ไอซีเบอร์ IC 555 คืออะไร
ไอซีเบอร์ 555 (IC 555) เป็นไอซีวงจรรวม ที่เรียกกันทั่วไปว่าชิป เป็นไอซีที่เป็นรู้จักกันดีในบรรดานักอิเล็กทรอนิกส์ ไอซีตัวนี้ได้รับการออกแบบและประดิษฐ์โดยนักออกแบบชิปที่มีชื่อเสียง ชื่อนั่นคือนายฮันส์ อาร์ คาเมนซินด์ (Hans R. Camenzind) โดยเริ่มออกแบบเมื่อ พ.ศ. 2513 และแนะนำผลิตภัณฑ์ในปีถัดมา โดยบริษัทซิกเนติกส์ คอร์ปอเรชัน (Signetics Corporation) มีหมายเลขรุ่น SE555/NE555 และเรียกชื่อว่า "The IC Time Machine" มีการใช้อย่างกว้างขวาง ทั้งนี้เพราะสามารถใช้งานง่าย ราคาถูก มีเสถียรภาพที่ดี ในปัจจุบันนี้ บริษัทซัมซุงของเกาหลี สามารถผลิตได้ปีละกว่า 1 พันล้านตัว (ข้อมูล พ.ศ. 2546)
ไอซีไทเมอร์ 555 นับเป็นวงจรรวมที่สามารถใช้งานได้หลากหลายและเป็นที่นิยมมากที่สุดตัวหนึ่งเท่าที่เคยผลิตมา ภายในตัวประกอบด้วยทรานซิสเตอร์ 23 ตัว, ไดโอด 2 ตัว และรีซิสเตอร์อีก 16 ตัว เรียงกันบนชิปซิลิกอนแผ่นเดียว โดยติดตั้งในตัวถัง 8 ขา แบบมินิ DIP (dual-in-line package)
นอกจากนี้ยังมีการผลิตไอซี 556 ซึ่งเป็น DIP แบบ 14 ขา โดยอาศัยการรวมไอซี 555 จำนวน 2 ตัวบนชิปตัวเดียว ขณะที่ 558 เป็นไอซีอีกตัวหนึ่งที่พัฒนาขึ้นจาก 555 เป็น DIP แบบ 16 ขา (quad) โดยรวมเอา 555 จำนวน 4 ตัว (โดยมีการปรับแต่งเล็กน้อย) มาไว้บนชิปตัวเดียว (DIS และ THR มีการเชื่อมต่อกันภายใน ส่วน TR นั้นมีค่าความไวที่ขอบแทนที่จะเป็นความไวทั้งระดับ) นอกจากนี้ยังมีรุ่นกำลังต่ำพิเศษ (ultra-low power) ของไอซี 555 นั่นคือ เบอร์ 7555 สำหรับไอซี 7555 นี้จะมีการเดินสายที่แตกต่างไปเล็กน้อย ทั้งยังมีการใช้กำลังไฟที่น้อยกว่า และอุปกรณ์ภายนอกน้อยกว่าด้วย
VIDEO
ไอซี 555 มีโหมดการทำงาน 3 โหมด ดังนี้
- โมโนสเตเบิล (Monostable) ในโหมดนี้ การทำงานของ 555 จะเป็นแบบซิงเกิ้ลช็อต หรือวันช็อต (one-shot) โดยการสร้างสัญญาณครั้งเดียว ประยุกต์การใช้งานสำหรับการนับเวลา การตรวจสอบพัลส์ สวิตช์สัมผัส ฯลฯ
- อะสเตเบิล (Astable) ในโหมดนี้ การทำงานจะเป็นออสซิลเลเตอร์ การใช้งาน ได้แก่ ทำไฟกะพริบ, กำเนิดพัลส์, กำเนิดเสียง, เตือนภัย ฯลฯ
- ไบสเตเบิล (Bistable) ในโหมดนี้ ไอซี 555 สามารถทำงานเป็นฟลิปฟล็อป (flip-flop) ถ้าไม่ต่อขา DIS และไม่ใช้คาปาซิเตอร์ ใช้เป็นสวิตช์ bouncefree latched switches เป็นต้น
การใช้งานIC 555 Timer
IC 555 เป็นหนึ่งใน IC ที่มีการใช้งานมากที่สุดในโลก ได้รับการขนานนามว่า "The IC Time Machine" ซึ่งมีการนำไปใช้งานหลักๆดังนี้
• Pulse Generation
• Sequential Timing
• Time Delay Generation
• Pulse Position Modulation
• Linear Ramp Generator
*** IC 555 เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะที่มันสามารถสร้างสัญญาณนับเวลาได้อย่างแม่นยำ "Precision Timing"
ขาต่างๆและหลักการทำงานของ IC 555
ก่อนอื่นต้องทราบก่อนว่า IC 555 จะทำงานก็ต่อเมื่อมีการ Trig หรือถูกกระตุ้นนั่นเอง ซื่ง Trigger ของ IC ตัวนี้เป็นแบบ Active Low Trigger คือ จะกระตุ้นที่แรงดันหรือ Volt ต่ำ(ประมาณ 0 Volt - 1/3 Volts ของ Vinput)
เราสามารถนำ IC 555 ไปใช้งานได้โดยอาศัยการปล่อยสัญญาณพัลส์(Output) จากขาที่ 3 สัญญาณพัลส์จะแบ่งเป็นช่วง Low กับ High ด้วยเหตุนี้มันจึงสามารถใช้ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มาต่อกับขาที่ 3 นี้ได้อย่างมากมายเช่น ไฟกระพริบ ติดดับ ,การนับเวลา ,ควบคุมรีเลย์ และอื่นๆอีกมากมาย
หมายเลขขา
ชือ
ความหมาย
1
Ground
สายกราวด์ หรือจุดต่อกับไฟลบ
2
Trigger
สัญญานกระตุ้นการทำงานของ IC
3
Output
Output Voltage (แรงดันสูงสุดขึ้นตาม Volt Input)
4
RESET
Reset การทำงานของ IC
5
Control Voltage
หยุดการทำงานของ Trigger
6
Threshold Input
เป็นเกณฑ์ในการทำงานของ Output ว่าจะ low หรือ high
7
Discharge
ใช้เป็นทางผ่านในการคายประจุเพื่อควบคุมช่วงเวลา
8
Volt Input
ความต่างศักย์ขาเข้าควรมีค่าตั้งแต่ 5 - 15 V
เมื่อใช้คาปาซิเตอร์และรีซิสเตอร์มาต่อร่วม จะสามารถปรับช่วงการตั้งเวลา (นั่นคือ ช่วงเวลาที่เอาต์พุตมีค่าต่ำ) ตามความต้องการใช้งานได้
ช่วงเวลา t คำนวณได้จาก
t = 1.1 R C ซึ่งเป็นเวลาที่ใช้เพื่อประจุตัวเก็บประจุให้ได้ 63% ของแรงดันที่จ่าย (ค่าจริง : (1-1/e) V)
CR: https://th.wikipedia.org