06/10/2552 10:53 น. ,
อ่าน 20,429 ครั้ง
ประวัติความเป็นมาของนิวแมติก
โดย : Admin
โดย: สิริวัฒน์ ไวยนิตย์
|
คำว่า “PNEUMA” นั้นเป็นคำมาจากภาษากรีซโบราณ มีความหมายว่า ลม หรือ ลมหายใจ ในทางปรัชญาจะหมายความว่า วิญญาณ ส่วนคำว่า “PNEUMATICS” นั้นแผลงมาจากคำว่า PNEUMA นั้นเอง (หมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของอากาศ และเกิดลม)
สำหรับในปัจจุบันนี้ความหมายของคำว่า “PNEUMATIC” ที่เราส่วนมากเข้าใจกันก็คือ การนำเอาอากาศมาเป็นวัสดุใช้งานในทางอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านการขับเคลื่อน หรือควบคุมเครื่องจักร และอุปกรณ์เครื่องช่วยต่าง ๆ ส่วนวิศวกรที่ทำงานด้านนี้ได้ให้ความหมายคำว่า “นิวแมติก” ไว้ว่า หมายถึง ระบบการส่งกำลังจากต้นทางไปยังปลายทางโดยอาศัยลมเป็นตัวกลางในการส่งกำลัง และควบคุมการทำงานด้วยระบบลม |
ประวัติความเป็นมาของนิวแมติก
อากาศที่อัดตัวจนมีแรงดันสูง (Compressed air) เป็นพลังงานรูปหนึ่งที่มนุษย์ได้นำเอามาดัดแปลงใช้งาน โดยนำเอาคุณสมบัติทางฟิสิกซ์ที่เปลี่ยนแปลง เมื่อมีแรงดันเพิ่มขึ้นมาใช้ให้เป็นประโยชน์นำมาใช้กับงานต่างๆ มากมาย |
|
การนำเอาอากาศมาเป็นวัสดุใช้งานนั้น มนุษย์ได้รู้จักทำมาเป็นพันๆ ปีแล้ว แต่ลักษณะการนำไปใช้งานก็แตกต่างกันออกไป ในสมัยโบราณเราเร่งให้ไพติดได้เร็วด้วยลมธรรมชาติ ในขณะที่ไม่มีลมธรรมชาติ เราก็ต้องสร้างลมขึ้นเองโดยใช้การพัด-โบก เมื่อเจริญขึ้นมากๆ ก็มีการคิดค้นปั้มโดยใช้เป็นคันโยก เพื่อลดการทำงานของมนุษย์ การนำเอาแรงลมมาใช้ให้เป็นประโยชน์มีอีกมากมายที่จะยกตัวอย่าง เช่น การใช้แรงลมไปขับพาเรือให้เคลื่อนที่ไป (เรือใบ) หรือ เอาแรงลมมาหมุนกังหัน และต่อเอากำลังที่เพลาของกังหันไปใช้งานในลักษณะต่างๆ กัน เช่น วิดน้ำ, สีข้าง, โม่แป้ง เป็นต้น |
เงาะป่าซาไก (sakai)
กับการใช้ลมดัดแปลงเป็นอาวุธ
|
ทางด้านอาวุธสงคราม ก็ได้มีการดัดแปลงเอาอากาศแรงดัน เพื่อมาทำเป็นอาวุธ เมื่อประมาณ 2000 ปี มาแล้วชาวกรีซได้นำเอามาดัดแปลงเป็นอาวุธ เรียกว่า KTESIBIOS (ไม้ซาง) |
ถึงแม้ว่าเราจะรู้จักกับ Pneumatics มาเป็นระยะเวลาอันยาวนานแล้วก็ตาม แต่การวิจัย และค้นคว้ากันอย่างจริงๆ จังๆ เพื่อนำมาใช้ในวงการอุตสาหกรรม เพิ่งจะเริ่มทำการค้นคว้ากันอย่างจริงจัง เมื่อต้นศตวรรษที่แล้วนี่เอง และตั้งแต่ปี ค.ศ. 1950 จึงสามารถที่จะกล่าวได้อย่างมั่นใจว่าได้นำเอาอากาศมาดัดแปลงใช้กับงานด้านอุตสาหกรรม ได้อย่างแท้จริง
ก่อนที่จะมีการค้นคว้าถึงการนำเอาอากาศแรงดันมาใช้กับงานด้านอุตสาหกรรมก็ได้มีการนำอากาศแรงดัน ไปดัดแปลงใช้กับงานบางอย่าง เช่น งานในเหมือง, งานก่อสร้าง, และในรถไฟ (ใช้อากาศแรงดันกับระบบเบรค) งานที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของอากาศแรงดันที่เราเห็นกันอยู่เสมอ คือใช้อากาศแรงดันมาเป่าทำความสะอาดในโรงงาน |
|
ขอขอบคุณทุกๆที่มาของแหล่งข้อมูล
|
|
========================================================