#ทำไมปุ่มหยุดฉุกเฉิน(Emergency stop) ต้องใช้เป็นหน้า Contact NC ?
การออกแบบระบบควบคุมเครื่องจักร สิ่งที่ต้องเป็นอันดับแรกคือการออกแบบระบบความปลอดภัยของเครื่องจักร วันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องปุ่มหยุดฉุกเฉิน E-Stop หรือ Emergency โดยปกติแล้วปุ่มหยุดฉุกเฉินนี้เมื่อกดแล้วจะหยุดการจ่ายระบบไฟไปอุปกรณ์ ทำให้อุปกรณ์หยุดทำงานเพราะไม่มีไฟเลี้ยง ดังนั้นปุ่มหยุดฉุกเฉินควรจะใช้หน้า Contact ที่เป็น NC (Normal close) เท่านั้น
การใช้ปุ่มหยุดฉุกเฉินสำหรับหยุดเครื่องจักรในกรณีฉุกเฉินนั้น ควรจะตัดการทำงานของ Software และ Hardware
จากรูปใช้ปุ่มหยุดฉุกเฉิน 2 หน้า Contact เป็น NC (Normal Close) ทั้งคู่ Contact ที่ 1 ใช้สำหรับตัดสัญญาณ Input เข้า PLC Contact ที่ 2 ใช้สำหรับตัดสัญญาณ COM Output ของ PLC
Contact ที่ 1 ตัดการทำงาน Software เราจะใช้ Input X0 ของ PLC ในการทำงานของโปรแกรม ถ้าสัญญาณ X0 มีสถานะเป็น 1 โปรแกรม PLC ก็จะทำงาน แต่ถ้าสถานะ X0 เป็น 0 โปรแกรมก็จะไม่ทำงาน หมายความว่าอาจจะมีการกดปุ่มฉุกเฉินหรืออาจจะมีสายไฟขาด
***เหตุผลที่ไม่ใช้หน้า Contac No เพราะว่าเมื่อสายไฟขาด เราจะไม่สามารถรู้ได้เลยว่าสายไฟขาด เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินเครื่องจะไม่หยุดการทำงาน***
Contact ที่ 2 ตัดการทำงาน Hardware เราจะต่อ COM Output ของ PLC ผ่านปุ่มหยุดฉุกเฉิน เมื่อกดแล้วจะตัดไฟที่ไปเลี้ยง COM Output ของ PLC ทำให้อุปกรณ์ที่ต่อกับ Y0 ไม่ทำงาน
***เป็นตัดการทำงาน Hardware เพราะบางครั้ง Software อาจจะมีการทำงานผิดพลาดได้
COM4 COM 5 จะต่อกับไฟ 24 V โดยตรง ใช้สำหรับแจ้งสถานะของเครื่องจักร
CR: https://www.facebook.com/groups/1921965321456431/?epa=SEARCH_BOX
========================================================