Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 176,789
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 174,163
3 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 173,452
4 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,447
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,907
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 170,022
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,998
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 168,286
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 161,136
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,813
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,764
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,964
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 68,307
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,811
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 51,154
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 44,046
17 Industrial Provision co., ltd 39,842
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,792
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,706
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 35,034
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,968
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 32,315
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,731
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 31,460
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,969
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,960
27 P.D.S. Automation co.,ltd 23,340
28 AVERA CO., LTD. 23,097
29 เลิศบุศย์ 22,056
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,813
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,707
32 Electronics Source Co.,Ltd. 20,322
33 แมชชีนเทค 20,310
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,567
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,537
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 19,279
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,954
38 SAMWHA THAILAND 18,732
39 วอยก้า จำกัด 18,401
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,974
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,818
42 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,750
43 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,719
44 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,664
45 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,591
46 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,588
47 Systems integrator 17,150
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 17,092
49 Advanced Technology Equipment 16,924
50 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,891
24/07/2563 07:29 น. , อ่าน 50,087 ครั้ง
Bookmark and Share
ทรานซิสเตอร์ Transistor
โดย : Admin

ทรานซิสเตอร์ (Transistor) คืออะไร?
 

รูปร่างของทรานซิสเตอร์มีหลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละแบบก็มีชื่อเรียกต่างกันออกไป

 

ทรานซิสเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญ ที่ทำหน้าที่ในการคอนโทรลการไหลของกระแสไฟฟ้า (ทั้งยอมให้ไหล และบล็อคไม่ให้กระแสไหลผ่าน) ซึ่งคล้ายๆกับไดโอด แต่ทรานซิสเตอร์สามารถทำอะไรได้มากกว่า เพราะนอกจากจะคอนโทรลทิศทางการไหลได้แล้ว ยังสามารถควบคุมปริมาณกระแสไฟฟ้าได้ด้วย, ความสามารถดังกล่าวเกิดขึ้นได้เพราะสารกึ่งตัวนำภายในทรานซิสเตอร์เอง.
 


 

โครงสร้างและสัญลักษณ์ของทรานซิสเตอร์
 
โครงสร้างของทรานซิสเตอร์จะประกอบด้วยสารกึ่งตัวนำ P และ N มาต่อกัน 3 ตัว มีรอยต่อ 2 รอยต่อ และประกอบด้วยขา 3 ขา  คือ ขาเบส (base,B)  ขาอิมิตเตอร์ (Emitter,E) และขาคอลเลคเตอร์ (Collector,C) 

ทรานซิสเตอร์แบ่งตามโครงสร้างได้ 2 ชนิด คือ NPN และ PNP  และแบ่งตามสารได้สองชนิดเช่นเดียวกับไดโอด คือแบบเยอรมันเนียม และ ซิลิคอน

 

ทรานซิสเตอร์ชนิด NPN - โครงสร้างแบบ NPN สังเกตว่าสัญลักษณ์ทรานซิสเตอร์หัวลูกศรจะพุ่งออก
ทรานซิสเตอร์ชนิด PNP - โครงสร้างแบบ PNP สังเกตว่าสัญลักษณ์ทรานซิสเตอร์หัวลูกศรจะพุ่งเข้า

 

หลักการทำงานของทรานซิสเตอร์ 
 
ทรานซิสเตอร์มีหน้าที่ในการควบคุมหรือคอนโทรลทิศทางทางและปริมาณกระแสไฟฟ้า ดังนั้นหลักการที่สำคัญหรือจุดประสงค์หลักเลยก็คือ  "การใช้กระแสไฟฟ้าน้อยๆ ควบคุมกระแสไฟฟ้ามากๆ"  ซึ่งหมายถึง เมื่อมีปริมาณกระแสไฟฟ้าเพียงเล็กน้อยที่กระตุ้นที่ขา Base ,ก็จะสามารถคอนโทรลปริมาณกระแสไฟฟ้าที่มากกว่าหลายเท่าตัว   โดยขึ้นอยู่ค่ากำลังขยายหรือที่เรียกว่า Current Gain หรือ HFE หรือ β นั่นเอง

 

การทำงานของ NPN Transistor

เมื่อมีกระแสไฟฟ้าเพียงเล็กน้อยที่ขา B, ทรานซิสเตอร์ก็จะอยู่ในสภาวะทำงาน และจะยอมให้กระแสไฟฟ้าที่มากกว่าหลายเท่าไหลผ่านขา C ไปยังขา E

แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าไม่มีกระแสไฟฟ้าที่ขา B เลย ทรานซิสเตอร์จะอยู่ในสภาวะ Cut-Off ซึ่งจะบล็อคไม่ให้กระไสไฟฟ้าไหลจากขา C ไป E ได้  (แบบ NPN นี้ ขา E ทำหน้าที่เป็นกราวด์)

 

การทำงานของ PNP Transistor

ทรานซิสเตอร์แบบนี้จะทำงานต่างกับแบบ NPN คือ โดยขา C จะทำหน้าที่เป็นกราวด์แทน  เมื่อมีกระแสไฟฟ้าเพียงเล็กน้อยที่ขา B  ทรานซิสเตอร์จะทำการบล็อคไม่ให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านจากขา E ไป C ได้ แต่เมื่อไม่มีกระแสไฟฟ้าที่ขา B เลยหรือกระแสไฟฟ้าติดลบ มันก็จะยอมให้กระแสไฟฟ้าที่มากกว่าไหลผ่านจากขา E ไปขา C

 
การทำงานของทราสซิสเตอร์ เปรียบได้กับวาลว์ที่ถูกควบคุมด้วยสัญญาณไฟฟ้าขาเข้า เพื่อปรับขนาดกระแสไฟฟ้าขาออกที่มาจากแหล่งจ่ายแรงดันดังรูป

 


ภาพแสดงการทำงานของทรานซิสเตอร์เมื่อเปรียบเทียบกับอุปกรณ์ทางเครื่องกล ซึ่งการทำงานจะคล้ายกับวาล์ว

 

การต่อใช้งานทรานซิสเตอร์


จากรูปด้านบนเป็นตัวอย่างการใช้งาน NPN Transistor ซึ่งมีการแยกแหล่งจ่ายออกเป็น 2 แหล่ง คือ Vcc และ Vb และนอกจากนี้ยังมีการแบ่งวงจรออกเป็น 2 ส่วนคือส่วน Input (สีฟ้า) และส่วน Outout (สีชมพู)

• ส่วน Input คือส่วนที่ใช้ในการคอนโทรล ซึ่งเป็นหน้าที่ของขา B เพราะฉะนั้นในส่วนนี้จะใช้ Vb เป็นแหล่งจ่ายให้กับขา B ส่วน Rb คือตัวต้านทานของขา B มีหน้าที่จำกัดไม่ให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านขา B มากเกินไป

• ส่วน Output คือส่วนที่เราจะนำเอา LOAD หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆเช่นหลอด LED  มอเตอร์ หรืออุปกรณ์อื่นๆ มาต่อ ดังนั้นในส่วนนี้จะใช้แหล่งจ่าย Vcc ซึ่งเป็นอีกแหล่งจ่ายหนึ่งที่แยกต่างหาก และมักจะมีค่าความต่างศักย์สูงกว่าแหล่งจ่าย Vb  แต่ทั้งนี้กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านขา CE ได้หรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับว่ามีกระแสไฟฟ้ามาคอนโทรลหรือมาทำการควบคุมที่ขา B หรือไม่  และเมื่อมีกระแสไฟฟ้าที่ขา B  ทรานซิสเตอร์ก็จำทำหน้าที่เหมือนวาล์วและยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลจาก Vcc ไหลผ่านขา CE และไหลผ่าน LOAD  (ส่วน Rc มีไว้จำกัดกระแสที่จะไหลผ่าน LOAD ไม่ให้มากเกินไป)

• ทั้งส่วน Input และ Output จะใช้กราวน์ร่วมกันที่ขา E (สำหรับแบบ NPN)


Mode การทำงานของทรานซิสเตอร์


• ทรานซิสเตอร์มีโหมดการทำงานอยู่หลัก 4 โหมดได้แก่

1. Active Mode หรือ Active Region หรือโหมดที่มีการทำงาน  ซึ่งในโหมดนี้กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านขา CE จะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับกระแสไฟฟ้าที่ขา B กล่าวคือถ้ายิ่งมีกระแสไฟฟ้ามากระตุ้นที่ขา B มีค่ามากเท่าไหร่ กระแสที่ CE ก็จะมีค่ามากๆๆ  (แต่จะมากไม่ถึงและไม่เกินแหล่งจ่าย Vcc)

2.Cut-Off Mode หรือ Cut-Off Region : คือโหมดที่ไม่มีการทำงานหรือหยุดการทำงาน   ซึ่งในช่วงนี้จะไม่มีกระแสมาที่ขา B  ซึ่งก็จะไม่มีกระแสที่ CE ด้วย ทรานซิสเตอร์จะทำหน้าที่เปรียบเสมือนเป็นสวิตซ์ที่เปิดวงจร

3.Saturation Mode หรือ Saturation Region : คือโหมดอิ่มตัว ซึ่งจะคล้ายๆกับ Active Mode แต่ในโหมดนี้จะมีการจ่ายกระแสไฟฟ้าที่ขา B มากจนอิ่มตัว ซึ่งก็จะส่งผลทำให้ทรานซิสเตอร์ทำหน้าที่เสมือนเป็นสวิตซ์ปิดวงจรแบบสนิทหรือShot Circuit และทำให้ทำกระแสไฟฟ้ไหลผ่านระหว่างขาอ CE ได้มากที่สุด  หรือจะได้รับแรงดันจากแหล่งจ่ายโดยตรง (แรงดัน CE มีค่าเท่ากับแรงดันVcc) ซึ่งเป็นโหมดที่นิยมใช้ เพราะ LOAD จะได้รับกระแสสูงสุด

4.Reverse-Active Mode:  การทำงานในโหมดนี้จะคล้ายกับ Active Mode  แต่ในโหมดนี้ กระแสไฟฟ้าจะไหลจากขา E ไปขา C แทน ซึ่งจะมีใช้ในงานในบางกรณีเท่านั้น


สรุป  Summary

• ทรานซิสเตอร์คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการคอรโทรลกระแสไฟฟ้าด้วยกระแสไฟฟ้า (กระแสเล็กควบคุมใหญ่)
• สามารถทำหน้าที่เป็นสวิซต์ที่ควบคุมด้วยไฟฟ้าได้ (ซึ่งเป็นการใช้งานในสวิตซ์โหมดคือ Cut-Off Mode (เปิดวงจร) และ  Saturation Mode (ปิดวงจร)
• สามารถทำหน้าที่เป็นตัวขยายกระแสไฟฟ้าได้ (Amplifier)
• มีอัตราหรือกำลังขยาย เรียกว่า Current Gain เขียนย่อว่าค่า Hfe หรือ β
• ในการทำงานปกติ Ic (กระแสโหลด) จะมากกว่ากว่า Ib (กระที่ใช้ควบคุมการทำงาน)
• Saturation Mode คือโหมดที่ส่วน Output จะเอาแหล่งจ่าย Vcc มาใช้โดยตรงเลย
• ปัจจุบันทรานซิสเตอร์แบบ Silicon ผลิตมากที่สุด และหาซื้อได้ง่าย เนื่องจากราคาถูกเมื่อเทียบกับแบบ Germanium



การประยุกต์ใช้งาน
ขยายสัญญาณ สวิตซิ่ง กำเนิดสัญญาณ เป็นสวิต์ซ์ตัด-ต่อ หรือ ปิด-เปิด วงจรไฟฟ้า เป็นต้น
 


ตัวอย่างการใช้งานในวงจรขยายสัญญาณ
 


ตัวอย่างการใช้งานในวงจรควบคุมมอเตอร์



ตัวอย่างการใช้งานในวงจรควบคุมรีเลย์และควบคุมมอเตอร์





 

ขอขอบคุณ
https://rmutphysics.com/
https://commandronestore.com/learning/transistor000.php
https://google.com/
 

========================================================

 

 

 

21 November 2024
:: MEMBER LOGIN
E-mail Account
Password
:: OUR SPONSORS
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD