Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 176,791
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 174,164
3 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 173,452
4 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,449
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,907
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 170,023
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,999
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 168,287
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 161,136
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,814
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,767
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,967
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 68,308
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,811
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 51,154
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 44,047
17 Industrial Provision co., ltd 39,844
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,794
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,707
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 35,034
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,968
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 32,315
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,731
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 31,460
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,971
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,961
27 P.D.S. Automation co.,ltd 23,340
28 AVERA CO., LTD. 23,098
29 เลิศบุศย์ 22,057
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,815
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,708
32 Electronics Source Co.,Ltd. 20,324
33 แมชชีนเทค 20,310
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,570
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,538
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 19,280
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,956
38 SAMWHA THAILAND 18,735
39 วอยก้า จำกัด 18,401
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,974
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,818
42 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,751
43 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,721
44 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,666
45 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,593
46 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,589
47 Systems integrator 17,150
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 17,094
49 Advanced Technology Equipment 16,928
50 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,893
25/10/2556 14:47 น. , อ่าน 6,742 ครั้ง
Bookmark and Share
ACB ทริปโดยไม่ทราบสาเหตุ?
โดย : Admin

      ในบางครั้ง ท่านที่รับผิดชอบดูแลระบบไฟฟ้าอาจเคยมีประสบการณ์ ACB ทริปและหลังจากสำรวจความผิดปกติของวงจรย่อยในส่วนต่างๆ แล้วพบว่าไม่มีส่วนใดเสียหายหรือทำงานผิดพลาดจนเกิดโอเวอร์โหลดอันเป็นสาเหตุให้เกิดการทริปนั้น แล้วเมื่อท่านต่อวงจรหรือสับ ACB เข้าไปใหม่ ระบบก็สามารถทำงานต่อได้ทันทีเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น (แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นกับกิจการหรือการผลิตของท่านต้องเกิดความเสียหายจากการหยุดชะงักของเครื่องจักรหรือกระบวนการผลิตแน่ๆ)

   ถ้าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวท่านอาจจะยอมรับได้แต่ถ้าเกิดขึ้นบ่อยครั้งเข้า ท่านจำเป็นต้องวิเคราะห์หาสาเหตุและแนวทางในการแก้ปัญหาไม่ให้เกิดขึ้นอีก บทความนี้จะให้ข้อมูลหรือแนวทางในการวิเคราะห์ปัญหาซึ่งเกิดจากตัว ACB เอง โดยอุปกรณ์ประกอบระบบอื่นๆ อยู่ในสภาวะปกติ 



สาเหตุที่เป็นไปได้ของ ACB ทริปโดยไม่ทราบสาเหตุ

  1. อายุการใช้งานและสภาพแวดล้อมในการใช้งาน แม้ว่าหน้าที่หลักของ ACB จะทำหน้าที่ตัดและต่อวงจรเมื่อเกิดกระแสเกินตามปริมาณกระแสที่ตั้งไว้หรือกรณีแรงดันตก แรงดันเกิน และกรณีไม่ครบเฟส โดยจะมีวงจรภายในที่ทำหน้าที่ตัดสินใจว่าจะตัดวงจรเมื่อใด การที่ ACB มีการติดตั้งใช้งานมาแล้วเป็นเวลานานมีความเป็นไปได้ว่าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ภายในที่ทำหน้าที่ตัดสินใจการตัดวงจร จะมีการเสื่อมสภาพทำให้เกิดการทำงานผิดพลาดได้ อย่างไรก็ทำตามปัญหาจากสาเหตุนี้จะเกิดกับ ACB ที่มีการติดตั้งใช้งานมาแล้วอย่างน้อย 5 ปี ภายใต้อุณหภูมิและความชื้นปกติ นอกจากนั้นฝุ่นละอองปริมาณมากที่สามารถเข้าไปภายในตัวอุปกรณ์ ACB ก็เป็นสาเหตุในเกิดการทำงานผิดพลาดได้เช่นกัน เนื่องจากเมื่อฝุ่นละอองรวมตัวกับความชื้นที่เกิดขึ้นบนแผงวงจรจะมีคุณสมบัติเป็นแผ่นฟิลม์บางๆ ที่มีความต้านทานไฟฟ้าอยู่ซึ่งสามารถนำกระแสไฟฟ้าได้และทำให้การรับส่งสัญญาณไฟฟ้าบนแผงวงจรผิดปกติได้ ซึ่งในกรณีนี้อาจทำการทดสอบการทำงานของ ACB ว่าทำงานถูกต้องหรือไม่ หรืออาจพิจารณาทำการเปลี่ยนทดแทน
     
  2. เคยผ่านการลัดวงจรอย่างรุนแรงในกรณีที่ระบบไฟฟ้าที่ติดตั้ง ACB เคยมีประวัติการลัดวงจรอย่างรุนแรงมาก่อนอาจส่งผลกระทบอย่างถาวรต่อวงจรภายใน ซึ่งอาจเป็นผลจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่รุนแรงขณะที่เกิดการลัดวงจรและขณะปลดหน้าสัมผัสภายใน ซึ่งประวัติการลัดวงจรอย่างรุนแรงนี้จะต้องถูกนำมาร่วมวิเคราะห์ด้วย
     
  3. มีการใช้งานภายใต้ระบบไฟฟ้าที่มีปัญหาแรงดันและกระแสฮาร์มอนิก ดังที่กล่าวมาแล้วในช่วงต้นว่า ACB มีฟังก์ชั่นในการป้องกันทางไฟฟ้ามากกว่าปลดวงจรเมื่อกระแสเกินพิกัดเท่านั้น นอกจากนั้นผู้ใช้งานยังสามารถตั้งระดับกระแสและแรงดันสำหรับการปลดวงจรได้ การที่ ACB สามารถทำฟังก์ชั่นเช่นนี้ได้ ภายในจะต้องมีวงจรที่ทำหน้าที่ตรวจวัดปริมาณหรือขนาดของทั้งแรงดันและกระแสไฟฟ้าเพื่อที่จะนำมาเปรียบเทียบกับค่าที่ผู้ใช้งานตั้งเอาไว้ เพื่อที่จะประมวลผลและตัดสินใจปลดวงจรหรือทริปเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับระบบโดยรวม โดยทั่วไปในการออกแบบวงจรตรวจวัดแรงดันและกระแสไฟฟ้าจะทำบนสมมุติฐานที่ว่ารูปคลื่นของแรงดันและกระแสไฟฟ้าเป็นรูปคลื่นไซน์หรือใกล้เคียงรูปคลื่นไซน์ จึงจะสามารถคำนวนค่ากระแสและแรงดันที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง แต่ถ้าระบบไฟฟ้านั้นมีปัญหาฮาร์มอนิกหรือมีความเพี้ยนของรูปคลื่นในระดับสูงเป็นไปได้ว่าวงจรตรวจวัดภายในจะตัดสินใจผิดพลาดและเกิดการทริปโดยที่ท่านไม่ทราบสาเหตุได้


     

 

รูปตัวอย่างระบบไฟฟ้าและ ACB ที่ทริปบ่อยเนืองจากปัญหาฮาร์มอนิก
 
ตัวออย่างรูปคลื่นแรงดัน กระแส และส่วนประกอบฮาร์มอนิกของกรณีที่ทำให้ ACB ทริปโดยเกิดจากปัญหาฮาร์มอนิก


 


รูปตัวอย่างตู้ MDB ที่มีการใช้งาน ACB แห่งหนึ่ง พบว่าหลังจากติดตั้งเครื่องจักรที่สร้างกระแสฮาร์มอนิกเพิ่มเติมให้แก่ระบบไฟฟ้า หลังจากปรับเพิ่มพิกัดกระแสทริปของ ACB เพิ่มขึ้นจนมากกว่ากระแสใช้งานของโหลดอย่างมากแล้ว ACB ก็ยังทริปอยู่บ่อยครั้งซึ่งหลังจากตรวจสอบด้วย Power Analyzer พบว่ามีปริมาณของแรงดันและกระแสฮาร์มอนิกในปริมาณมาก ซึ่งเป็นสาเหตุของการทำงานผิดพลาดของ ACB ดังกล่าว

 

 

บทความโดยบริษัท เพาเวอร์ ควอลิตี้ ทีม จำกัด

 

หากมีข้อสงสัยหรือต้องการศึกษาบทความเพิ่มเติมสามารถติดตามได้ที่ www.pq-team.com

========================================================

 

 

 

21 November 2024
:: MEMBER LOGIN
E-mail Account
Password
:: OUR SPONSORS
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD