ลักษณะของสัญญาณรูปคลื่นของฟ้าผ่ามีหน้าตาเป็นอย่างไร ?
รูปคลื่นสัญญาณฟ้าผ่าที่มากับระบบไฟบ้านเมื่อเกิดฟ้าผ้า กรณีหากไม่มีระบบการป้องกัน
ตามมาตรฐาน IEC-62305 ได้นยามและกำหนดลักษณะของรูปคลื่นฟ้าผ่าไว้ดังนี้
1) รูปคลื่นกระแสฟ้าผ่า 10/350 ไมโครวินาที เป็นรูปคลื่นของกระแสอิมพัลส์ที่เกิดจากฟ้าผ่าตรง โดยมีความความยาวของแกนเวลาของรูปคลื่นจากจุดศูนย์ถึงยอด Imax peak (Imp) 100-200kA (แล้วแต่กรณี) ยาว 10 ไมโครวินาที และความยาวของหางคลื่นจากยอดลดลงถึงครึ่งหนึ่ง 50% ใช้เวลา 350 ไมโครวินาที จึงเรียกว่ารูปคลื่น Lightning current wave shape 10/350 μs
ลักษณะของลูกคลื่นสัญญาณฟ้าผ่า มาตรฐาน
2) รูปคลื่นกระแสฟ้าผ่า 8/20 ไมโครวินาที เป็นรูปคลื่นกระแสอิมพัลส์ที่เกิดจากฟ้าผ่าโดยอ้อม (คือไม่ได้ผ่าลงตรงๆ) โดยปกติจะคิดกระแสสูงสุด Imp อยู่ประมาณครึ่งหนึ่งของกระแสฟ้าผ่าโดยตรง คือประมาณ Imp 50-100kA เพราะคิดว่าลงดินไป 50% แล้วยังเหลือไหลผ่านมาตามสายไฟเข้ามาอุปกรณ์ไฟฟ้าอีก 50% โดยสัญญาณอิมพลัสนี้ก็จะมีขนาดความยาวคาบเวลาสั้นกว่ารูปคลื่นอิมพัสล์อันแรกมาก คือหน้าคลื่นจากศูนย์ถึงยอดจะยาว 8 ไมโครวินาที และจากจุดยอดจนหางคลื่นลดลงมาถึง 50%ของยอดคลื่นจะใช้เวลา 20 ไมโครวินาที จึงเรียกว่ารูปคลื่น Lightning current waveshape 8/20 μs และนี้เป็นที่มาของการเลือกขนาดอุปกรณ์ป้องกันเสิร์จ หรืออุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชกจากฟ้าผ่า (Surge Protection Device)
ตัวอย่างเมื่อเกิดฟ้าผ่าตามจุดต่างและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับระบบไฟฟ้า
เพิ่มเติมความเข้าใจในเรื่องการป้องกันฟ้าผ่าจากเอกสารอบรมการป้องกันฟ้าผ่า (วสท.) ของท่านอาจารย์วิวัฒน์ กุลวงศ์วิทย์ (กูรูผู้เชี่ยวชาญด้านการป้องกันผ่าผ่าของเมืองไทย) http://eit.or.th/DownloadDocument/1%20lightning%20volume%201.pdf