โดยพื้นฐานความเข้าใจของวิศวกรไฟฟ้าทั่วไปนั้นค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ Power Factor หรือเรียกย่อๆ ว่า PF. ที่นิยามจากค่า cos(θ) ของมุมของกระแสและแรงดันที่ความถี่เดียวกันที่เกิดขึ้นดังแสดงในหัวข้อ Power Factor คืออะไร?
ซึ่งความเข้าใจนี้ถูกต้องสำหรับแรงดันและกระแสไฟฟ้าที่มีเฉพาะความถี่มูลฐานเท่านั้น (สำหรับประเทศไทย คือ 50Hz) โดยไม่มีความถี่อื่นหรือฮาร์มอนิกของแรงดันและกระแสมาปะปน เนื่องจากในปัจจุบันโหลดที่มีการใช้งานมีคุณสมบัติไม่เป็นเชิงเส้น (Non-linear load) ซึ่งทำให้กระแสไฟฟ้าที่ไหลในระบบมีส่วนประกอบของกระแสฮาร์มอนิกในปริมาณมาก และเป็นสาเหตุหลักของความเพี้ยนฮาร์มอนิกในขณะเดียวกัน ดังนั้นการนิยามหรือการคำนวนค่า Power Factor ของระบบที่มีปริมาณฮาร์มอนิกในระดับสูงจึงไม่สามารถใช้เฉพาะค่า cos(θ) มาระบุค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ (PF.) ได้
ในการประเมิณค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ (PF.) ของระบบที่มีแรงดันและกระแสฮาร์มอนิก การระบุค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ (PF.) จะระบุในรูปของ Total Power Factor
กรณีไม่มีแรงดันฮาร์มอนิก (THDv=0) โดยมีเฉพาะกระแสฮาร์มอนิกในระบบ
ในกรณีนี้ Distortion PF. จะมีค่าเท่ากับ |
และเมื่อนำค่า THDv และ THDi ไปพล็อตกราฟจะได้ดังรูปที่3 |
จะเห็นได้ว่าในกรณีที่มีทั้งแรงดันและกระแสฮาร์มอนิก(Harmonic Current) เกิดขึ้นในระบบค่า Distortion PF. จะมีค่าลดต่ำลงตามการเพิ่มขึ้นตามปริมาณฮาร์มอนิก (Harmonic) ที่เกิดขึ้นและก็จะทำให้ค่า Total PF. ในสมการที่ 1 ลดลงเช่นเดียวกัน
บทความโดยบริษัท เพาเวอร์ ควอลิตี้ ทีม จำกัด
หากมีข้อสงสัยหรือต้องการศึกษาบทความเพิ่มเติมสามารถติดตามได้ที่ www.pq-team.com
========================================================