Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 176,787
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 174,162
3 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 173,452
4 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,447
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,907
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 170,022
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,997
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 168,284
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 161,135
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,813
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,763
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,963
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 68,306
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,810
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 51,152
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 44,045
17 Industrial Provision co., ltd 39,842
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,791
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,705
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 35,033
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,967
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 32,314
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,730
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 31,459
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,969
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,960
27 P.D.S. Automation co.,ltd 23,340
28 AVERA CO., LTD. 23,096
29 เลิศบุศย์ 22,052
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,812
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,705
32 Electronics Source Co.,Ltd. 20,322
33 แมชชีนเทค 20,309
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,567
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,536
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 19,279
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,952
38 SAMWHA THAILAND 18,732
39 วอยก้า จำกัด 18,400
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,973
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,817
42 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,749
43 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,717
44 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,663
45 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,590
46 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,587
47 Systems integrator 17,148
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 17,089
49 Advanced Technology Equipment 16,924
50 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,887
06/10/2552 10:54 น. , อ่าน 42,472 ครั้ง
Bookmark and Share
การควบคุมอัตราการไหล
โดย : Admin

 โดย:  อ.วารุณี ศรีสงคราม  (waruneesri@hotmail.com)   
      มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล สุวรรณภูมิ    
 และ  Heavy Korat (yuttana_doktian@hotmail.com)

 

 

             Variable Displacement Axial Piston Pump  คือ ปั๊มไฮดรอลิกที่มีโครงสร้างแบบลูกสูบจัดวางเป็นแนวเดียวกับเพลาขับปั๊ม ซึ่งมีความสามารถปรับเปลี่ยนค่าอัตราไหลได้ ซึ่งปั๊มดังกล่าวมีอยู่ด้วยกัน  ประเภท คือ Bent Axis Piston Pump และ Swash plate Piston Pump โดยที่ทั้ง 2 ประเภทมีหลักในการปรับเปลี่ยนค่าอัตราการไหลที่เหมือนกัน  คือ  ปรับระยะชักของลูกสูบในการดูดน้ำมันไฮดรอลิก ดังรูปที่ 1 ซึ่งเป็นการปรับระยะชักลูกสูบของปั๊มแบบ  Bent Axis โดยปรับมุมเอียงระหว่างเพลาขับกับชุดกระบอกสูบถ้าค่ามุมเอียงมากระยะชักของลูกสูบก็มากตามไปด้วยทำให้อัตราการดูดและจ่ายน้ำมันออกมาก เช่นกัน 
 


รูปที่ 1 แสดงการปรับระยะชักลูกสูบของ  Bent Axis Piston pump



      ส่วนการปรับระยะชักลูกสูบของปั๊มแบบ  Swash Plate นั้น กระทำได้โดยการปรับมุมเอียงของแผ่นเอียงกับแกนเพลาขับนั้นเอง ซึ่งแสดงไว้ในรูปที่ 2 
 


  รูปที่ 2 แสดงการปรับระยะชักลูกสูบของ  Swash Plate Piston Pump

      จากรูปที่  2  จะพบว่าแผ่นเอียงจะทำงานได้ โดยการเคลื่อนที่ของชุด  Servo Cylinder หรือ Control Cylinder  ซึ่งวิธีการควบคุมให้ Servo Cylinderหรือ Control Cylinder เคลื่อนที่นั้นยังสามารถแบ่งได้อีก  5  แบบ  คือ
 
 

 1.  แบบใช้กลไก  (Mechanical  Controlled) 

รูปที่  3  แสดงวงจรควบคุมอัตราการไหลโดยใช้กลไกแบบมือหมุน 



   หลักการทำงาน : เมื่อหมุนมือหมุนจะทำให้ก้านสูบของ  Servo  Cylinder เคลื่อนที่ได้ ถ้าก้านสูบเลื่อนออกมาจะทำให้ค่ามุม α  ลดลง  มีผลทำให้อัตราการไหลของปั๊มลดลง 
 
2.   แบบใช้กลไกและความดันน้ำมัน  (Mechanical  and  Hydraulic  Controlled)


รูปที่  4  แสดงวงจรควบคุมอัตราการไหลแบบกลไกและน้ำมัน
 
 
หลักการทำงาน : ในสภาวะปกติน้ำมันถูกจ่ายออกมาจากปั๊มผ่านวาล์วกันกลับ (1)  เข้าไปยังด้านก้านสูบของ Servo  Cylinder  ทำให้ก้านสูบเลื่อนเข้ามีผลทำให้มุม  a  เอียงมากดังนั้นอัตราการไหลของน้ำมันไฮดรอลิกจึงจ่ายออกมาจากปั๊มเป็นจำนวนมากเมื่อโยกก้านโยกจากทิศทางตำแหน่ง  Max  ไปยังตำแหน่ง  0  ทำให้วาล์ว  3/2  เลื่อนลง  มีผลทำให้น้ำมันที่เคยไหลไปยังด้านก้านสูบของ  Servo  Cylinder  ไหลไปรวมกับน้ำมันที่ไหลจากระบบโดยผ่านวาล์วกันกลับ  P  มารวมกันที่ทางเข้าของงวาล์ว  3/2  จากนั้นไหลผ่านวาล์วดังกล่าวไปยังด้านหัวลูกสูบของ  Servo  Cylinder  ทำให้ก้านสูบเลื่อนออกมาทำให้ค่ามุม  a  ลดลงมีผลทำให้อัตราการไหลของปั๊มลดลง
 
 
3.   แบบใช้ไฟฟ้า  (Electrical  Motor  Control)

รูปที่  5  แสดงวงจรควบคุมอัตราการไหลแบบใช้ไฟฟ้า
หลักการทำงาน : เมื่อจ่ายไฟฟ้าเข้ามอเตอร์จะทำให้มอเตอร์หมุน  มีผลต่อการเคลื่อนที่ของก้านสูบใน  Servo  Cylinder  ถ้าก้านสูบเลื่อนออกค่ามุม  a  จะลดลงอัตราการไหลจะถูกปรับให้น้อยลง  ถ้าก้านสูบเลื่อนเข้าค่ามุม  a  จะเพิ่มขึ้นอัตราการไหลจะถูกปรับให้มากขึ้นตามลำดับ
 
 
4.  แบบใช้ไฟฟ้าและความดันน้ำมัน  (Electrical  and  Hydraulic  Controlled)

รูปที่  6  แสดงวงจรควบคุมอัตราการไหลแบบไฟฟ้าและน้ำมัน
 
หลักการทำงาน : เมื่อยังไม่มีการจ่ายไฟฟ้าเข้าไปยัง  Control  Valve  4/3  ทำให้วาล์วดังกล่าวอยู่ในตำแหน่งกลาง  ดังนั้นลูกสูบของ  Servo  Cylinder  จะหยุดในตำแหน่งใด ๆ ก็ได้ ในที่นี้จะกำหนดอยู่ในตำแหน่งกลาง  ซึ่งมีผลทำให้ค่ามุม  a  อยู่ระหว่างกลางเช่นกัน  ดังนั้นอัตราการไหลจึงมีปริมาตรไม่มากที่สุดหรือน้อยที่สุด    เมื่อจ่ายไฟฟ้าเข้าไปยัง  Control  Valve  ด้านโซลินอยด์  a  มีผลทำให้วาล์วเลื่อนไปทางซ้ายมือ  ดังนั้นน้ำมันจากรู  P  จะไหลผ่าน  Control  Valve  ไปยัง  Servo  Cylinder  ด้านซ้ายมือด้วย  มีผลทำให้ก้านสูบเลื่อนไปทางขวามือ  มีผลทำให้ค่ามุม a  มีค่าเพิ่มมากขึ้น  ถ้าเพิ่มค่าแรงดันไฟฟ้าเข้าไปที่โซลินอยด์  a  เพิ่มขึ้น  Control  Valve  ก็จะเลื่อนไปทางซ้ายมือมากขึ้นมีผลทำให้ก้านสูบเลื่อนไปทางขวามือมากขึ้นค่ามุม  a  ก็จะเพิ่มมากขึ้นอีกทำให้ค่าอัตราการไหลของน้ำมันไฮดรอที่ออกมาจากปั๊มมากขึ้นตามลำดับ  เมื่อตัดไฟเข้าที่โซลินอยด์  D.C. Valve 4/3  จะอยู่ตำแหน่งกลาง  ดังนั้นก้านสูบจึงหยุดเคลื่อนที่มีผลทำให้อัตราการไหลขณะนี้คงที่  และในกรณีที่จ่ายไฟฟ้าเข้าไปยัง  Control  Valve  ด้านโซลินอยด์  b  มีผลที่ได้รับจะตรงข้ามกับการจ่ายไฟฟ้าเข้าโซลินอยด์ทางด้าน  a  คือเมื่อจ่ายค่าแรงดันไฟฟ้าเพิ่มขึ้น  Control  Valve  เลื่อนมากขึ้นก้านสูบเลื่อนไปทางซ้ายมือมากขึ้นค่ามุม  a  น้อยลง  ดังนั้นค่าอัตราการไหลของน้ำมันไฮดรอลิกที่ออกมาจากปั๊มจึงลดลงตามลำดับ
 


 5.  แบบใช้ความดันน้ำมัน  (Hydraulic  Controlled)   ซึ่งในแบบที่  5  นี้ยังแบ่งออกเป็น  4  ชนิด คือ

        5.1    ชนิดควบคุมความดัน  (Pressure  Control)
 
 

รูปที่  7  แสดงวงจรควบคุมอัตราการไหลแบบ  Pressure  Control

 หลักการทำงาน : ในสภาวะปกติน้ำมันจะไหลออกมาปั๊มไปยัง  Servo  Cylinder  ด้านก้านสูบมีผลทำให้ด้านสูบเลื่อนเข้าจึงทำให้ค่ามุม  a  มากขึ้นอัตราการไหลจึงมีค่าปริมาณมากขึ้น  น้ำมันส่วนหนึ่งที่ไหลจากปั๊มจะพยายามไปดันให้  Control  Valve 3/2 เลื่อนไปทางขวามือและอีกส่วนหนึ่งไปรออยู่ที่รูป  P  ของ  Control  Valve  เมื่อความดันในระบบไฮดรอลิกสูงขึ้น  ซึ่งเป็นผลมาจากอุปกรณ์ทำงานรับภาระเพิ่มมากขึ้นหรือหยุดการเคลื่อนที่ แรงเนื่องจากความดันของน้ำมันที่ไปดัน  Control  Valve  จะชนะแรงกดของสปริงทำให้  Control Valve  เลื่อนไปทางขวามือ  น้ำมันที่จะไหลผ่าน  Control  Valve  ไปยัง  Servo  Cylinder  ด้านหัวลูกสูบทำให้ก้านสูบเลื่อนออกมาทำให้ค่าของมุม a  จะลดลงทำให้ค่าอัตราการไหลจากปั๊มลดลง  เมื่ออุปกรณ์ทำงานรับภาระน้อยลงหรือมีการเคลื่อนที่หรือมีการรั่วซึ่งทำให้ความดันในระบบไฮดรอลิกน้อยลงไปด้วย  ดังนั้นแรงเนื่องจากความดันของน้ำมันที่ไปดัน  Control  Valve  จะมีค่าน้อยกว่าแรงต้านของสปริง  Control  Valve  จะเลื่อนไปทางซ้ายมือเป็นผลทำให้น้ำมันบริเวณหัวลูกสูบของ  Servo  Cylinder  ระบายผ่าน  Control  Valve  ทิ้งลงถังพักและเป็นจังหวะเดียวกับที่น้ำมันจากปั๊มไหลไปยังก้านสูบของ  Servo  Cylinder  ทำให้ก้านสูบเลื่อนเข้าส่งผลให้ค่ามุม  a  เพิ่มมากขึ้นอัตราการไหลของน้ำมันที่ส่งไปยังอุปกรณ์ทำงานจึงเพิ่มมากขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับความเร็วในการเคลื่อนที่หรือชดเชยการรั่วของน้ำมันเพื่อให้มีความดันคงที่

 

  5.2    ชนิดควบคุมช่องทางการไหล  (Flow  Control)


รูปที่  8  แสดงวงจรควบคุมอัตราการไหลแบบ  Flow  Control


 

 

ข้อกำหนดเบื้องต้น : การปรับตั้งFlow Control Valve เปรียบเสมือนการเปิด DC. Valve ให้  กว้างขึ้น หรือ การเปิด DC. Valve หลาย ๆ ตัว

หลักการทำงาน : ในสภาวะปกติน้ำมันไหลออกจากปั๊มไปยังด้านก้านสูบของ  Servo  Cylinder  ทำให้ก้านสูบเลื่อนเข้ามีผลทำให้ค่ามุม  a  มากขึ้นทำให้ค่าอัตราการไหลจากปั๊มมีปริมาณมาก  น้ำมันบางส่วนที่ไหลจากปั๊มจะพยายามไปดันให้  Control  Valve  3/2  เลื่อนไปทางขวามือและอีกส่วนหนึ่งไปอยู่ที่รู  P  ของ  Control  Valve  น้ำมันส่วนดังกล่าวข้างต้นเป็นน้ำมันที่ใช้ควบคุมการทำงานของ  Servo  Cylinder   ส่วนอัตราการไหลน้ำมันหลักจะไหลผ่าน  Flow  Control  Valve  (F) 

ไปสู่อุปกรณ์ทำงาน  เมื่อเราต้องการปรับลดอัตราการไหลของปั๊มกระทำได้ด้วยปรับ  Flow  Control  Valve  ให้มีช่องทางการไหลของน้ำมันแคบลง  ดังนั้นน้ำมันบริเวณระหว่าง  Flow  Control  Valve  และด้านจ่ายของปั๊มจะไหลไม่สะดวกความดันบริเวณดังกล่าวจึงมีค่าเพิ่มขึ้น  จึงทำให้น้ำมันส่วนที่ไปดัน  Control  Valve  3/2  มีแรงมากพอที่จะดัน  Control  Valve  ให้เลื่อนไปทางขวา  ดังนั้นน้ำมันจะไหลผ่าน  Control  Valve  เข้าไปยังด้านหัวลูกสูบของ  Servo  Cylinder  ทำให้ก้านสูบเลื่อนออกมีผลทำให้ค่ามุม  a  ลดลงอัตราการไหลที่ออกจากปั๊มมีปริมาณลดลงด้วยถ้าปรับ  Flow  Control  Valve  ให้มีช่องทางการไหลน้ำมันแคบเท่าใด  ความดันที่จะไปดันControl  Valve  3/2  ให้เลื่อนไปทางขวามากขึ้นเท่านั้น  น้ำมันที่ไหลไปดันให้ก้านสูบเลื่อนออกจะมากขึ้นตามไปด้วย  ดังนั้นค่ามุม  a  และอัตราการไหลก็จะลดลงตามลำดับ  ถ้าต้องการปรับเพิ่มอัตราการไหลกระทำโดยปรับที่  Flow  Control  Valve  ให้มีช่องทางการไหลของน้ำมันกว้างขึ้น  ดังนั้นความดันที่จะไปดันทางด้านหัวลูกสูบ  Servo  Cylinder  จะมีค่าน้อยลงแต่ความดันด้านก้านสูบจะมีค่ามากกว่าก้านสูบจะเลื่อนเข้าอัตราการไหลจะเพื่มขึ้น  ซึ่งอัตราการไหลที่ผ่าน  Flow  Control  Valve  ไปยังอุปกรณ์ทำงานให้เคลื่อนนั้นเป็นอัตราการไหลเริ่มต้นหลังจากปรับ  Flow  Control  Valve  เมื่ออุปกรณ์ทำงานมีภาระมากขึ้นหรือหยุดการเคลื่อนที่ทำให้ความดันในระบบสูงขึ้นความดันที่ไป  Control  Valve  มีค่ามากขึ้นจึงสามารถดัน  Control  Valve  ไปทางขวาได้มากขึ้นน้ำมันจึงไหลไปดันให้ก้านสูบเลื่อนออกมามากขึ้นค่ามุม  a  ลดลงค่าอัตราการไหลจากปั๊มมีปริมาณลดลงเมื่ออุปกรณ์ทำงานมีการเคลื่อนที่ความดันในระบบลดลงความดันที่ไปกด  Flow  Control  Valve  น้อยลง  น้ำมันที่ผ่านไปดันหัวลูกสูบน้อยลงแต่เข้าไปดันก้านสูบของ  Servo  Cylinder  มากกว่า  จึงทำให้ก้านสูบเลื่อนเข้าค่ามุม  a  เพิ่มมากขึ้นทำให้ค่าอัตราการไหลจากปั๊มมีปริมาณมากขึ้นอีกครั้ง

 

    5.3    ชนิดควบคุมความดันและช่องทางการไหล  (Pressure  and Flow Control)


รูปที่  9  แสดงวงจรการควบคุมอัตราการไหลแบบ  Pressure  and  flow  Control

หลักการทำงาน : ชนิดควบคุมนี้เป็นการนำชนิดที่  5.1  และ  5.2  มารวมกัน  ซึ่งหลักการทำงานในการควบคุมอัตราการไหลโดยใช้การควบคุมช่องทางการไหลของน้ำมันเป็นไปดังแบบ  5.1  เมื่อปรับ  Flow  Control  Valve  ให้ช่องการไหลแคบลงความดันระหว่าง  Flow  Control  Valve  และด้านจ่ายของปั๊มมากขึ้น  Control  Valve  3/2  ตัวบนเลื่อนเปิดน้ำมันไปยังหัวลูกสูบ  Servo  Cylinder  มากขึ้นก้านสูบเลื่อนออกมาปรับค่ามุม α  และอัตราการไหลเริ่มต้นให้ลดลง  และถ้าต้องการให้อัตราการไหลเริ่มต้นเพิ่มขึ้นกระทำโดยการเปิด  Flow  Control  Valve  ให้กว้างมากขึ้น  เมื่ออุปกรณ์ทำงานรับภาระมากขึ้นมีผลทำให้ระบบมี

 ความดันมากขึ้น  ทำให้น้ำมันจะไปดันให้  Control  Valve  3/2  ตัวบนเลื่อนไปทางขวามากขึ้น  ซึ่งจะมีแนวโน้มทำให้อัตราการไหลของปั๊มลดลง  และจะให้ความเร็วของอุปกรณ์ทำงานลดลงตามกันด้วยแต่การควบคุมของปั๊มชนิดสามารถทำให้อัตราการไหลและความเร็วคงที่ได้โดยการต่อสายสัญญาณ  Load  Sensing  เข้ามาที่รูป  X  และไปช่วยสปริงต้านการเคลื่อนที่มาทางขวาของ  Control  Valve  3/2  ตัวบน  ด้วยเหตุนี้เมื่ออุปกรณ์ทำงานมีภาระมากขึ้น  Control  Valve  3/2  ตัวบนจะไม่เลื่อนไปทางขวามากขึ้น  ดังนั้นอัตราการไหลและความเร็วจะยังคงที่อยู่  เมื่ออุปกรณ์ทำงานหยุดการเคลื่อนที่  ความดันในระบบสูงขึ้นทำให้น้ำมันไปดันให้  Control  Valve  3/2  ทั้ง  2  ตัวเลื่อนไปทางขวามือจนสุด  ดังนั้นน้ำมันจะไหลผ่าน  Control  Valve  3/2  ไปยังหัวลูกสูบของ  Control  Cylinder  ทำให้ก้านสูบเลื่อนออกมาปรับมุม  α  ให้ลดลง  ดังนั้นอัตราการไหลจากปั๊มจะลดลงต่ำสุดเพื่อสอดคล้องกับสภาวะที่อุปกรณ์ทำงานหยุดการเคลื่อนที่  และเมื่ออุปกรณ์ทำงานมีการเคลื่อนที่ทำให้ระบบมีความดันลดลงทำให้สปริงของ  Control  Valve  3/2  ตัวล่างดันวาล์วดังกล่าวเลื่อนไปทางซ้ายมือ  ดังนั้นน้ำมันบริเวณหัวลูกสูบของ  Control  Cylinder  สามารถระบายทิ้งไปได้  นอกจากนี้  Spring  ของ  Control  Cylinder  ตัวล่างจะดันให้มุมของ  Swash  Plate  เพิ่มมากขึ้นทำให้ปั๊มจ่ายอัตราการไหลเพิ่มขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะการทำงานของอุปกรณ์ทำงาน


 5.4    ชนิดการควบคุมกำลังไฮดรอลิกคงที่  (Constant  Hydraulic  Power  Control)


รูปที่  10  แสดงวงจรควบคุมอัตราการไหลแบบ  Constant  Hydraulic Power  Control

หลักการทำงาน :  ในสภาวะปกติน้ำมันไหลจากปั๊มไปยังด้านก้านสูบของ  Servo  Cylinder  ดันให้ก้านสูบเลื่อนเข้าค่ามุม  a  เพิ่มขึ้นทำให้อัตราการไหลมีปริมาณมาก  เมื่ออุปกรณ์ทำงานรับภาระเพิ่มขึ้น  ค่าความดันในระบบเพิ่มมากขึ้นน้ำมันที่เข้าไปด้านก้านสูบและห้องว่างภายในลูกสูบมากขึ้นจนทำให้สามารถยกแกนกด  Control  Valve  3/2  ให้เลื่อนขึ้นไปด้านบนได้  มีผลทำให้น้ำมันจากปั๊มบางส่วนไหลผ่าน  Control  Valve  ไปยังด้านหัวลูกสูบทำให้ด้านสูบเลื่อนออกมามีผลให้ค่ามุม  a  และอัตราการไหลมีปริมาณลดลง  จากกราฟจะเห็นว่าค่าอัตราการไหลจะค่อย ๆ ลดลงขณะที่ค่าความดันค่อย ๆ เพิ่มขึ้น 

 ถ้าคำนวณพื้นที่ใต้กราฟจะพบว่ากำลังไฮดรอลิกจะคงที่ตลอด  ขณะทำการปรับอัตราการไหลเมื่ออุปกรณ์ทำงานมีภาระน้อยลง  ความดันของน้ำมันที่ดันแกนกด  Control  Valve  จะลดลงตามไปด้วย  ดังนั้นสปริงของ  Control  Valve  จะดัน  Valve  เลื่อนลงมาเปิดทางให้น้ำมันบริเวณหัวลูกสูบของ  Servo  Cylinder  ระบายลงถังน้ำมันจากปั๊มบางส่วนจะดันก้านสูบให้เลื่อนเข้าทำให้ค่ามุม  a  และค่าอัตราการไหลมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นอีกครั้ง

 

 

  5.5    ชนิดแบบรวมการควบคุม  ความดันการควบคุมอัตราการไหลและ การควบคุมกำลังคงที่


 รูปที่  11  แสดงวงจรการควบคุมแบบรวม
 จากการควบคุมแบบ  5.4  จะพบว่าไม่สามารถตั้งค่าอัตราการไหลเริ่มต้นได้ดังนั้นเพื่อตอบสนองการควบคุมแบบ  5.4  จึงได้นำเอาวงจรของการควบคุมแบบ  5.3  มาติดตั้ง  วาล์วระบายความดัน  ซึ่งในที่นี้ทำหน้าที่เป็น  Constant  Power  Valve  ดังรูปที่  11  โดยที่หลักการทำงานและปรับตั้งอัตราการไหลเริ่มต้นนั้นเหมือนกับการควบคุมแบบข้อ  5.3  สวนการปรับอัตราการไหลให้ลดลงขณะเมื่อมีภาระสูงขึ้นนั้นมีหลักการทำงานดังนี้  เมื่อระบบมีความดันสูงขึ้นจนสามารถชนะแรงดันสปริงของ  Control  Valve  3/2  ตัวบนได้     โดยปกติ  Valve  ตัวบนตั้งค่าความดันไว้ต่ำกว่าตัวล่างทำให้น้ำมันไหลผ่าน  Control  Valve  ตัวบนมายังห้องหัวลูกสูบของ  Control  Cylinder  ทำให้ก้านสูบเลื่อนออกปรับมุม  a  ของ  Swash  plate  เป็นการเริ่มต้นลดอัตราการไหล  และเมื่อพิจารณา ขณะอัตราการไหลลดลงมาจะมีผลทำให้ความดันของระบบเพิ่มขึ้นเนื่องจากก้านสูบของ  Control  Cylinder  เลื่อนไปกดสปริงของ  Constant  Power  Valve  และเมื่อความดันในระบบสูงขึ้นจนสามารถชนะแรงดันสปริงของ  Control  Valve  3/2  ข้างล่างได้ทำให้อัตราการไหลลดลงอย่างช้า ๆ โดยพิจารณาความชันของการลดอัตราการไหลช่วงที่  2  จะมีความชันน้อยกว่า  แต่ถึงอย่างไรความดันก็จะเพิ่มขึ้นขณะอัตราการไหลลดลง  และถ้าพิจารณาพื้นที่ใต้กราฟบนทุก ๆ จุดบนเส้นกราฟที่ได้ค่าจากpคูณกับ  Q  ได้ค่ากำลังไฮดรอลิกคงที่ตลอด

  ในกรณีที่อุปกรณ์ทำงานหยุดการเคลื่อนที่ความดันในระบบจะถึงจุดสูงสุด  ซึ่งมีค่าเท่ากับความดันที่  Constant  Power  Valve  น้ำมันจากปั๊มจะระบายผ่านวาล์วดังกล่าวทิ้งลงถัง  และเมื่ออุปกรณ์ทำงานเริ่มมีการเคลื่อนที่ความดันในระบบจะต่ำลงทำให้สปริงของ  Control   Valve  3/2  ดัน  วาล์วดังกล่าวไปทางซ้ายมีผลทำให้ก้านสูบของ  Control  Cylinder  ตัวบนเลื่อนกลับมาทำให้อัตราการไหลเพิ่มขึ้นเพื่อตอบสนองการเคลื่อนที่ดังกล่าวได้อีกครั้ง

 สรุป :  ปั๊มแบบ  Axial  Piston  ที่สามารถปรับอัตราการไหลได้มีอยู่ด้วยกัน  2  ประเภท  คือ  Bent  Axis  และ  Swash  Plate  แต่ในบทความนี้นำเสนอแบบ  Swash  Plate  ซึ่งมีกลไกคือ Servo Cylinder หรือ Control  Cylinder  เป็นตัวปรับแผ่นเอียงซึ่งมีผลต่อระยะชักของลูกสูบและอัตราการไหลตามลำดับโดยที่วิธีการควบคุม  Control  Cylinder  มีอยู่  5  วิธีคือ   

 

1  แบบกลไก
2 แบบกลไก และความดันน้ำมัน
3 แบบใช้ไฟฟ้า
4  แบบใช้ไฟฟ้าและความดันน้ำมัน
5  แบบใช้ความดันน้ำมัน


 

   



เอกสารอ้างอิง
 MANNESMANN REXROTH , Variable Displacement Pump Data Sheet .
 MANNESMANN REXROTH ,  Hydraulic Training – Axial Piston Unit   
 MANNESMANN REXROTH , Hydraulik Trainer apply.


ขอขอบคุณทุกๆที่มาของแหล่งข้อมูล
 

 

========================================================

 

 

 

21 November 2024
:: MEMBER LOGIN
E-mail Account
Password
:: OUR SPONSORS
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD