Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 176,791
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 174,164
3 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 173,452
4 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,449
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,907
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 170,023
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,999
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 168,287
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 161,136
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,814
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,766
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,967
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 68,307
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,811
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 51,154
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 44,047
17 Industrial Provision co., ltd 39,844
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,794
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,707
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 35,034
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,968
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 32,315
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,731
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 31,460
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,971
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,961
27 P.D.S. Automation co.,ltd 23,340
28 AVERA CO., LTD. 23,098
29 เลิศบุศย์ 22,057
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,815
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,708
32 Electronics Source Co.,Ltd. 20,323
33 แมชชีนเทค 20,310
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,570
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,538
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 19,280
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,956
38 SAMWHA THAILAND 18,734
39 วอยก้า จำกัด 18,401
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,974
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,818
42 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,751
43 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,720
44 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,666
45 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,593
46 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,589
47 Systems integrator 17,150
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 17,094
49 Advanced Technology Equipment 16,928
50 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,893
22/06/2563 06:50 น. , อ่าน 2,441 ครั้ง
Bookmark and Share
Power Bank (แบตสำรอง)
โดย : Admin

Power Bank คืออะไร  มาทำความรู้จักกันดีกว่า

 


 ยุคหลัง ๆ มานี้เป็นยุคแห่งเทคโนโลยี ไม่ว่าไปที่ไหนก็ต้องมีคนที่ใช้โทรศัพท์มือถือ หรือสมาร์ทโฟนกันอยู่เต็มไปหมด แต่สมาร์ทโฟน หรืออุปกรณ์ IT เคลื่อนที่ต่างๆ ก็ต้องใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ ซึ่งถ้าเราใช้งานพวกอุปกรณ์สมาร์ทโฟนหนักๆ แล้ว แบตเตอรี่อาจจะอยู่ได้ไม่พอทั้งวัน  จึงได้มีผู้คิดว่าทำอย่างไรจะให้แบตเตอรี่ในอุปกรณ์พกพาใช้งานได้ตลอดทั้งวัน ในที่สุดก็ได้ Power Bank (แบตสำรอง) ขึ้นมา



วิธีการใช้ Power Bank (แบตสำรอง)

Power Bank เหมือนเป็นแบตเตอรี่สำรองชนิดหนึ่ง โดยที่เราต้องทำการชาร์จไฟเข้าตัว Power  Bank (แบตสำรอง) ก่อน   หลังจากนั้นเราถึงจะใช้งานมันได้ โดนวิธีใช้ก็เพียงแค่เสียบ สาย USB เข้าที่ตัว Power Bank (แบตสำรอง) หลังจากนั้นก็เสียบเข้าที่โทรศัพท์ หรือสมาร์ทโฟน (บางรุ่นต้องกดปุ่มตรงกลางเพื่อให้ทำงาน และปล่อยไว้เมื่อไม่ใช้งาน Power Bank ก็จะดับเอง) เพียงแค่นี้ก็จะสามารถชาร์จแบตเตอรี่ขณะอยู่นอกบ้านได้โดยที่ไม่ต้องหาปลั๊กใดๆ ให้วุ่นวายอีกต่อไป



จำนวน mAh ที่บอกไว้ทำอะไร

mAh คือ m = มิลลิ , A = แอมม์ ,h = hour (ชั่วโมง) ส่วนจำนวนที่จะบอกว่า Power Bank (แบตสำรองชิ้นนั้น ๆ มีความจุเท่าไหร่คือตัวเลขที่เค้าบอกด้านหน้า เช่น 2600 mAh แปลว่า Power Bank (แบตสำรอง) มีความจุ 2600 mAh เป็นต้น และถ้าถามต่อไปว่า Power Bank(แบตสำรอง) จะชาร์จสมาร์ทโฟนของเราได้กี่รอบ สมมติว่า แบตเตอรรี่มือถือของเรา 2500 mAh แล้ว Power Bank (แบตสำรอง) ที่มีอยู่เป็น 2600 mAh

หลายๆ ท่านอาจจะคิดว่า เอา2600 – 2500 แปลว่าชาร์จได้ 1 รอบ แล้วเหลือ อีก 100 mAh จริงๆ แล้ว วิธีการคิด ไม่ได้คิดแบบนี้ครับ คือ Power Bank (แบตสำรอง) ก็จะมีการสูญเสียพลังงานด้วย ในขณะชาร์จประมาณ 30-40 เปอร์เซนต์ ซึ่งหมายความว่า Power Bank (แบตสำรอง) 2600 mAh จะชาร์จจริงได้อยู่ที่ 2600-30/100= 1820 mAh ซึ่งมาเทียบดูแล้ว ก็จะไม่สามารถชาร์จแบตเตอรี่ 2500 mAh ได้เต็มนั้นเอง (จะได้ประมาณ 70 เปอร์เซนต์เท่านั้น)

หมายเหตุ : การชาร์จ Tablet ก็จะมีการสูญเสียพลังงานมากกว่าโทรศัพท์ด้วย




ตัวเลข 2A , 1A คืออะไร

ตัวเลขพวกนี้เป็นตัวบ่งบอกว่า Power Bank (แบตสำรอง) ของเราสามารถจ่ายไฟได้เร็วแค่ไหน (ยิ่งตัวเลขมากยิ่งเร็ว) หมายความว่าถ้าแบตเตอรี่ที่เราใช้มีขนาดใหญ่อาจจะต้องใช้ Power Bank (แบตสำรอง) ที่มีขนาด 2A เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการในการใช้ไฟ



วิธีการเลือกซื้อ Power Bank (แบตสำรอง)

ตอนนี้ Power Bank มีให้เลือกมากมายหลายหลายขนาดมากและจะเอา Power Bank ตัวไหนดีล่ะ คำตอบก็คือ เลือกตามความใช้งาน/ความสวยงาม เช่น ถ้าเราต้องการชาร์จ Tablet 1 เครื่อง เราควรเลือก Power Bank ที่มีขนาดพลังงาน ไม่ถึง 5000 mAh พอเวลาที่ต้องใช้ Power Bankอาจจะไม่เพียงพอต่อความต้องการของ Tablet ตัวนั้นๆ ได้ ต้องเลือกที่มีขนาดใหญ่และมี ตัวจ่ายไฟ 2 A ด้วยเป็นต้น


รู้ไว้จะได้ไม่โดนหลอก

รู้หรือไม่ว่า Power Bank (แบตสำรอง) ต้องมีขนาดและน้ำหนักที่เหมาะสมกับจำนวน mAh ที่เค้าบอกด้วยเช่นว่า ถ้ามีร้านค้าบอกว่า Power Bank  ตัวนี้ 20,000 mAh แต่พอเช็คแล้ว ขนาดมันไม่ได้ใหญ่ขนาดนั้น และน้ำหนักก็เบามากแสดงว่า Power Bank  ที่กล่าวอาจจะมีจำนวน mAh ที่ไม่ถึงตามที่เค้าบอกก็เป็นได้


วิธีที่เราจะเช็ค Power Bank ของเรา นอกจากวิธีนี้แล้ว คือ

1. ต้องแกะเครื่องออกมาดูครับ ซึ่งผมคิดว่าคนทั่วไปไม่น่าจะแกะอยู่แล้วเพราะฉะนั้นอาจจะข้ามวิธีนี้ไปได้เลย
2. การคำนวณจากพลังงาน อย่างที่กล่าวมาข้างต้นว่า เราสามารถคำนวณพลังงานจริงจาก Power Bank โดยหักออกประมาณ 30 เปอร์เซนต์จากตัวเลขเต็ม ๆ เพราะฉะนั้นหมายความว่า เมื่อเราหักลบตัวเลขเหล่านั้น แล้วเราก็ลองเอามาชาร์จกับอุปกรณ์ของเราที่มี mAh บอกไว้แล้วลองทดสอบดูว่าได้จำนวนรอบถึงตามที่คำนวณไว้หรือเปล่า ถ้าไม่ถึงแสดงว่าอาจจะโดนหลอกแล้วก็เป็นไปได้

  เพราะฉะนั้นจึงควรเลือกซื้อ Power Bank จากร้านที่น่าเชื่อถือ




พาวเวอร์แบงค์ระเบิด เกิดขึ้นได้จริงหรือ?


เมื่อเร็วๆ นี้มีข่าวที่สร้างความตกใจให้กับผู้คนก็คือ พาวเวอร์แบงค์ระเบิด สาเหตุมาจากลืมพาวเวอร์แบงค์ (Power Bank) หรือแบตเตอรีไฟสำรองทิ้งเอาไว้ในรถ แล้วจอดรถตากแดดไว้ เกิดเหตุไฟลุกไหม้ขึ้นมา หลายคนจึงสงสัยว่ามันมีโอกาสเกิดขึ้นได้จริงๆ หรือ?



เชื่อว่าตอนนี้ พาวเวอร์แบงค์ ถือเป็นอุปกรณ์ที่ทุกคนต้องพกติดตัวควบคู่ไปกับโทรศัพท์สมาร์ทโฟน เพราะว่าในการใช้งานมือถือในแต่ละวัน พลังงานแบตเตอรี่ในตัวเครื่องไม่สามารถใช้ได้ตลอดทั้งวัน ก็มีเพาเวอร์แบงค์นี่ล่ะมาคอยต่อลมหายใจให้ใช้งานติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นได้ทั้งวัน  แต่ประเด็นที่ว่า พาวเวอร์แบงค์ระเบิด นั้นเกิดขึ้นได้หรือเปล่า ต้องบอกว่า “มีสิทธิ์เกิดขึ้นได้”



รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์เรื่องราวเกี่ยวกับเรื่องนี้ผ่านทางหน้า Facebook ของตนเอง เนื่องจากมีนักข่าวมาสอบถามเกี่ยวกับเหตุการณ์ พาวเวอร์แบงค์ระเบิดในรถ ซึ่งทาง อ.เจษฎาได้ให้ความเห็นว่าเรื่องนี้สามารถเกิดขึ้นได้ ถ้าหากพาวเวอร์แบงค์นั้น เป็นรุ่นเก่าที่ยังเป็นแบบ “ลิเธียมไอออน” (Li-Ion) ที่เก่าและเสื่อมคุณภาพแล้ว



เพราะว่า แบตเตอรี่แบบ ลิเธียมไอออน นี้มีราคาถูกและจุปริมาณไฟฟ้าได้มาก แต่ทว่าก็มีโอกาสที่จะเกิดการลัดวงจร, ระเบิด หรือติดไฟจนลุกไหม้ได้ ถ้าหากเป็นของที่ผลิตออกมาไม่ได้คุณภาพ, ระบบตัดวงจรควบคุมไฟมีปัญหา หรือว่าหมดอายุการใช้งานแล้ว ซึ่งในยุคปัจจุบันนี้ แบตเตอรี่แบบที่เป็น “ลิเธียมโพลิเมอร์” (Li-Po) จะมีความปลอดภัยมากกว่า

และยิ่งการใช้งานอย่างไม่เหมาะสม ก็เป็นอีกปัจจัยที่จะทำให้ พาวเวอร์แบงค์ระเบิดได้ อาทิเช่น ถูกน้ำจนทำให้วงจรป้องกันเสียหาย, ได้รับความร้อนที่สูงมาก, ชาร์จด้วยกระแสไฟที่สูงเกิน, ได้รับการกระแทกอย่างแรง


นอกจากนี้ ศ.ดร.ประภาส จงสถิตย์วัฒนา อาจารย์ภาควิศวคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยังให้ข้อมูลด้วยว่า ลิเธียมเป็นโลหะที่ไวไฟต่อปฎิกริยาเคมีมาก และอาจจะเกิดการลัดวงจรเมื่อเจอความร้อนที่สูจนติดไฟ จากรายงานเคยมีเหตุการณ์ที่พาวเวอร์แบงค์ระเบิดในตอนที่ใช้โทรศัพท์และกำลังชาร์จไฟไปด้วย แต่เหตุการณ์พาวเวอร์แบงก์ระเบิดโดยที่ไม่ได้มีการเสียบชาร์จอยู่ก็มีความเป็นไปได้ แต่มีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยมากแค่ 1 ในล้าน



ใช้งาน Power Bank อย่างไร…ให้ปลอดภัย

- เลือกใช้ Power Bank เฉพาะที่ผลิตโดยผู้ผลิตที่ได้มาตรฐาน มีตราสัญลักษณ์รับรองมาตรฐานการผลิต และผ่านการทดสอบความปลอดภัย

- หลีกเลี่ยง Power Bank ราคาถูกแต่ว่ามีความจุที่สูง เพราะมีโอกาสที่เป็นสินค้าที่มาตรฐานการผลิตต่ำ อาจจะถึงขั้นไม่มีระบบตัดไฟลัดวงจรที่ปลอดภัย

- ขณะที่นำสมาร์ทโฟนมาเสียบเพื่อชาร์จไฟ ไม่ควรเล่นหรือใช้งานระหว่างที่ชาร์จ เพราะอาจจะทำให้เกิดความผิดพลาดในการจ่ายกระแสไฟฟ้า จนอาจจะทำให้เกิดการลัดวงจรได้

- เมื่อเสียบชาร์จไฟเพื่อเก็บกระแสไฟฟ้าไว้ใน Power Bank เมื่อชาร์จจนเต็มแล้วให้ถอดสายออก ไม่ควรเสียบชาร์จคาทิ้งไว้ เพราะอาจจะเกิดความร้อนและการลัดวงจรได้ รวมไปถึงไม่ควรเสียบชาร์จไฟ Power Bank ไว้ในขณะที่ไม่มีใครอยู่บ้าน

-ไม่ควรใช้ Power Bank ที่หมดอายุการใช้งานหรือเสื่อมสภาพ ไม่ควรใช้งานเกิน 2 ปี

ปัจจุบันเริ่มมีการควบคุมความปลอดภัยของการใช้งาน Power Bank มากขึ้น โดยเฉพาะในสายการบินต่างๆ ที่มีข้อกำหนดห้ามนำเอาแบตเตอรี่ที่มีความจุเกินกำหนดขึ้นเครื่อง ทั้งการโหลดใส่ในกระเป๋าหรือพกขึ้นเครื่อง เพื่อป้องกันความเสียงในการเกิดอุบัติเหตุได้



ข้อมูลจาก : รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ | เดลินิวส์
และ ข้อมูลจาก : https://gadgetdoor.com/


 

========================================================

 

 

 

21 November 2024
:: MEMBER LOGIN
E-mail Account
Password
:: OUR SPONSORS
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD