โดยแอดมิน : สุชิน เสือช้อย
บลีดเดอร์ รีซิสเตอร์ คืออะไร ?
คำว่า "Bleedder" หากใช้ในระบบฟลูอิด(ระบบของไหล) หรือ ในระบบไฮดรอลิกส์ ก็จะหมายถึงการไล่ลมและฟองอากาศออกจากระบบน้ำมันไฮดรอลิกส์
แต่ถ้าเป็นในระบบไฟฟ้า คำว่าบลีดเดอร์(Bleedder)นี้ก็จะหมายถึงตัวต้านทาน(resistor)ที่นำมาต่อขนานอยู่กับแคปปาซิเตอร์ หรือตัวต้านทานที่นำมาต่อขนานกับเอาท์พุตของวงจรจ่ายที่มีระดับแรงดันไฟสูงๆ
ส่วนหน้าที่หลักของตัวต้านทาน bleeder นี้ก็เพื่อช่วยในการคายประจุไฟฟ้าที่เก็บไว้ในตัวเก็บประจุในช่วงที่ อุปกรณ์มีปิดสวิตซ์หรือหยุดใช้งาน
*** ส่วนหน้าที่ของตัวเก็บประจุ โดยทั่วไปก็จะทำหน้าที่เป็นตัวกรองแรงดันไฟฟ้าของแหล่งจ่าย หรือไม่ก็ทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์สำหรับปรับปรุงค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ในอุกปกรณ์บางประเภทเช่นในระบบส่องสว่างแบบ High Pressure Sodium Lamps เป็นต้น
รับชมคลิปอธิบาย....
ส่วนวัตถุที่มีการต่อตัวต้านทาน Bleeder นี้เข้าไปในวงจร ก็ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย เพราะถ้าไม่มีตัวต้านทานต่อขนาน การคายประจุที่สะสมในแคปปาซิเตอร์จะใช้เวลานาน ดังนั้นมีคนไปสัมผัสในส่วนของวงจร โดยไม่ได้ตั้งใจระหว่างการให้บริการหรือเซอร์วิสอุปกรณ์ หลังจากปิดสวิตซ์แล้ว ก็อาจทำให้มีโอกาสถูกกระแสไฟฟ้าช็อตได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องต่อตัวต้านทาน bleeder ขนานไว้ เพื่อทำการดิสชาร์จหรือช่วยคายประจุที่สะสมอยู่ตัวเก็บประจุเพื่อความปลอดภัย
ตัวอย่างการใช้ Bleeder resistor ต่อขนานกับแคปปาซิเตอร์
อีกหนึ่งตัวอย่างในวงจรอิเลคทรอนิกส์ (แผงวจรของไม้ตียุงไฟฟ้า) ที่ใชัตัวต้านทาน ต่อขนานกับแคปปาซิเตอร์ ก่อนเข้าวงจรเรียงกระแส
จากรูปด้านบน : แคปปาซิเตอร์ที่ต่อกับไลน์ก่อนเข้าวงจรเรคติไฟเออร์หรือวงจรเรียงกระแส จะทำหน้าที่เป็นทำให้เกิดเป็นค่ารีแอกแตนซ์ ที่มีผลกับการต้านทานการไหลของกระแสโดยไม่ทำให้เกิดการสูญเสียของพลังงานไฟฟ้าเป็นความร้อนเหมือนระบบที่ใช้หม้อแปลง ซึ่งเป็นการประยุกต์ใช้งานในวงจรที่เรียกว่า Transformerless power supply โดยที่ไม่ต้องมีหม้อแปลงมาลดแรงดัน
ส่วนตัวต้านทานที่ต่อขนานกับแคปฯ ก็จะทำหน้าที่เป็น bleeder resistor .
การดิสชาร์จ แคปปาซิเตอร์