Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 177,422
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 174,668
3 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 174,010
4 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,948
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 171,410
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 170,459
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 169,450
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 168,809
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 161,891
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 159,307
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 159,196
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 158,410
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 68,873
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 63,628
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 51,656
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 44,491
17 Industrial Provision co., ltd 40,573
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 39,212
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 37,161
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 35,481
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 34,395
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 32,732
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 32,159
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 31,962
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 28,384
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 27,402
27 P.D.S. Automation co.,ltd 23,788
28 AVERA CO., LTD. 23,510
29 เลิศบุศย์ 22,489
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 21,269
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 21,131
32 Electronics Source Co.,Ltd. 20,825
33 แมชชีนเทค 20,757
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,977
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,974
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 19,749
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 19,390
38 SAMWHA THAILAND 19,263
39 วอยก้า จำกัด 19,008
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 18,465
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 18,282
42 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 18,191
43 I-Mechanics Co.,Ltd. 18,158
44 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 18,152
45 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 18,031
46 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 18,016
47 Systems integrator 17,575
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 17,552
49 Advanced Technology Equipment 17,363
50 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 17,344
02/09/2565 07:35 น. , อ่าน 4,669 ครั้ง
Bookmark and Share
Load Cell
โดย : Admin

Load Cell - โหลดเซลล์ คืออะไร ?


ตัวอย่างโหลดเซลในรูปแบบต่างๆ

 
 

โหลดเซลล์(Load Cell)   คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ ทรานส์ซีดิวเซอร์ ชนิดหนึ่ง ที่ใช้หลักการเปลี่ยนแปลงของแรงทางกล เช่น แรงกด (Compression), แรงดึง (Force) หรือน้ำหนัก (Weight) ที่มากระทำต่อตัว Load Cell ให้เปลี่ยนแปลงออกมาในรูปแบบของสัญญาณทางไฟฟ้า (mV/V)



ชมคลิก ...ทฤษฏีที่เป็นหลักการพื้นฐานของโหลดเซลล์






โหลดเซลล์โดยทั่วไปได้ประมาณาเกือบ 80 % ถูกสร้างหรือพัฒนามาจากสเตรนเกจ  (Strain Gauge) ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นเซ็นเซอร์ที่จะตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของขนาด หรือความเครียดของวัสดุต่าง ๆ ที่ถูกออกแบบมาในรูปแบบของวงจร วิทสโตน บริดจ์ (Wheatstone Bridge) ซึ่งสามารถแปลงค่าแรงกดหรือแรงดึงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าได้



ประเภทของโหลดเซล

 Load Cell โดยทั่วไปนั้นจะมีอยู่ด้วยกันหลากหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทก็จะมีลักษณะของการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป   แต่พิจารณาตามลักษระใช้งานก็จะแยกออกเป็นสองประเภทหลักๆด้งนี้

 

1. Load Cell แบบใช้แรงกด (Compression Load Cell)

โหลดเซลประเภทนี้เป็นชนิดที่มีลักษณะการใช้งานตามชื่อที่เรียก คือเป็นโหลดเซลที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้วัดแรงที่กดลงไปบนตัวของโหลดเซล   ซึ่งสามารถแบ่งออกตามประเภทของการใช้งานย่อยได้อีก 6 ประเภท ดังนี้
 

 

1.1  Single Ended Shear Beam

โหลดเซลชนิดโดยทั่วไปจะเรียกย่อๆว่า Shear Beam โดยจะเป็นโหลดเซลที่มีการใช้งานในลักษณะที่ใช้ปลายด้านหนึ่งยึดเข้ากับฐาน  และนำถังวางลงบนปลายอีกด้านหนึ่งเพื่อวัดแรงกด   การใช้งานมักนิยมนำมาใช้ในการชั่งน้ำหนักในถัง เช่น การชั่งน้ำหนักหินหรือทรายในถังก่อนปล่อยลงไปผสมกับซิเมนต์และน้ำในแพลนคอนกรีตผสมเสร็จ ที่มีขนาดของน้ำหนักตั้งแต่ 250 กิโลกรัม ไปจนถึง 10 ตัน


 

1.2 Double Ended Shear Beam

เป็นโหลดเซลที่เหมือนกับการนำเอา Single Ended Shear Beam จำนวน 2 ตัว มารวมกัน จึงทำให้โหลดเซล ประเภทนี้ มีจำนวนของ Strain Gauge ที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ได้ค่าความละเอียดของแรงที่ถูกกระทำหรือน้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย




ส่วนของการใช้งานนั้นก็สามารถทำได้โดยการยึดปลายทั้งสองข้างด้วยสกรูติดกับฐาน จากนั้นนำถังมาวางตรงกลาง โดยมีลูกบอลและเบ้ายึดติดอยู่กับถังและ Load Cell เพื่อให้ถังสามารถขยับได้ แต่ถังจะไม่หลุดหล่นลงไปด้านล่าง นิยมนำมาใช้ในงานชั่งที่มีน้ำหนักมาก ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะใช้ชั่งถังหรือไซโลที่มีขนาดใหญ่ โดยการติดตั้งเอาไว้ที่ขาของถังหรือไซโล ที่มีขนาดของน้ำหนักตั้งแต่ 10 ตัน ไปจนถึง 50 ตัน

 

 

1.3 Single Point

เป็นโหลดเซลชนิดที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้กับแพลตฟอร์มที่มีขนาดเล็ก นิยมนำมาใช้กับงานชั่งที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 1 ตัน โดยใช้โหลดเซลเพียงตัวเดียวในการยึดเข้าไปที่จุดศูนย์กลางของแพลตฟอร์ม ที่มีขนาดของน้ำหนักตั้งแต่ 2 กิโลกรัม ไปจนถึง 800 กิโลกรัม

 

 1.4  Bending Beam

เป็นโหลดเซลที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในการแปลงแรงบิดที่กดที่ปลายด้านหนึ่งและปลายอีกด้านที่ยึดติดกับฐาน ที่มีลักษณะคล้ายสปริง โดยโหลดเซลประเภทนี้จะให้สัญญาณได้ดีที่ขนาดแรงกดไม่มาก โดยเริ่มตั้งแต่ 25 กิโลกรัม ไปจนถึง 500 กิโลกรัม

 

 1.5 Pancake

ที่มาของชื่อโหลดเซลชนิดก็เนื่องจากมีรูปร่างลักษณะที่คล้ายกับขนมแพนเค้ก โดยมันเป็นโหลดเซลที่สามารถนำมาใช้ได้กับแรงกดและแรงดึงที่มีค่าความแม่นยำสูง เนื่องจากมีจำนวนของ Stain Gauge ที่มากกว่าโหลดเซลชนิดอื่นๆ  โดยค่า Linearity และ Hysteresis จะอยู่ในระดับ 0.05% จึงทำให้ประเภทนี้นิยมนำมาใช้กับงานเครื่องทดสอบแรงกดหรือแรงดึง ที่มีขนาดตั้งแต่ 500 กิโลกรัม ถึง 500 ตัน
 

 

 

 1.6 Canister

เป็นโหลดเซลที่มีรูปร่างคล้ายกระป๋อง ซึ่งเป็นโหลดเซลอีกชนิดหนึ่งที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในการรับแรงกด ค่าที่ได้นั้นยังมีความแม่นยำสูง เนื่องจากค่า Linearity และ Hysteresis อยู่ในระดับ 0.05%

โดยทั่วไปนิยมนำมาใช้กับเครื่องชั่งทั่วไปที่ต้องการความแม่นยำสูง และเครื่องชั่งรถบรรทุก ที่มีขนาดตั้งแต่ 200 กิโลกรัม ไปจนถึง 20 ตัน โดยที่แรงดึงนั้นต้องมีขนาดตั้งแต่ 500 กิโลกรัม ไปจนถึง 500 ตัน

 

 

2.  โหลดเซลแบบใช้แรงดึง (Force Load Cell)


โหลดเซลชนิดนี้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้แรงในการดึงตัวของโหลดเซลออกจากกัน โดยโหลดเซลประเภทนี้ จะมีชื่อเรียกว่า S Beam ซึ่งเป็นโหลดเซลที่มีการใช้งานโดยยึดด้านบนกับโครงสร้าง โดยอาศัยลูกปืนแบบตาเหลือก (Rod End) ที่อยู่ในส่วนของด้านล่างเอาไว้ใช้แขวนถังที่เราต้องการชั่ง โดยเมื่ออุปกรณ์เริ่มต้นทำงาน มันจะทำการแกว่งตัวถังเล็กน้อยแต่จะไม่มีผลกับการอ่านค่าใด ๆ โดยขนาดของน้ำหนักที่สามารถอ่านค่าไดจะเริ่มตั้งแต่ 2 กิโลกรัม ไปจนถึง 5 ตัน

 

 

 
ขอบคุณภาพประกอบจากกลูเกิล
cr: gloofle.com /wikipedia.org/changfi.com/primusthai.com

========================================================

 

 

 

14 May 2025
:: MEMBER LOGIN
E-mail Account
Password
:: OUR SPONSORS
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD