กับดักฟ้าผ่าคือบริภัณฑ์ไฟฟ้าที่ใช้ในระบบไฟฟ้าแรงดันปานกลาง ( Medium Voltage ) หรือ 1000 โวลท์ขึ้นไป เพื่อทำหน้าที่ป้องกันแรงดันเกิน ( Overvoltage ) ซึ่งอาจเกิดจากฟ้าผ่า ( Lightning ) หรือการปิด-เปิดวงจรของอุปกรณ์ (Switching Surge )
การทำงานของ LA
โดยทั่วไปในขณะแรงดันปกติ ตัว LA จะมีอิมพีแดนซ์สูงมาก และมีกระแสรั่วไหล ( Leakage Current ) น้อยมาก แต่เมื่อเกิดแรงดันเกิน อิมพีแดนซ์ของ LA จะมีค่าต่ำและช่วยให้กระแสที่เกิดจากฟ้าผ่า( Lightning Current ) ไหลลงดินได้อย่างสะดวก ซึ่งจะช่วยให้อุปกรณ์ต่างที่ต่ออยู่หลัง LA จะไม่ได้รับอันตรายและปลอดภัยจากแรงดันเกิน
1. Spark Gap Arrester : LA นี้จะประกอบด้วยตัวต้านทานที่ขึ้นกับแรงดันแบบไม่เป็นเชิงเส้น ( Varistor ) ต่ออนุกรมกับ Spark Gap โดยปกติแล้ว Varistor มักทำจากสารซิลิคอนคาร์ไบด์ ( SiC ) LA เรียกว่า SiC-Arrester แต่เนื่องจาก LA แบบนี้เป็นแบบเก่าจึงนิยมใช้น้อยลง
2. Arrester Without Spark Gap : LA แบบนี้ประกอบด้วยชั้นของตัวต้านทานโลหะออกไซด์ที่มีลักษณะขึ้นกับแรงดันแบบ ไม่เป็นเชิงเส้นอย่างมาก ( Strongly Non-linear Voltagedependent) วัสดุโลหะออกไซด์ที่ใช้โดยทั่วไปคือออกไซด์ของสังกะสี ( Zinc
Oxide ; ZnO ) LA แบบนี้จึงนิยมเรียกว่า MO-Arrester หรือ ZnO Arrester โดย LA แบบนี้เป็นแบบใหม่ และกำลังได้รับความนิยมมากขึ้น
สำหรับระบบไฟฟ้าในประเทศไทยการต่อลงดินโดยตรง ( SolidlyGround ) เลือกพิกัดดังข้อมูลด้านล่าง
- แรงดันระบบ 11-12 kV ใช้พิกัดแรงดันของ LA 9 kV
- แรงดันระบบ 22-24 kV ใช้พิกัดแรงดันของ LA 21 kV
- แรงดันระบบ 33 kV ใช้พิกัดแรงดันของ LA 30 kV
- แรงดันระบบ 69 kV ใช้พิกัดแรงดันของ LA 60 kV
พิกัดกระแส Discharge ของ LA ทั่วไปมี 2 แบบ คือ
1. LA ที่ใช้กับระบบจำหน่ายทั่วไป ( Distribution Type ) ใช้พิกัด 5 kA
2. LA ที่ใช้กับสถานีไฟฟ้าย่อย ( Substation Type ) ใช้พิกัด10 kA