เรียบเรียงโดย: สุวัฒน์ ธเนศมณีกุล
คำว่า “Automation hierarchy” นั้นกล่าวถึงระดับของการควบคุมงานออโตเมชั่น พื้นที่ที่ใช้งาน ความสามารถในการทำงานและทิศทางการไหลของข้อมูล ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการจัดการข้อมูลที่ซับซ้อนของระบบออโตเมชัน ซึ่ง Automation hierarchy จะถูกแบ่งเป็น 5 ระดับชั้นด้วยกันดังนี้
ลำดับชั้นของการควบคุมระบบออโตเมชัน
ระดับที่ 1 : | Factory management level เป็นระดับที่สูงสุดโดยมีความสำคัญในการตัดสินใจเกี่ยวกับการวางแผนและความคุมการผลิต (Planning and Production Control : PPC) ซึ่งจำเป็นที่จะต้องนำข้อมูลจากทุกฝ่าย เช่น ฝ่ายขาย ฝ่ายบัญชี ฝ่ายต้นทุน ฝ่ายวัสดุ เป็นต้น มาทำการประมวลผลเพื่อการตัดสินใจ |
ระดับที่ 2 : | Coordinating level เป็นระดับที่มีหน้าที่รับคำสั่งมาจากระดับที่ 1 จากนั้นก็จะทำการแจกจ่ายงานไปยังหน่วยการผลิต (work cell) เช่น การสั่งงานไปที่หน่วยประกอบ (Assembly cell) หน่วยสโตร์ (Store cell) หน่วยการขึ้นรูป (Machine tool cell) จากนั้นก็จะมีการรายงานผลไปยังระดับที่ 1 เพื่อใช้ในการประมวลผลต่อไป |
ระดับที่ 3 : | System level เป็นระดับหน่วยการผลิต (Cell level) ซึ่งจะทำหน้าที่ดูแลหน่วยการผลิตนั้น ๆ ในทุก ๆ เรื่องอย่างเช่น การกำหนดขึ้นตอนการผลิตการซ่อมบำรุง (Maintenance) การวิเคราะห์งาน (Diagnostic) การควบคุมคุณภาพ |
ระดับที่ 4 : | Control level เป็นระดับของคอนโทรลเลอร์เช่น RC (Robotic Controller), CNC , PLC (Programmable logic Controller) |
ระดับที่ 5 : | Sensor actuator level เป็นระดับของอุปกรณ์ทำงานและเซนเซอร์ซึ่งเป็นระดับล่างสุด |
========================================================