โดย: Nong Fern Daddy
มารู้จักวงการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมกันต่อกับ "บริษัทให้บริการเฉพาะทาง" (Service company)
|
หายมาววววคลื่นกันหรือยัง เรามาทำความรู้จักวงการฯกันต่อ ความเดิมจากตอนที่แล้วเราได้รู้จักกับ บริษัทน้ำมันที่เปรียบเหมือนเจ้าของบ้าน รู้จักกับบริษัทแท่นเจาะที่เปรียบเหมือนผู้รับเหมาสร้างบ้าน
คงยังจำกันได้สมัยเรากัดฟันถอนขนหน้าแข้งสร้างบ้าน เราไม่ได้จ้างผู้รับเหมาเจ้าเดียวใช่ไหม บางอย่างที่เราไม่พิถีพิถันมากนัก(ให้มันเสร็จๆไป) เราก็ให้ผู้รับเหมาไปจ้างผู้รับเหมาช่วงมาทำหรือตัวผู้รับเหมาจะทำเองเราก็ไม่แคร์อะไร ส่วนมากก็พวก เดินสายไฟ เดินท่อประปา ตอก(หรือเจาะ)เสาเข็ม แต่บางงานอย่างเราก็จะอยากมีสไตล์ (เรื่องมาก) แหม ... ชั้นอยากได้ครัวแบบนี้ กลัวผู้รับเหมาทำลวกๆไม่ถูกใจ ชั้นจะจ้างช่างทำครัวโดยเฉพาะจากอิตาลี แล้วชั้นจะเลือกอุปกรณ์ครัวจากฝรั่งเศษ พวก build in ติดพนังก็ต้องมาจากสวีเดน (เสร็จแล้วชั้นก็ไปใช้ครัวไทยนอกบ้านโขลกส้มตำซุปหน่อไม้ ทำแกงเขียวหวาน นั่งชันเข่า จกข้าวปุ่น เคี้ยวจั๊บๆ ... ฮ่าๆ) หรือ บางคนก็จ้าง ช่างมุงกระเบื้องหลังคา ช่างปูกระเบื้อง หรือ ช่างเหมาทำห้องน้ำต่างหาก ตั้งแต่ออกแบบ ยันปรึกษาแนะนำยี่ห้องสุขภัณฑ์ (ที่นั่งเบ่งตอนท้องผูกแล้วยังดูงามอย่างกับน้องแพนเค้ก) จ้างต่างหากจากผู้รับเหมาหลัก ตั้งขอสังเกตุไว้นิดนึงว่า งานเดียวกันบางคนก็ให้ผู้รับเหมาหลักทำ บางคนก็พิถีพิถันจ้างช่างเฉพาะทางมาทำ ขึ้นอยู่กับว่าใครให้ความสำคัญกับอะไร ไม่มีผิดไม่มีถูก พูดให้ดูดีก็ว่า "ตามรสนิยม" หรืออีกนัยหนึ่ง "ความเรื่องมาก" นั่นแหละครับ |
ร่ายมาเสียยาว เพื่อจะเทียบเลียบเคียงให้เห็นว่า ในวงการสำรวจและผลิดปิโตรเลียมก็คล้ายๆกัน บริษัทให้บริการเฉพาะทางเหล่านี้มีดารดาษกลาดเกลื่อนวงการไปหมด บ้างก็ให้บริการอย่างเดียว ยึดหลัก รู้อะไรรู้กระจ่างแต่อย่างเดียวแต่ให้เชี่ยวชาญเถิดจะเกิดผล บ้างก็มีให้บริการหลายอย่างเพราะยึดหลัก diversification (หลากหลาย) หรือ ไม่เอาไข่ทั้งหมดใส่ตระกร้าใบเดียวกัน เผื่ออีกอย่างหนึ่งเจ๊ง คู่แข่งเยอะ ก็ยังพอมีอีก 2-3 อย่างพอได้ให้มีกล้อมแกล้มทำมาหากิน พอได้จ่ายดอกธนาคาร (ฮ่า) บางบริษัทเลยเถิดไปจนถึงยึดนโยบาย one stop service มาหาฉานที่นี่ที่เดียวนะนาย ฉานมีครบนะนาย เราเรียกบริษัทกลุ่มนี้ว่า Service company
บริษัทให้บริการเฉพาะทาง (Service company)
บริษัทกลุ่มนี้จะไม่เป็นเจ้าของหลุมน้ำมัน (ตูไม่ขุด) ไม่ประมูลสัปประทานแหล่งน้ำมัน (ตูไม่เสี่ยง) ไม่ซื้อขายน้ำมัน (ตูไม่เก็งราคา) เหมือนบริษัทน้ำมัน (Oil company) ไม่เป็นเจ้าของแท่นเจาะ (ลงทุนเยอะ ตูม่ายอาว) เหมือนบริษัทแท่นเจาะ(Rig company) อาชีพหลักของพี่แกคือกะขายบริการอย่างเดียว เน้นนะครับว่า ขายบริการ (Service) ไม่ได้ขายสินค้า (goods) แหม พอพูดถึงตรงนี้แล้วมันคันปากยิบๆ ต้องยกตัวอย่างที่อาจารย์ท่านหนึ่งเคยยกตัวอย่างสมัยเรียนโทว่า สินค้าและบริการต่างกันอย่างไร ตัวอย่างแกฮามาก เห็นภาพแจ่มไปเลย แกบอกว่า บริการเป็น intengible ที่คุณคิดอยู่ในหัวนะถูกแล้วครับ แปลว่าจับจูบลูบคลำขยำขยี้สูสีดู๋ดี๋จู๋จี๋ไม่ได้ เช่น จ่ายตังค์ดูภาพโป๊ ดูจ่ำบ๊ะ หรือดูแคมฟรอค(ผมเติมเองอันนี้ สมัยแกสอนไม่มีแคมฟรอค อิอิ) ถือเป็นบริการ แต่ถ้าเอาไอ้ที่เห็นในภาพ หรือบนเวที กลับไปบ้านเป็นเจ้าของอย่างถาวรได้เขาจึงจะเรียกว่าสินค้า (ฮากันตรึมทั้งห้อง) เสร็จแล้วแกก็ยกอีกสามสี่คำที่เกี่ยวเนื่อง เช่น Warranty, Void, Surcharge, Premium ฮาๆทั้งนั้น ให้ตายซิ ไม่เคยเข้าสายเลยวิชานี้
ธรรมชาติของบริษัทกลุ่มนี้คือ คือจะอยู่ติดที่ ก่อนจะไปตั้งสาขาที่ไหน จะต้องมั่นใจในศักยภาพของกลุ่มแปลงสัมประทาน ไม่ใช่ว่าได้งานกับบริษัทน้ำมันไหนแล้วก็เฮโลสาระพากันไปเหมือนบริษัทแท่นเจาะ เพราะหม้อข้าวเขาไม่ได้ขึ้นกับบริษัทน้ำมันเจ้าเดียว เขาต้องดูรวมๆทั้งภูมิภาค เช่น อ่าวไทยเรามีทั้งเชฟรอน ปตท.สผ. เพิร์ลออย ฯลฯ บนบกก็มี ปตท.สผ. แพน ฯลฯ ถ้าเขาไม่มั่นใจในศักยภาพเขาก็จะใช้วิธีให้บริการจากฐานที่มั่นของเขาที่ใกล้ที่สุด เช่น ในสมัยแรกๆของอ่าวไทยที่ยังไม่โชติช่วงชัชวาล บริษัทพวกนี้ก็ให้บริการ ส่งคนส่งของมาจากมาเลเซียหรืออินโดฯ ที่ๆเขามีฐานปฏิบัติการอยู่แล้ว
ดังนั้นบริษัทฯกลุ่มนี้ที่มีสาขาอยู่ในบ้านเฮาเกิน 5-7 ปี ขึ้นไปจึงมีความเสี่ยงค่อนข้างต่ำ เวลาไปสัมภาษณ์จะรู้ได้ไงว่าเป็นบริษัทกลุ่มนี้ ก็ถามสิครับ บริษัทยูเป็น Service company, Rig company หรือ Oil company? แค่นี้คนสัมภาษณ์ก็รู้แล้วว่าเราทำการบ้านมา (อย่า BS ตูนะเฟ้ย- BS = Bull S h i t = แหกตา, มั่ว ฯลฯ)
การทำงานของบริษัทพวกนี้จะมีทั้งแบบมีตารางทำงานตายตัว เช่น 2/2 3/3 4/4 หรือ แบบมีงานก็ขึ้นฮ.ไปทำ จะไป 3 วัน จนถึง 4 สัปดาห์ ก็แล้วแต่ธรรมชาติของงาน เสร็จแล้วก็กลับ ส่วนจะต้องเข้าออฟฟิตหรือเปล่าก็ขึ้นกับงานอีก บางงานก็ต้องเข้า บางงานก็ไม่ต้อง แต่โดยส่วนมากต้องเข้า เพราะถือว่าคุณทำงานประจำในออฟฟิต แม่เจ้าประคุณก็ต้องใส่ใจไว้นิดว่าลักษณะงานพ่อปลาไหลของคุณ อยู่ในข่ายไหน จะได้ไม่ออกงิ้วผิดเวล่ำเวลา (ออกงิ้วทั้งที่ต้องให้จะจะเนื้อๆ จับให้มั่นคั้นให้ตาย ... อะจ๊ากกกก) ประเภทของพนักงานก็จะมีการกำหนดตายตัวลงไปในตำแหน่งที่รับเข้าทำงาน หรือเจรจาต้าอวย จับไม้สั้นไม้ยาวกันตอนสัมภาษณ์ แต่ที่สำคัญอย่าปล่อยให้กำกวมแทงกั๊กกันเอาไว้ ถ้าเขาไม่บอกก็จงถามว่า ตำแหน่งนี้ หรือตัวตูนี้ เป็นพวกไหน อ้าวแล้วพวกไหนล่ะ เออ ลืมบอกไป อิอิ พวก HR เขาประดิษฐ์ประดอยศัพท์ใช้อยู่หลายคำเพื่อถนอมน้ำใจกัน แต่ล่ะบริษัทก็ใช้ศัพท์แตกต่างแบ่งย่อยกันไป แต่ความหมายมันก็แบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆที่ลูกจ้างอย่างผมขอเรียกว่าแบบฟันธงจะๆว่า พวก Inter, พวก local และ พวกก่ำกึ่ง
พวก Inter จะถูกรับมาเพื่อ go inter อย่างแท้จริง คือเขาจะส่งไปประจำที่ไหน เมื่อไร นานเท่าไร ก็ได้ ภาษาอังกฤษคุณต้องดีถึงดีมาก ถ้าได้ภาษาที่สามด้วยก็จะมีภาษีมีอากร(เกี่ยวป่ะ)ดีขึ้น คุณต้องพร้อมย้ายก้นย้ายพุงไปตามความต้องการของบริษัททุกเมื่อ ไม่มีกระจองงองแงบีบน้ำตาอ้างโน้นอ้างนี่ หอบลูกหอบเต้า(มีกี่เต้าก็หอบกันไปให้หมด ฮ่า) มีกี่กิ๊กก็ขนกันไป บริษัทฯจ่ายค่าขนย้าย จ่ายค่ารร.ลูก(ไม่รวมกิ๊ก ส่วนมากรร.อินเตอร์) เขาเรียกว่าต้องมี mobility สูง (ความสามารถในการเคลื่อนย้าย) ค่าตอบแทนและโอกาสก้าวหน้าในการงานก็สูงตามกันไป เงินเดือนก็สกุลดอลฯเป็นหลัก มีตัวคูณความลำบากในพื้นที่ปฏิบัติงาน ภาษีบริษัทจ่ายให้ แต่คุณต้องโดนหักรายได้ส่วนหนึ่งเข้าบริษัทเพื่อชดเชยภาษีส่วนนี้ด้วยนะครับ (HypoTax) และมีรายละเอียดผลประโยชน์อีกมากมาย ... เมื่อกว่า 20 ปีก่อน พ่อน้องเฟิร์นและน้องภัทรก็แจ้งเกิดจากตรงนี้แหละครับ
Local กลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่บริษัทไม่ได้มีแผนว่าจะให้ย้ายไปไหน อยู่มันที่นี่แหละ บ้านใครบ้านมัน ข้อดีก็คือคุณไม่ต้องวุ่นวายกับการย้ายบ้าน อยู่กับกิ๊กได้นานๆ (อิอิ) ถ้ามีกิจการร้านค้าธุรกิจส่วนตัวก็ไม่ต้องห่วงว่าจะไม่มีใครมาดูแลต่อถ้าต้องย้าย หรือต้องรับผิดชอบดูแลพ่อแม่ปู่ย่าตายาย หรือต้องอยู่ให้ทุนการ(นัก)ศึกษาเพื่อความต่อเนื่องและเพื่อคุณภาพของอนาคตของชาติ (ฮ่า) โอกาสเติบโตก็ไม่มากมายอะไร เหมาะกับหมู่เฮาที่ยึดหลักพอเพียงหรือไม่ก็มีแหล่งรายได้มาจากหลายที่ ได้เงินเดือนเป็นเงินสกุลใครสกุลมัน ภาษีก็จ่ายกันเอง ไม่มีตัวคูณความลำบากในพื้นที่ปฏิบัติงาน (ก็บ้านใครบ้านมันนี่หว่า)
สุดท้ายก็พวกก่ำกึ่ง คือพวกโหงวเฮ้งไม่ชัดเจน แทงกั๊กเอาไว้เผื่อเลือกในอนาคต ก็ต้องแสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์ให้เห็นก่อนแล้วค่อยว่ากัน
อยากรู้หรือยังครับว่ามีบริษัทอะไรบ้าง อย่างที่ผมฝอยไว้ข้างต้นล่ะครับว่ามีเป็นร้อย แค่ลอง google คำว่า Oil field service company จะพบว่าขึ้นมาเป็นร้อย(เป็นอย่างน้อย) แต่ที่ใหญ่ๆ 4 อันดับแรกของโลกคือ Baker Halliburton Schlumberger Weatherford ไม่ได้แปลว่า Baker ใหญ่ที่สุดนะครับ ผมเรียงตามลำดับตัวอักษร เพราะผมไม่รู้ว่าใครหญ่ายกว่าใคร ลองดู Financial report ปีล่าสุดก็คงพอบอกได้ สำหรับเราๆท่านๆที่ไม่ได้หน้าเงิน เอ๊ย จบการเงินหรือบัญชี ก็ดูมันง่ายๆตรงบรรทัดสุดท้ายที่มันเขียนว่า Asset นั่นแหละครับ หรือ เอา Liability+Equity ก็ได้ครับ มันก็เท่ากันอยู่ดี (อุตส่าห์เรียนการเงินมาตั้งหลายตัว จำได้แค่นี้ :P ) คราวนี้ก็เทียบได้แล้วว่าของใครหญ่าย เอ๊ย ใครหญ่ายกว่าใคร ข่าวดีก็คือ ทั้ง 4 บริษัทชั้นนำมีสาขาในกรุงเทพครับ ถ้า google ไม่เจอก็หลังไมค์นะครับ จะบอกให้ว่าสิงสถิตอยู่ที่ไหนกันบ้าง
ถ้าเลือกได้ แนะนำให้เกาะบริษัทฯใหญ่ๆไว้ในช่วงเริ่มแรก ทนๆความหญ่าย ความไม่ยืดหยุ่น อืดอาดเชื่องช้า เรื่องมาก และ กฏกติกามารยาท ของมันไปก่อน เพราะสิ่งที่เราจะได้คือ แบบแผนการทำงานที่เป็นระบบระเบียบ ได้ระบบการบริหารงานที่ถูกต้อง และการได้รับการฝึกอบรมที่ครบถ้วนหลากหลาย และสามารถเปลี่ยนไปทำงานในส่วนอื่นๆได้ เพราะบริษัทพวกนี้จะมีหลายบริการ ถ้าเราพบว่าเราไม่ถนัดงานที่เราสมัครเข้ามาในตอนแรกก็มีโอกาสย้ายไปแผนกอื่น ต่างจากบริษัทที่มีให้บริการอยู่ไม่กี่อย่าง ไม่มีให้เลือกถ้าเข้าไปแล้วพบว่าเราไม่ชอบ และการทำงานก็มักจะแบบลูกทุ่งๆ ไม่มีการฝึกอบรมเป็นเรื่องเป็นราว
อยากรู้อะไรเพิ่มเติมก็หลังไมค์นะครับ (ปล. ไม่รับฝากงาน หุหุ)
เหลือบริษัทอีกประเภทหนึ่งคือ บริษัทขาย หรือ ให้บริการต่อเนื่อง (Good or services supplier) พวกนี้น่าสนใจมากๆครับ ผมตั้งชื่อเล่นๆให้พวกนี้ว่า พวก low profile high profit ยั่วให้อยาก(รู้)แล้วจากไป (อีกแล้ว) ... ติดตามตอนต่อไปนะครับ ... บ๊ายบาย