เขียนผ่านประสบการณ์มาเกือบ 20 ปี พบว่า เกินกว่าครึ่งไม่เข้าใจเรื่องต้นทุน ที่จะใช้ในการคำนวณ นี่ก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่ง ที่ทำให้วงการวิศวกรรม บ้านเราไปไม่ถึงไหนสักที และเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ออกมาทำธุรกิจแล้วเจ๊ง ผมเคยถามรุ่นน้องๆที่พึ่งจบ หรือบางท่านที่จบ และทำงานมาแล้วมากกว่า 5 ปี ถามว่า ต้นทุนค่าแรงของคุณวันละเท่าไหร? ถ้าเงินเดือน 15,000 บาท ก็ตอบง่ายๆ ว่าวันละ 500 บาท (15,000/30 วัน) ผมจึงถามต่อว่า ถ้านายจ้าง จ้างคุณวันละ 500 บาทจะเอาไหม? ถึงได้เริ่มคิด ว่ามันไม่ใช่ วันละ 500 บาทนี่นามันน่าจะ 680 บาท (15,000/22 วัน) เพราะหยุดวันเสาร์-อาทิตย์เข้าไปด้วย ถึงตอนนี้บางท่านอ่านมาคิดว่าถูก แต่ผิดอย่างแรง โดยเฉพาะวิศวกรที่ทำงานกับหน่วยงานราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ ส่วนใหญ่ยิ่งไม่เคยแม้แต่จะคิดว่าต้นทุนที่องค์กรได้จ่ายค่าแรง ในแต่ละเดือนคิดเป็นต้นทุนวันละเท่าไหร่ ท่านจึงจะทำงานให้แก่องค์กรได้อย่างคุ้มค่า จึงได้ทำงานแบบเช้าชาม เย็นสองชาม ยังไม่จบหัวข้อสนทนากับน้องๆ วิศวกรไฟแรง ผมได้ถามต่อว่า ใน 1 ปีมีวันหยุดตามราชการอีก 13 วัน และยังมีวันลาพักร้อนอีก 30 วัน ยังมีการลาป่วยอีก โดยรวมๆ แล้วมีวันหยุดมากกว่า 12 วันต่อเดือน เหลือเพียงแค่ 18 วันทำงานต่อเดือน แค่นั้นเอง แถมสิ้นปียังมีโบนัสอีก ดังนั้นค่าแรงวิศวกร 15,000 บาท/เดือน คิดเป็นต้นทุนขององค์กร ประมาณ 15,000+(โบนัส 1/12) /18 วัน ~ 900 บาท ถึงตอนนี้น้องๆ วิศวกร ชักจะอึ้งๆ ผมถามต่อว่า แล้วหาเงิน หรือทำงานให้องค์กรคุ้มหรือยัง 900 บาทต่อวัน? ยังไม่จบหัวข้อสนทนาง่ายๆ ผมถามต่อว่า ค่าแอร์ที่บริษัทต้องจ่าย ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าแม่บ้าน ค่าที่จอดรถ ค่าที่วางโต๊ะให้วิศวกรนั่ง ค่าชา-กาแฟ ค่าเช่าออฟฟิต ฯลฯ ควรจะหารต่อหัวเป็นค่าใช้จ่ายใช่หรือไม่? ยังไม่รวมค่าประกันสังคมที่บริษัทต้องจ่ายสมทบไปอีก 1.5% ค่าเงินสะสมกองทุน โดยรวมแล้ว ต้นทุนต่อหัว วิศวกรเงินเดือน 15,000 บาท น่าจะประมาณ 2,000 บาทต่อวัน เล่นเอาวิศวกรไฟแรงผม อึงไปเลย ถึงตอนนี้ผมถามต่อว่า ถ้านายจ้าง จ้างให้มาทำงานเวลามีงาน ให้วันละ 2,000 บาท เอาไหม? ชักไม่แน่ใจว่าจะรับเงินเดือน 15,000 บาท หรือ วันละ 2,000 บาทดี เช่น วิศวกรจบพร้อมกันเป็นพนักงาน เงินเดือน 15,000 บาท แต่วิศวกร Contract 1 ปี เงินเดือน 30,000 บาท บางลักษณะงานผู้ว่าจ้างยินดีที่จะจ่ายแพง แต่ไม่ต้องคิดเป็นต้นทุนการบริหาร แต่กลายเป็นต้นทุนโครงการ ดังนั้น ผมจึงได้ด่วนสรุปไปว่า เมื่อคิดต้นทุนค่าแรงทำงานของวิศวกรต่อหัว เมื่อคิดจะรับงาน หรือเมื่อออกไปทำงาน หรือทำงานบริการใดๆ หรือนั่งซ่อมแซมอุปกรณ์ นั่งพิมพ์คอมพิวเตอร์ หรือวิศวกรออกแบบ จะต้องทำให้ได้งาน หรือทำเงินให้ได้มากกว่า 2,000 บาทต่อวัน (250 บาท/ชม.) จึงจะคุ้มค่าค่าแรงวิศวกร มิฉะนั้น ไปจ้างวิศวกรที่คิดค่าแรงถูกๆ รายวันที่มารับงานจากข้างนอก จะดีกว่า นั่นคือที่มาของการบริหารยุคใหม่ ที่นิยมการ Out sourcing เพราะมีหลายคน หรือหลายบริษัทฯ โดยเฉพาะบริษัทคนไทย คิดต้นทุนไม่เป็น หลงเข้าไปรับงานราคาถูก สิ้นปีจึงขาดทุน ผมเห็นวิศวกรรุ่นใหม่ๆ ที่ออกไปตั้งบริษัท ทำธุรกิจ แล้วขาดทุนค่าบริหาร (Over Head) ส่วนหนึ่งเกิดจากการคิดต้นทุนไม่ครบถ้วนและไม่รอบคอบนั่นเอง นี่ยังไม่รวมค่าน้ำมัน ค่าประกันชีวิต ค่าดอกเบี้ย ค่าเสื่อมราคาเครื่องมือที่วิศวกรใช้ ค่าโฆษณา ค่าใช้จ่ายส่วนกลาง ค่าใช้จ่ายแผนกบุคคล แผนกการเงิน….และอื่นๆอีกเยอะแยะที่ต้องหารเฉลี่ยลงไปที่ Profit Center หรือที่ วิศวกร |
========================================================