ฟ้าผ่า Lightning
ฟ้าผ่า เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นจากอิเล็กตรอนจำนวนมากเคลื่อนที่กันไปมาระหว่างเมฆกับเมฆหรือระหว่างเมฆกับพื้นโลก มีพลังงานสูงมากๆถึงตายได้เลย จนอาจก่อให้เกิดอันตรายหรือทำลายสิ่งที่กีดขวาง เช่น คน สัตว์ บ้านเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ
การเกิดฟ้าผ่า
ฟ้าผ่านั้นเกิดขึ้นจากปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นภายใต้ก้อนเมฆฝนฟ้าคะนองหรือที่นักอุตุนิยมวิทยาเรียกกันว่าเมฆคิวมูโลนิมบัส (cumulonimbus) ซึ่งจะเป็นเมฆที่มีลักษณะเป็นก้อนขนาดใหญ่มหึมาบริเวณฐานของเมฆ (ขอบล่าง) นั้นจะสูงจากพื้นราว ๆ 2 กิโลเมตร และที่ส่วนของยอดเมฆ (ขอบบน) นั้นอาจจะสูงถึง 20 กิโลเมตร และเมื่อก้อนเมฆนั้นเคลื่อนที่ก็จะมีลมเข้าไปยังภายในก้อนเมฆและจะเกิดการไหลเวียนของกระแสอากาศภายในอย่างรวดเร็วและรุนแรง ทำให้หยดน้ำและก้อนน้ำแข็งในเมฆเสียดสีกันจนเกิดประจุไฟฟ้าและพบว่าประจุบวกมักจะรวมตัวกันอยู่บริเวณยอดเมฆ ส่วนประจุลบจะอยู่บริเวณฐานเมฆ ทั้งนี้ ประจุลบที่ฐานเมฆอาจจะเหนี่ยวนำทำให้พื้นผิวของโลกที่อยู่ “ใต้เงา” ของมันมีประจุเป็นบวก เป็นผลทำใหัเกิด สนามไฟฟ้าระหว่างกลุ่มประจุเหล่านั้น
เมื่อประจุ มีการสะสมจำนวนมาก ทำให้ความเครียดของสนามไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้นจนเกินค่าความคงทน ของอากาศต่อแรงดันไฟฟ้า จนทำให้เกิดการคายประจุขึ้น อัน เป็นจุดกำเนิดของการเกิด ฟ้าผ่าขึ้น การคายประจุ อาจเกิดขึ้น ระหว่างก้อนเมฆ หรือ ระหว่าง ก้อนเมฆ กับ พื้นโลก ซึ่งเรียก ปรากฏการณ์ นี้ว่า "ฟ้าผ่า"
ลักษณะการเกิดฟ้าผ่า
1.ฟ้าผ่าภายในก้อนเมฆ เกิดจากการเชื่อมต่อประจุลบด้านล่างกับประจุบวกด้านบนเข้าด้วยกัน ฟ้าผ่าแบบนี้มักจะเกิดมากที่สุด
2.ฟ้าผ่าจากเมฆก้อนหนึ่งไปยังเมฆอีกก้อนหนึ่ง เกิดจากประจุลบในเมฆก้อนหนึ่งไปยังประจุบวกในเมฆอีกก้อนหนึ่ง
3.ฟ้าผ่าจากฐานเมฆลงสู่พื้น หรือฟ้าผ่าแบบลบ เกิดจากการปลดปล่อยประจุลบออกจากก้อนเมฆ จึงเรียกว่า ฟ้าผ่าแบบ ลบ (negative lightning) และเป็นอันตรายต่อ คน สัตว์ และสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่บนพื้นนั้นมีเพราะจะมีระยะผ่าลงบริเวณใต้เงาของเมฆฟ้าฝนคะนองเพราะพื้นที่ดังกล่าวถูกเหนี่ยวนำให้มีสภาพเป็นประจุบวก
4.ฟ้าผ่าจากยอดเมฆลงสู่พื้น หรือฟ้าผ่าแบบบวก เกิดจากการปลดปล่อยประจุบวกออกจากก้อนเมฆ จึงเรียกว่า ฟ้าผ่าแบบบวก (positive lightning) ฟ้าผ่าแบบบวกสามารถผ่าได้ไกลออกไปจากก้อนเมฆ ถึง 40 กิโลเมตร ภายในเวลา 1 วินาที โดยมักจะเกิดในช่วงท้ายของพายุฝนฟ้าคะนองคือหลังจากที่ฝนซาแล้ว
การป้องกันฟ้าผ่า
การป้องกันฟ้าผ่าสามารถทำได้หลายวิธี ตั้งแต่การออกแบบและก่อสร้างอาคารตามหลักการป้องกันฟ้าผ่า รวมไปถึงการติดตั้งสายล่อฟ้า
วิดีโอตัวอย่างการติดตั้งสัญญาณเตือนภัยจากฟ้าผ่าที่บริเวณสระน้ำที่สิงคโปร์
เมื่อมีสัญญาณฟ้าเกินจากระดับที่กำหนดระบบจะแจ้งเตือนและสั่งให้สมาชิกหยุดใช้สระน้ำ
ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%B2