Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 176,791
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 174,164
3 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 173,452
4 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,449
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,907
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 170,023
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,999
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 168,287
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 161,136
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,814
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,767
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,967
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 68,308
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,811
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 51,154
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 44,047
17 Industrial Provision co., ltd 39,844
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,794
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,707
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 35,034
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,968
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 32,315
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,731
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 31,460
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,971
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,961
27 P.D.S. Automation co.,ltd 23,340
28 AVERA CO., LTD. 23,098
29 เลิศบุศย์ 22,057
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,815
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,708
32 Electronics Source Co.,Ltd. 20,324
33 แมชชีนเทค 20,310
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,570
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,538
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 19,280
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,956
38 SAMWHA THAILAND 18,735
39 วอยก้า จำกัด 18,401
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,974
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,818
42 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,751
43 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,721
44 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,666
45 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,593
46 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,589
47 Systems integrator 17,150
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 17,094
49 Advanced Technology Equipment 16,928
50 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,893
15/10/2556 14:18 น. , อ่าน 7,242 ครั้ง
Bookmark and Share
สาเหตุของ Capacitor Bank อายุสั้น/ระเบิด
โดย : Admin

 ตามปกติแล้วคาปาซิเตอร์ที่ใช้งานสำหรับวัตถุประสงค์ในการแก้ค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้า (Power Factor: PF.) ที่เราเรียกกันสั้นๆว่า Capacitor Bank นั้น อย่างน้อยที่สุดควรจะมีอายุการใช้งานต่อเนื่องเกิน 2 ปีที่อุณภูมิไม่เกิน 46 องศาเซลเซียส  (อ้างอิงจากเอกสารการรับประกันคุณภาพการใช้งานจากผู้ผลิต Capacitor Bank)


สาเหตุหลักๆ ที่ทำให้อายุการใช้งาน Capacitor Bank สั้นหรือเสียหายอย่างรุนแรงนั้นสามารถแบ่งออกได้ 3 สาเหตุดังนี้

1)   อุณหภูมิที่ตัว Capacitor Bank ขณะทำงานสูง โดยอาจมีสาเหตุจากค่ากำลังงานสูญเสียภายในตัวเองรวมกับอุณหภูมิภายในตู้สูงอันเนื่องมาจากการระบายความร้อนไม่ดีหรือติดตั้งอยู่ในบริเวณที่มีความร้อนสูงมาก โดยรูปที่ 1 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างอายุการใช้งานที่น้อยลงจาก 100% ที่อุณหภูมิมากกว่า 46 องศาเซลเซียส ความเสียหายจากอุณหภูมิขณะทำงานนี้ไม่ได้ทำให้อุปกรณ์ Capacitor Bank เสียหายในทันทีแต่จะทำให้ค่าความจุไฟฟ้าของตัวอุปกรณ์ลดลงเรื่อยๆ จนทำให้ค่า kVar ที่ต้องการเพื่อใช้ชดเชยกำลังงานรีแอคทีฟไม่เพียงพอต่อการเพิ่มค่า Power Factor ของระบบ 
 

รูปที่ 1 กราฟความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิขณะทำงานและเปอร์เซ็นต์อายุการใช้งาน


 

2)  ค่าแรงดันขณะทำงานสูงเกินพิกัดของตัว Capacitor Bank
         ความเสียหายจากกรณีนี้มีผลทั้งอายุการใช้งานที่สั้นลงดังแสดงในรูปที่ 2 หรือถ้าขนาดของแรงดันใช้งานสูงเกินพิกัดมากๆ ก็อาจเป็นสาเหตุให้ Capacitor Bank เสียหายรุนแรงได้ในทันที ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดจากปรากฏการณ์เรโซแนนซ์ 

 

 
รูปที่ 2 กราฟความสัมพันธ์ระหว่างเปอร์เซ็นต์พิกัดแรงดันขณะทำงานและเปอร์เซ็นต์อายุการใช้งาน
 

3)  เกิดจากฮาร์มอนิกในการติดตั้งใช้งาน

   Capacitor Bank ในระบบไฟฟ้าที่มีการติดตั้งเครื่องจักรที่มีวงจรอิเล็กทรอนิกส์กำลังเป็นส่วนประกอบ เช่นอินเวอร์เตอร์ในระบบขับเคลื่อน หรือการแปลงความถี่ต่างๆ หรือแม้กระทั่งอุปกรณ์เพื่อการอนุรักษ์พลังงานในอาคาร เหล่านี้ล้วนเป็นแหล่งกำเนิดหรือสาเหตุของกระแสและแรงดันฮาร์มอนิกในระบบ ซึ่งเมื่อเกิดฮาร์มอนิกขึ้นในระบบขึ้นแล้วจะทำให้แรงดันและกระแสที่เกิดขึ้นที่ Capacitor Bank ขณะทำงานสูงกว่าปกติหรืออาจเรียกว่าเกิดโอเวอร์โหลดขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดความร้อนสูงสะสมภายในซึ่งถ้าความร้อนที่เกิดขึ้นนี้มีค่าสูงมากเกินก็จะทำให้เกิดความดันสูงภายในโครงสร้างของ Capacitor Bank อันเป็นสาเหตุให้เกิดการระเบิดของ Capacitor Bank ได้

 

 

 
รูปที่ 3 ตัวอย่างรูปคลื่นที่มีส่วนประกอบฮาร์มอนิก
 

ตัวอย่างรูปคลื่นแรงดันและกระแสที่เกี่ยวข้องกับฮาร์มอนิก
รูปที่ 4.1 ตัวอย่างรูปคลื่นแรงดัน (THDV<2%) ขณะไม่ได้จ่ายโหลดที่สร้างกระแสฮาร์มอนิก รูปที่ 4.2 ตัวอย่างรูปคลื่นแรงดัน (THDV>6.9%) ขณะจ่ายโหลดที่สร้างกระแสฮาร์มอนิก รูปที่ 4.3 ตัวอย่างรูปคลื่นเปรียบเทียบกระแสที่ Capacitor Bank ขณะต่อโหลดที่สร้างกระแสฮาร์มอนิก

 

 

บทความนี้โพสโดย  phumin@pq-team.com   
นายเอ็นจิเนียร์ของขอบคุณด้วยใจ

 

========================================================

 

 

 

21 November 2024
:: MEMBER LOGIN
E-mail Account
Password
:: OUR SPONSORS
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD