วัสดุป้องกันไฟและควันลาม (FIRE BARRIER SYSTEM)
การป้องกันช่องเปิด
การออกแบบการป้องกันช่องเปิด หมายถึงการป้องกันช่องเปิดที่เชื่อมต่อกันระหว่างห้องที่กั้นด้วยผนังหรือพื้นระหว่างชั้นเพื่อป้องกันไม่ให้ไฟลุกลาม โดยทำให้แบ่งส่วนอาคารสมบูรณ์ ให้ใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์
การอุดช่องเปิด ด้วยวัสดุป้องกันไฟและควันลาม (FIRE BARRIER SYSTEM)
ความต้องการทั่วไป...เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้น แก่บุคคลและทรัพย์สินที่อยู่ภายในอาคาร อันเนื่องมาจากการลุกลามของไฟและการแพร่กระจายของควันไฟ จากบริเวณหนึ่งไปยังอีกบริเวณหนึ่ง โดยอาศัยช่องเปิดและทางเดินสายไฟ จึงกำหนดให้ปิดช่องเปิดและทางเดินสายไฟ ด้วยวัสดุป้องกันไฟและควันลาม ต้องเป็นไปตามหัวข้อ 300-21 ของ NEC และ ASTM หรือ BS 476 หรืออุปกรณ์ที่ UL 1479 รับรอง
คุณสมบัติของวัสดุ
วัสดุหรืออุปกรณ์ป้องกันการลุกลามของไฟและควันไฟ จะต้องมีคุณสมบัติและรายละเอียดต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. วัสดุหรืออุปกรณ์ป้องกันการลุกลามของไฟและควันไฟ ต้องเป็นวัสดุหรืออุปกรณ์ที่ได้รับรองการใช้งานจากสถาบัน UL หรือ FM ตามมาตรฐานดังต่อไปนี้ UL1479, ASTM E 814
2. วัสดุหรืออุปกรณ์ดังกล่าว ต้องป้องกันการลุกลามของไฟและควันไฟได้อย่างน้อย 2 ชั่วโมง
3. วัสดุหรืออุปกรณ์ดังกล่าว ต้องไม่เป็นพิษทั้งก่อนและภายหลังติดตั้ง
ง. วัสดุหรืออุปกรณ์ดังกล่าว ต้องง่ายต่อการติดตั้ง และรื้อถอน ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข วัสดุหรืออุปกรณ์ที่ร้อยผ่านช่องเปิดดังกล่าว
4. วัสดุหรืออุปกรณ์ดังกล่าว ต้องมีความแข็งแรง ไม่หลุดร่อน ไม่ว่าก่อนหรือหลังเกิดเพลิงไหม้
5. วัสดุหรืออุปกรณ์ดังกล่าว ต้องทนต่อการสั่นสะเทือนได้ดี สามารถขยายตัวได้อย่างรวดเร็ว เมื่อได้รับความร้อนสูง
6. วัสดุหรืออุปกรณ์ดังกล่าว ต้องเกาะยึดได้ดีกับคอนกรีต, โลหะ, ไม้, พลาสติก และฉนวนหุ้มสายไฟฟ้า
7. วัสดุหรืออุปกรณ์ดังกล่าวที่จะนำมาใช้ ต้องผ่านการทดสอบอายุการใช้งานไม่ต่ำกว่า 25 ปี
ฌ. วัสดุหรืออุปกรณ์ดังกล่าวที่จะนำมาใช้ ต้องได้รับการอนุมัติจากผู้ว่าจ้างหรือผู้แทนผู้ว่าจ้าง
การติดตั้งและการใช้งาน
8. ให้ติดตั้งวัสดุหรืออุปกรณ์ป้องกันการลุกลามของไฟและควันไฟตามตำแหน่งต่างๆดังต่อไปนี้
– ช่องเปิดทุกช่องไม่ว่าจะอยู่ที่ใดของ พื้น ผนัง คาน ช่องชาฟท์ไฟฟ้า ช่องชาฟท์สื่อสาร รวมถึงแนวผนังกันไฟ (Fire walls)
– ช่องเปิดหรือช่องลอด (Block-out or Sleeve) ที่เตรียมไว้สำหรับการติดตั้งระบบไฟฟ้า และระบบสื่อสาร ในอนาคต เช่น ท่อร้อยสายไฟ รางสายไฟ บัสเวย์
– ช่องเปิดหรือช่องลอด ระหว่างสายหรืออุปกรณ์ประกอบการติดตั้ง แม้เป็นเพียงช่องเล็กน้อยก็ตาม
– ช่องเปิดทุกช่องไม่ว่าจะเป็นพื้น หรือผนัง ต้องปิดด้วยวัสดุป้องกันไฟลุกลามเป็นชนิด FIRE STOPPING MORTAR ที่ความหนา 2 นิ้ว โดยมี ROCK WOOL แทนไม้แบบ มีความหนาแน่น 150Kgs/m3 รองไว้ด้านล่างเพื่อเป็น SUPPORT และในกรณีช่องเปิดกว้าง 60 เซนติเมตร ให้ใช้เหล็ก C-CHANNEL ความหนา 2.3 mm. รองรับด้านล่างอีกครั้งเพื่อความแข็งแรง หรือ ใช้แผ่นสำเร็จรูปกันไฟ ( ASTRO BATT COATING ) ที่ความหนาแน่น 160 Kgs/m3 ตัดให้เข้ารูปตามหน้างาน และเก็บงานด้วย AFB COAT (สีกันไฟ) และ SEAL รอยต่อด้วย INTUMESCENT MASTIC
– ช่องเปิดทุกช่องไม่ว่าจะอยู่ที่ใดของผนัง หรือพื้นห้อง หรือฝ้าเพดาน และระหว่างผนังที่มีท่อ PVC,PE,PB, Air Duct ต้องปิดด้วยวัดสุชนิด GRAPHITE-BASED INTUMESCETN WRAP STRIP ตามขนาดของท่อ ควรเลือกวัสดุให้ถูกและเหมาะสมกับขนาดของท่อนั้น ๆ เพราะในกรณีที่เกิดเพลิงไหม้วัสดุดังกล่าวจะขยายตัวแทนที่ ท่อพลาสติก
– ช่องเปิดที่เป็นลักษณะเป็นท่อมีปลอกสลีป หรือ CONDUIT ใช้วัสดุชนิด INTUMESCENT ACRYLIC IA โดย SEAL ลึกลงไป 1 นิ้ว ในกรณีที่เป็นพื้น ส่วนที่เป็นผนังควร ปิดทั้ง 2 ด้าน
– ในกรณีที่ CONDUIT อยู่ในจุดที่มีการสั่นสะเทือน ควรเลือกวัสดุเป็น SILICONE เนื่องจาก SILICONE เมื่อเซ็ตตัวแล้วจะมีความยืดหยุ่นไม่เหมือน INTUMESCENT ACYLIC IA เมื่อเซ็ตตัวแล้วจะแข็งตัว
การป้องกันช่องเจาะทะลุพื้นที่จากงานต่าง ๆ
การป้องกันท่อลม (Air Duct)
– การป้องกันท่อลมที่ไม่ใช้งานในขณะเกิดอัคคีภัย ณ จุดที่ท่อลมที่ไม่ใช้งานในขณะเกิดอัคคีภัย ผ่านทะลุพื้นทนไฟ ผนังทนไฟ หรือเพดานทนไฟ ให้ติดตั้งลิ้นกันไฟที่ผ่านการทดสอบจากสถาบันที่เชื่อถือได้ ที่มีอัตราการทนไฟไม่น้อยกว่า พื้น ผนัง และเพดานนั้น และให้ติดตั้งวัสดุป้องกันไฟลามในช่องเปิดระหว่างพื้นผิวภายนอกของท่อลมกับพันทนไฟ ผนังทนไฟ หรือเพดานทนไฟ ตามรูปแบบการติดตั้ง โดยไม่ทำให้อัตราการทนไฟของพื้นทนไฟ ผนังทนไฟ หรือเพดานทนไฟนั้นลดน้อยลง
– การป้องกันท่อลมที่ใช้งานในขณะเกิดอัคคีภัย ณ จุดที่ท่อลมที่ใช้งานในขณะเกิดอัคคีภัยผ่านทะลุพื้นทนไฟ ผนังทนไฟ หรือเพดานทนไฟ ให้ติดตั้งวัสดุป้องกันไฟลามในช่องเปิด ระหว่างพื้นผิวภายนอกของท่อลมกับพื้นทนไฟ ผนังทนไฟหรือเพดานทนไฟ ตามรูปแบบการติดตั้งโดยไม่ทำให้อัตราการทนไฟของพื้นทนไฟ ผนังทนไฟ หรือเพดานทนไฟนั้นลดน้อยลง
ระบบท่อลมที่ใช้งานขณะเกิดอัคคีภัย ต้องได้รับการทดสอบจากสถานบันที่เชื่อถือได้ว่า ระบบท่อลมต้องมีความสามารถในการไฟ ไม่สูญเสียรูปทรงและสามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์ในขณะเกิดอัคคีภัยไม่ต่ำกว่า 1 ชั่วโมง 30 นาที (ตัวอย่างมาตรฐานคือ BS 476
การป้องกันรางเดินสายไฟฟ้า (Cable Tray)
ให้ติดตั้งวัสดุป้องกันไฟลามในช่องเปิดระหว่างพื้นผิวภายนอกของรางเดินสายกับพื้นทนไฟ ผนังทนไฟ หรือเพดานทนไฟ ตามรูปแบบการติดตั้ง โดยไม่ทำให้อัตราการทนไฟของพื้นทนไฟ ผนังทนไฟ หรือเพดานทนไฟนั้นลดน้อยลง
การป้องกันท่อพลาสติก (Plastic Pipe)
ให้ติดตั้งวัสดุป้องกันไฟลามชนิดขยายตัว (In tumescent) ในช่องเปิดระหว่างพื้นผิวภายนอกของท่อพลาสติกกับพื้นทนไฟ ผนังทนไฟ หรือเพดานทนไฟ หรือติดตั้งปลอกสวม (Pipe Collar) ที่มีวัสดุป้องกันไฟลามชนิดขยายตัวบนผิวของพื้นทนไฟ ผนังทนไฟหรือเพดานทนไฟ ตามรูปแบบการติดตั้งโดยไม่ทำอัตราการทนไฟของพื้นทนไฟ ผนังทนไฟ หรือเพดานทนไฟนั้นลดน้อยลง
การป้องกันท่อโลหะ (Metal Pipe)
ให้ติดตั้งวัสดุป้องกันไฟลามในช่องเปิดระหว่างพื้นผิวภายนอกของท่อโลหะ กับพื้นทนไฟ ผนังทนไฟหรือเพดานทนไฟ ตามรูปแบบการติดตั้ง โดยไม่ทำให้อัตราการทดไฟของพื้นทนไฟ ผนังทนไฟ หรือ เพดานทนไฟนั้นลดน้อยลง
cr: ชมรมวิศวกรออกแบบระบบป้องกันอัคคีภัย Fire Protection Engineer Academy