Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 177,232
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 174,512
3 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 173,815
4 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,782
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 171,235
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 170,323
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 169,291
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 168,654
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 161,675
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 159,119
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 159,057
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 158,274
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 68,700
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 63,470
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 51,483
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 44,347
17 Industrial Provision co., ltd 40,421
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 39,086
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 37,016
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 35,348
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 34,245
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 32,602
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 32,021
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 31,811
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 28,246
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 27,265
27 P.D.S. Automation co.,ltd 23,624
28 AVERA CO., LTD. 23,379
29 เลิศบุศย์ 22,337
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 21,103
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,999
32 Electronics Source Co.,Ltd. 20,649
33 แมชชีนเทค 20,590
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,841
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,821
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 19,613
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 19,253
38 SAMWHA THAILAND 19,084
39 วอยก้า จำกัด 18,780
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 18,310
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 18,110
42 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 18,050
43 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,995
44 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,994
45 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,891
46 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,880
47 Systems integrator 17,441
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 17,395
49 Advanced Technology Equipment 17,216
50 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 17,204
01/03/2565 16:51 น. , อ่าน 4,957 ครั้ง
Bookmark and Share
Safety relay
โดย : Admin

เซฟตี้รีเลย์ (Safety relay) ทำงานอย่างไร ?

*** สำหรับบทความนี้แอดมินจะไม่ขอกล่าวถึงพื้นฐานเกี่ยวกับรีเลย์ทั่วๆไปว่ามีหลักการอย่างไร   แต่หากท่านใดสนใจที่จะเรียนรู้เพิ่มเติมก็สามารถคลิกติดตามได้จากลิงค์ดังต่อไปนี้เลยครับ

- บทความ => รีเลย์คืออะไร
-  คลิปอธิบายการทำงานของรีเลย์


 

Monitoring Safety Relay หรือ Safety Relay คืออะไร

Monitoring Safety Relay(MSR)  หรือที่นิยมเรียกกันย่อๆว่า เซฟตี้รีเลย์ Safety relay นั้น โดยพื้นฐานแล้วรีเลย์ชนิดนี้จะไม่ใช่ Safety relay ที่เรากล่าวมาก่อนหน้านี้  แต่ MSR จะมีฟังก์ชั่นการทำงานที่ถูกออกแบบมาเฉพาะอย่าง เช่น ใช้งานกับ Safety mat และใช้งานกับ Two-hand control เป็นต้น  นอกจากนี้ MRS ยังมีฟังก์ชั่นในการตรวจสอบความผิดปกติของสัญญาณอินพุตและเอาต์พุตได้อีกด้วย  จึงนับว่าเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในการประกอบระบบป้องกันอันตรายจากเครื่องจักร



ตัวอย่างงาน  Two-hand control ที่ใช้กับเครื่องเพรส

 

จากรูปด้านบนเป็นการแสดงวงจรภายในเบื้องต้นของ Monitoring Safety Relay(MSR) ซึ่งจากรูปเราจะเห็นว่า Safety relay ถูกนำมาใช้เป็นเอาต์พุตของ MSR ซึ่งจะมี 2 ชุดหรือมากกว่าขึ้นอยู่กับการออกแบบ ส่วนการนำเอาต์พุตไปใช้งานว่าจะเป็น 1 ชุด หรือ 2 ชุด นั้นจะขึ้นอยู่กับการประเมินความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น

โดยปกติ MSR จะสามารถรับสัญญาณอินพุตได้ 2 ชุด ทำให้มีความสามารถในการตรวจสอบความผิดปกติได้เป็นอย่างดี  ซึ่งถ้ามีอินพุตตัวใดตัวหนึ่งมีปัญหาอินพุตอีกตัวหนึ่งก็ยังสามารถสั่งให้ MSR ตัดวงจรเอาต์พุตได้

นอกจากนั้น MSR จะสามารถตรวจสอบการลัดวงจรถึงกันของสัญญาณอินพุตได้ โดยการจ่ายไฟออกไปที่อุปกรณ์อินพุตให้มีขั้วตรงกันข้ามกัน คือ อินพุตหนึ่งเป็นไฟบวก และอีกตัวหนึ่งเป็นไฟลบ เมื่อเกิดการลัดวงจรถึงกันมันจะทำให้วงจร Overcurrent Protection ทำงานและตัดวงจรเอาต์พุตส่งผลให้โหลดหยุดทำงาน


จากรูปด้านบน..คือตัวอย่างการวงจรการต่อ MSR ใช้งานร่วมกับ E-Stop เพื่อใช้งานร่วมกับวงจรควบคุมมอเตอร์   ซึ่งนับว่าเป็นความสามารถอีกอย่างหนึ่งของ MSR     โดยจะทำหน้าที่ตรวจสอบว่า Magnetic Contactor (K1,K2) ทำปกติหรือไม่ โดยการต่อสัญญาณจากหน้าคอนแทคแบบ NC ของ K1,K2 เข้ากับสวิตช์ Reset 

สำหรับการทำงานของวงจรนี้ก็คือ เมื่อมีเหตุการณ์บางอย่างผิดปกติและมีหากมีการกดสวิตช์ E-Stop จะทำให้ MSR สั่ง K1,K2 ให้หยุดทำงาน เมื่อหลังจากที่ทำการปลดสวิตช์ E-Stop แล้ว  K1,K2 ก็จะยังไม่ทำงานได้ จนกว่าจะมีการจะกดปุ่มสวิตช์ Reset เป็นต้น

ตัวอย่างเช่น ....จากรูปถ้าสมมุติว่า  หน้าคอนแทคเมนของ K1 เกิดการหลอมละลายติดกัน ก็จะทำให้หน้าคอนแทคช่วยแบบ NC ของ K1 ในวงจรรีเซ็ตไม่สามารถคืนกลับสภาวะเดิมมาปิดวงจรได้ดังเดิม และเมื่อทำการกดสวิตช์ Reset ก็จะทำให้ไม่มีสัญญาณกลับเข้ามาที่ MSR    ดังนั้น MSR จะไม่สั่งให้เอาต์พุตทำงาน และทำให้ K1,K2 ไม่สามารถทำงานได้เช่นกัน   ซึ่งการตรวจสัญญาณลักษณะเช่นนี้จะเรียกว่า EDM (External Device Monitoring)

 

จากที่กล่าวข้างต้นเราจะเห็นว่าเซฟตี้รีเลย์จะมีคุณสมบัติที่แตกต่างจากรีเลย์คอนโทรลทั่วๆไป    นอกจากนั้น MSR  ที่มีองค์ประกอบของเซฟตี้รีเลย์ในปัจจุบันยังมี MSR ที่ใช้เอาต์พุตเป็นโซลิตเต็ดให้เลือกใช้งานอีกด้วย

 


ตัวอย่างเซฟตี้รีเลย์แบบต่างๆที่ใช้ในวงจรควบคุมเครื่องจักรในอุตสาหกรรม

 

แหล่งข้อมูลอ้างอิง : https://sonicautomation.co.th/how-safety-relay-work/

========================================================

 

 

 

29 March 2025
:: MEMBER LOGIN
E-mail Account
Password
:: OUR SPONSORS
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD