ที่มา: การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอ้อมน้อย
|
ผู้ใช้ไฟฟ้าที่ติดตั้งมิเตอร์แรงต่ำ 1 เฟส เช่น 5/(15) หรือ 15(45) A สำหรับที่อยู่อาศัย สามารถตรวจสอบมิเตอร์ของท่านด้วยตนเองได้ดังนี้
- นำบิลค่าไฟเดือนก่อนที่เจ้าหน้าที่จด มาเปรียบเทียบกับมิเตอร์ ว่าตรงกันไหม
- ปลดเบรคเกอร์หรือคัทเอาท์ลง แล้วตรวจสอบว่ามิเตอร์ยังหมุนอีกหรือไม่
- สับเบรคเกอร์หรือคัทเอาท์ขึ้น ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านให้หมด แล้วตรวจสอบมิเตอร์ว่ายังหมุนอีกหรือไม่
ถ้ามิเตอร์ยังคงหมุนอยู่ อาจเกิดจากไฟฟ้าลัดวงจรลงดิน ควรให้เจ้าหน้าที่ หรือช่างไฟ ตรวจสอบหาสาเหตุต่อไป
สำหรับผู้ใช้ไฟที่ติดตั้งมิเตอร์ แต่อยากให้ทางการไฟฟ้าทดสอบสามารถดำเนินการดังนี้
|
ตรวจสอบมิเตอร์ตามที่ผู้ใช้ไฟร้องขอ
ผู้ใช้ไฟฟ้ารายใดที่ข้องใจว่ามิเตอร์คลาดเคลื่อน มิสิทธิ์ที่จะร้องขอให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคทำการทดสอบมิเตอร์ดังกล่าวได้ โดนการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจะทดสอบติดตั้งมิเตอร์เปรียบเทียบเป้นเวลา 24 ชั่วโมง หากเป็นมิเตอร์แรงสูง อาจจะเปรียบเทียบโดยใช้ Rotating Sub Standard หรือนำมเตอร์มาตรวจสอบที่กองมิเตอร์ และจะถือผลการทดสอบมิเตอร์ที่คลาดเคลื่อนไม่เกิน +/- 2.5 % ถือว่ามิเตอร์นั้นถูกต้อง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจะคิดค่าใช้จ่ายในการทดสอบดังนี้
1. มิเตอร์แรงต่ำ
1.1 มิเตอร์แรงต่ำ ชนิด 1 เฟส ค่าทดสอบ 100.- บาท
1.2 มิเตอร์แรงต่ำ ชนิด 3 เฟส ค่าทดสอบ 300.- บาท
1.3 มิเตอร์แรงต่ำประกอบ ซีที ค่าทดสอบ 500.- บาท
2. มิเตอร์แรงสูง
2.1 มิเตอร์แรงสูง ค่าทดสอบ 2,000.- บาท
2.2 มิเตอร์แรงสูงชนิดพิมพ์ตัวเลข ค่าทดสอบ 3,000.- บาท
ถ้าผลการทดสอบหากคลาดเคลื่นแสดงค่าเกิน +/- 2.5 % การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจะเปลี่ยนมิเตอร์ให้ใหม่ และไม่คิดค่าตรวจสอบมิเตอร์ กับทั้งจะปรับปรุงเพิ่ม – ลดหนี้ส่วนที่คลาดเคลื่อนจากจำนวนที่ถูกต้องให้กับค่าไฟฟ้าในเดือนถัดไป
เพิ่มเติม :: ไปเห็นข้อมูลในเว็บไชต์แห่งหนึ่ง ซึ่งมีคนถามและมีคนตอบ ดูแล้วน่าสนใจดังนี้
ลองอ่านดู!!! เผื่อมีประโยชน์กับตัวท่าน
กรณีบ้านไม่มีคนอยู่ ไม่มีเครื่องใช้ไฟฟ้า ไม่ได้เปิดไฟ แต่เสียค่าไฟเดือนล่ะ สองร้อยกว่าบาท
ผิดปกติหรือเปล่าค่ะ?
. . . ขอตอบว่า ผิดปรกติครับ
จะมีวิธีการเช็คอย่างไร
. . . เช็คได้ด้วยการเดินไปดูที่มิเตอร์ ว่า หมุนหรือไม่ . . . ถ้ามิเตอร์หมุน แสดงว่า มีการใช้ไฟฟ้า
. . . วิธีตรวจสอบ
. . . ยกคัทเอ๊าในบ้าน ถ้ามิเตอร์ยังหมุนอยู่ แสดงว่า มีการใช้ไฟฟ้า ระหว่าง มิเตอร์ มาถึงคัทเอ๊าในบ้าน . . . ก็ต้องหาดูว่า มีใครแอบต่อพ่วงสายไฟหรือไม่(ขโมยไฟจากบ้านเราไปใช้) หรือมีอะไรมาทำให้สายไฟทั้งสองเส้นต่อถึงกัน เช่น จิ้งจก งู ตุ๊กแก ฯลฯ
. . . สับคัทเอ๊าในบ้าน(ให้ไฟเดินเข้าบ้าน) ถ้ามิเตอร์หมุน แสดงว่ามีการใช้ไฟฟ้า (วงจรไฟฟ้าภายในบ้าน) หรือช๊อต หรือไฟรั่ว หรือมีใครมาแอบต่อพ่วงเอาไฟจากบ้านเราไปใช้
. . . ถ้ามิเตอร์ไม่หมุน ก็ อย่าเพิ่งไว้วางใจ อาจมีการต่อไฟจากบ้านเราไปใช้ แต่ ตอนนี้เขาไม่ได้ใช้ไฟ เพราะเขารู้ว่าเรามาที่บ้าน (ไม่งั้นจะเสียเงินตั้ง 200 กว่าบาทเหรอ)
จะมีวิธีแก้ไขอย่างไรบ้าง
. . . ยกคัทเอ๊าครับ
. . . ถ้ายังเสียเงิน 200 กว่าบาทอยู่อีก แสดงว่า เขาต่อสายไฟ(ขโมยไฟจากบ้านเราไปใช้) ในช่วงระหว่าง มิเตอร์ มาถึงคัทเอ๊า(อาจจะปีนขึ้นไปต่อสายที่อยู่บนเพดาน)
. . . ถ้าเสียเงินเดือนละ 40 - 50 บาท(ปรกติจะเสียประมาณนี้) . . . แสดงว่า เขาต่อไฟจากภายในบ้านของเราไปใช้ (ต่อภายในบ้าน/จากข้างฝาบ้านที่อยู่ติดกัน) แต่ตอนนี้ เรายกคัทเอ๊าแล้ว เขาก็ใช้ไฟจากบ้านเราไม่ได้
. . . วิธีแก้ไข . . .
. . . ต้องเปิด ปลั๊ก และ SW.ไฟ ที่ฝาบ้านที่อยู่ติดกับเพื่อนบ้าน-ทุกจุด สังเกตดูข้างใน ว่าห้องข้างเคียง ได้ต่อสายไฟจากห้องของเราไปใช้ หรือไม่ . . . ถ้าพบ ก็ควรถ่ายรูปไว้เป็นหลักฐาน+ใบเสร็จรับเงินค่าไฟฟ้า แล้วสามารถดำเนินคดี ข้อหาลักทรัพย์+เอาเงินคืนพร้อมดอกเบี้ยได้ครับ
. . . หรือ ถ้าเป็นบริเวณที่ถูกน้ำท่วม . . . ก็ควรเปิดปลั๊ก / SW.ไฟ ทุกๆจุดที่ถูกน้ำท่วม ออกมาทำความสะอาด หรือเปลี่ยนใหม่เสียเลยครับ
ตอบให้หมดแล้วนะครับ ถ้ายังไม่เข้าใจ กรุณาอ่านใหม่อีกครั้งหนึ่งครับ