Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 176,827
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 174,197
3 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 173,480
4 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,475
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,936
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 170,048
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 169,030
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 168,333
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 161,180
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,844
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,795
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 158,001
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 68,349
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,876
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 51,185
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 44,074
17 Industrial Provision co., ltd 39,901
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,823
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,740
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 35,064
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,996
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 32,345
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,767
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 31,495
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,998
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,990
27 P.D.S. Automation co.,ltd 23,368
28 AVERA CO., LTD. 23,124
29 เลิศบุศย์ 22,088
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,839
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,734
32 Electronics Source Co.,Ltd. 20,353
33 แมชชีนเทค 20,338
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,596
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,568
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 19,316
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,984
38 SAMWHA THAILAND 18,766
39 วอยก้า จำกัด 18,437
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 18,009
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,847
42 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,794
43 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,748
44 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,694
45 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,624
46 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,622
47 Systems integrator 17,183
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 17,132
49 Advanced Technology Equipment 16,960
50 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,923
05/08/2555 08:55 น. , อ่าน 15,447 ครั้ง
Bookmark and Share
สาระน่ารู้เรื่องการเลือกหลอดไฟฟ้า (ตอนที่ 2)
โดย : Admin

หลอดไฟฟ้า                    

           
           หลอดไฟฟ้าที่มีใช้กันอยู่มีหลายชนิดด้วยกัน หลอดแต่ละชนิดก็มีคุณสมบัติทางแสงและทางไฟฟ้าต่างกัน ในการเลือกหลอดเพื่อการประหยัดพลังงานไฟฟ้า ต้องเลือกหลอดที่มีประสิทธิผล (ลูเมนต่อวัตต์) สูง อายุการใช้งานนาน และคุณสมบัติทางแสงของหลอดด้วย แต่งานบางอย่างก็ต้องเลือกใช้หลอดที่ไม่ประหยัดพลังงาน ฉะนั้นการนำหลอดไปใช้งานต้องพิจารณาความเหมาะสมในการนำไปใช้
 
 
2.1 ปัจจัยที่ควรพิจารณาในการเลือกหลอดไฟฟ้า :     การเลือกใช้หลอดไฟฟ้าเพื่อใช้งานต้องพิจารณาหลายๆองค์ประกอบร่วมกันก่อนที่จะนำไปใช้งาน
 
2.1.1 ค่าฟลั๊กซ์การส่องสว่าง (Luminous flux)
         หมายถึง ปริมาณแสงสว่าง หน่วยเป็นลูเมน       
 
2.1.2 ค่าประสิทธิผล (Efficacy)
         หมายถึง ปริมาณแสงที่ออกมาต่อวัตต์ที่ใช้ (ลูเมนต่อวัตต์) หลอดที่มีค่าประสิทธิผลสูงหมายความว่าหลอดนี้ให้ปริมาณแสงออกมามากแต่ใช้วัตต์ต่ำ   
 
2.1.3 ความถูกต้องของสี (Color rendering)
         หมายถึง สีที่ส่องไปถูกวัตถุให้ความถูกต้องสีมากน้อยเพียงใด มีหน่วยเป็น เปอร์เซนต์ หลอดที่มีค่าความถูกต้อง 100% หมายความว่าเมื่อใช้หลอดนี้ส่องวัตถุชนิดหนึ่งแล้วสีของวัตถุที่เห็นไม่มีความเพี้ยนของสี
 
2.1.4 อุณหภูมิสี (Color temperature)
หมายถึง สีของหลอดเทียบได้กับสีที่เกิดเนื่องจากการเผาวัตถุดำอุดมคติให้ร้อนที่อุณหภูมินั้น เช่น หลอดอินแคนเดสเซนต์มีอุณหภูมิสีประมาณ 3000 องศาเคลวิน
 
2.1.5 มุมองศาในการใช้งานหลอด (Burning position)
หมายถึงมุมองศาในการใช้งานหลอด สำหรับการติดตั้งหลอดตามคำแนะนำของผู้ผลิต
 
2.1.6 อายุการใช้งาน (Life time)
หมายถึงอายุการใช้งานของหลอดโดยเฉลี่ยของหลอด หน่วยเป็นชั่วโมง
 
 
 
 
 
 
 


 

2.2 หลอดอินแคนเดสเซนต์
    
     หลอดอินแคนเดสเซนต์เป็นหลอดที่ไม่ประหยัดพลังงาน      การใช้หลอดประเภทนี้ใช้เฉพาะในพื้นที่ที่ต้องการวัตถุประสงค์ทางด้านความสวยงาม แสงสี หรือ กรณีที่ต้องการเน้นโดยที่หลอดอื่นทำไม่ได้ สามารถหรี่ไฟได้โดยง่าย ราคาถูก และจุดติดทันที
 
ก)   ถ้าจำเป็นต้องใช้หลอดประเภทนี้หลอดฮาโลเจนเป็นหลอดที่ประหยัดที่สุดในตระกูลนี้ แต่ก็ยังถือว่าเป็นหลอดไม่ประหยัดพลังงานเมื่อเทียบกับหลอดชนิดอื่นๆ
ข)    กรณีที่จำเป็นต้องใช้หลอดอินแคนเดสเซนต์ เราสามารถยืดอายุการใช้งานของหลอดได้โดยใช้สวิตช์หรี่ไฟ สำหรับหลอดฮาโลเจน การหรี่ไฟอาจทำให้อายุการใช้งานสั้น
ค)        หลอดฮาโลเจนประหยัดกว่าหลอดอินแคนเดสเซนต์ทั่วไป    และมีอายุการใช้งานนานกว่าประมาณ 2-3 เท่า
ง)    ในการติดตั้งหลอดฮาโลเจน   หากมือไปสัมผัสด้านในทำให้หลอดมีอายุการใช้งานสั้น ถ้าเผลอไปจับถูกตัวหลอดให้ทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอล์
จ)    หากหลีกเลี่ยงได้ ไม่ควรใช้หลอดอินแคนเดสเซนต์หรือหลอดฮาโลเจนในการให้แสงสว่างมากนัก เนื่องจากค่าประสิทธิภาพผล (ลูเมนต่อวัตต์) ซึ่งทำให้สิ้นเปลืองพลังงานมาก
ฉ)        หลอดประเภทนี้ใช้กับงานส่องเน้น ซึ่งสามารถให้แสงเป็นวงหรือจุดได้ซึ่งหลอดประเภทอื่นให้ไม่ได้
ช)    หลอดประเภทนี้มีข้อดีกว่าหลอดประเภทอื่นในเรื่องการติดทันทีเมื่อป้อนไฟฟ้า และเมื่อแรงดันต่ำก็ยังให้แสงสว่างได้ แต่ปริมาณแสงอาจลดลง เหมาะสำหรับงานแสงสว่างฉุกเฉินที่มีสภาพการจ่ายไฟไม่ดี
ซ)        การใช้สวิตช์หรี่ไฟ   ให้ระวังเรื่องของฮาร์มอนิกที่อาจจะไปรบกวนเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ และมีเสียงฮัมที่สวิตช์หรี่ไฟ
 
 


 

ตาราง 2.1 คุณสมบัติโดยประมาณของหลอดชนิดต่างๆ
 
 
ชนิดของหลอดไฟ
 
คุณสมบัติของหลอด
ช่วงกำลังที่มี
(วัตต์)
ปริมาณแสงที่ให้
(ลูเมน, lm)
ความเข้มการส่องสว่าง
(แคนเดลา, Cd)
ประสิทธิภาพของการส่องสว่าง
(ลูเมน/วัตต์, lm/W)
อุณหภูมิสี
(เคลวิน, K)
ดัชนีความถูกต้องของสี
อายุการใช้งาน
(ชั่วโมง)
1. หลอดอินแคนเดสเซนต์
# หลอดไส้ธรรมดา
 
15 - 200
 
90 - 3,150
 
 
5 - 12
 
2,500 - 2,700
 
100
 
1,000
# หลอดไส้ฟลักซ์การส่องสว่างสูง
- ชนิดมีตัวสะท้อนแสง
 
25 - 300
 
210 - 1,300
 
180 - 40,000
 
8 - 13
 
2,500
 
100
 
1,000
# หลอดไส้ทังสเตน-ฮาโลเจน
- แรงดันปกติ
- แรงดันต่ำ
 
40 - 2,000
5 - 150
 
490 - 44,000
60 - 3,200
 
300 - 48,000
(เฉพาะที่มีตัวสะท้อนแสง)
 
12 - 22
12 - 22
 
2,800
3,000
 
 
1,500 - 3,000
2,000 - 3,000
2. หลอดปล่อยประจุความดันไอต่ำ
# หลอดฟลูออเรสเซนต์ธรรมดา
- ชนิดตรง (T8)
- ชนิดกลม (T9)
 
 
10 - 58
22 - 40
 
 
450 - 4,600
1,350 - 2,800
 
 
 
45 - 80
60 - 70
 
 
2,700 - 6,500
2,700 - 6,500
 
 
60 - 80
60 - 80
 
 
8,000 - 10,000
5,000 - 8,000
# หลอดฟลูออเรสเซนต์ฟลักซ์การส่องสว่างสูง
- ชนิดตรง (T8)
- ชนิดตรง (T5)
 
18 - 58
14 - 54
 
1,300 - 5,200
1,300 - 5,200
 
 
73 - 93
90 - 93
 
2,700 - 6,500
2,700 - 6,500
 
80 - 90
80 - 90
 
8,000 - 10,000
10,000 - 12,000
# หลอดคอมแพกต์ฟลูออเรสเซนต์
- ชนิดมีบัลลาสต์อิเล็คทรอนิกส์ในตัว
- ชนิดมีบัลลาสต์แกนเหล็กในตัว
- ชนิดไม่มีบัลลาสต์ในตัว
 
5 - 23
9 - 25
5 - 55
 
200 - 1,500
350 - 1,200
250 - 3,200
 
 
40 - 65
35 - 50
40 - 80
 
2,700 - 6,500
2,700 - 6,500
2,700 - 6,500
 
80 - 90
80 - 90
80 - 90
 
7,500 - 10,000
7,500 - 10,000
7,500 - 10,000
# หลอดโซเดียมความดันไอต่ำ
18 - 180
1,800 - 32,000
 
100 - 180
2,000
0 - 20
22,000 - 24,000
3. หลอดปล่อยประจุความดันไอสูง
# หลอดไอปรอมแบบใช้บัลลาสต์
# หลอดไอปรอทแบบไม่ใช้บัลลาสต์
 
50 - 1,000
80 - 160
 
1,800 - 58,000
 
 
 
 
 
30 – 60
 
 
3,000 - 4,200
 
40 - 60
 
20,000 - 24,000
# หลอดโซเดียมความดันไอสูง
35 - 1,000
2,400 - 130,000
 
70 - 130
2,000 - 2,200
30 - 50
18,000 - 24,000
# หลอดเมทัลฮาไลด์
35 - 2,000
2,400 - 240,000
 
60 - 120
2,900 - 6,000
60 - 90
8,000 - 15,000

หมายเหตุ 
  
1. กรณีที่เลือกใช้หลอดของผลิตภัณฑ่ใดให้ยึดคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์นั้นเป็นเกณฑ์
  2.  อายุการใช้งานในตาราง หมายถึง อายุการใช้งานที่กำหนดวิธีการทดสอบตามมาตรฐาน มอก. หรือ IEC
 
 
 
 
ตาราง 2.2 การเลือกใช้งานหลอดแบบต่างๆ
 
 
ชนิดของหลอดไฟ
 
ลักษณะการใช้งานที่นิยมโดยทั่วไป
ให้แสงสว่างในบ้านพักอาศัย
ให้แสงสว่างในห้องสำนักงาน
ให้แสงสว่างฉายภายในอาคารสูง, โรงงาน
ให้แสงสว่าง
ภายนอกอาคาร
ให้แสงสว่างไฟถนน
ให้แสงสว่าง
ตกแต่ง ประดับ
ไปส่องอาคารส่องวัตถุสูง
ไฟส่องในระยะไกล
ไฟส่องสินค้าห้องแสดงสินค้า
ไฟแสงสว่างในห้องอาหาร
ไฟส่องสว่างในสนามกีฬา
ไฟส่องสว่างในที่สาธารณะ
1. หลอดอินแคนเดสเซนต์
# หลอดไส้ธรรมดา
 
O
 
 
 
 
 
O
 
 
 
O
O
 
 
# หลอดไส้ฟลักซ์การส่องสว่างสูง
- ชนิดมีตัวสะท้อนแสง
 
O
O
 
 
 
 
 
 
 
O
O
 
 
# หลอดไส้ทังสเตน-ฮาโลเจน
- แรงดันปกติ
- แรงดันต่ำ
 
¡
 
 
 
 
 
 
 
O
 
O
 
O
 
 
2. หลอดปล่อยประจุความดันไอต่ำ
# หลอดฟลูออเรสเซนต์ธรรมดา
- ชนิดตรง (T8)
- ชนิดกลม (T9)
 
 
O
 
 
O
 
 
O
 
 
O
 
 
O
 
 
 
 
 
O
 
 
O
 
 
 
O
# หลอดฟลูออเรสเซนต์ฟลักซ์การส่องสว่างสูง
- ชนิดตรง (T8)
- ชนิดตรง (T5)
 
 
O
 
 
O
 
 
O
 
 
O
 
 
O
 
 
 
 
 
O
 
 
O
 
 
# หลอดคอมแพกต์ฟลูออเรสเซนต์
- ชนิดมีบัลลาสต์อิเล็คทรอนิกส์ในตัว
- ชนิดมีบัลลาสต์แกนเหล็กในตัว
- ชนิดไม่มีบัลลาสต์ในตัว
 
 
O
 
 
O
 
 
O
 
 
O
 
 
 
O
 
 
 
 
 
O
 
 
 
O
# หลอดโซเดียมความดันไอต่ำ
 
 
O
O
O
 
 
 
 
 
 
 
3. หลอดปล่อยประจุความดันไอสูง
# หลอดไอปรอมแบบใช้บัลลาสต์
# หลอดไอปรอทแบบไม่ใช้บัลลาสต์
 
 
 
O
 
O
 
O
 
 
 
 
 
 
 
O
# หลอดโซเดียมความดันไอสูง
 
 
O
O
O
 
O
O
 
 
O
O
# หลอดเมทัลฮาไลด์
 
 
O
O
 
 
O
O
O
 
O
O


 

2.3 หลอดปล่อยประจุความดันไอต่ำ
 
            หลอดปล่อยประจุความดันไอต่ำมี 3 ชนิดคือ หลอดฟลูออเรสเซนต์ หลอดคอมแพกต์ฟลูออเรสเซนต์ และหลอดโซเดียมความดันไอต่ำ
 
 
2.3.1 หลอดฟลูออเรสเซนต์
 
ก)   กรณีที่ใช้กับเพดานสูงเกินกว่า 5-7 เมตร หลอดประเภทนี้ไม่เหมาะเพราะต้องใช้จำนวนโคมมาก หรืออายุการใช้งานไม่มากพอ ทำให้ต้องเปลี่ยนหลอดบ่อย         ต้องเสียค่าใช้จ่ายในเรื่องการบำรุงรักษามาก
ข)    ถ้าจำเป็นต้องใช้หลอดประเภทนี้ที่เพดานสูงเกินกว่า 7 เมตรเช่นที่ใช้ในหลืบ เป็นต้น อาจใช้หลอดและวงจรแรปิดสตาร์ท(Rapid start) ซึ่งมีอายุการใช้งานประมาณ 20000 ชม. เมื่อเทียบกับหลอดอุ่นไส้(Preheat)ที่มีอายุการใช้งานโดยเฉลี่ย 8000-10000 ชม.
ค)   การใช้งานของหลอดฟลูออเรสเซนต์ควรเลือกสีหลอดใช้ให้ถูกต้องจะทำให้คุณภาพการให้แสงดีขึ้น สีของหลอดฟลูออเรสเซนต์มีทั้งหลอด เดไลท์ (6500 K) คูลไวท์ (4200- 4500 K) และวอร์มไวท์ (2700-3000K)
ง)         งานที่ต้องการความส่องสว่างสูงกว่า 500 ลักซ์ ควรใช้หลอดเดไลท์
จ)        งานที่ต้องการความส่องสว่าง 300-500 ลักซ์ ควรใช้หลอดคูลไวท์
ฉ)        งานที่ต้องการความส่องสว่างต่ำกว่า 300 ลักซ์ ควรใช้หลอดวอร์มไวท์
ช)    ความส่องสว่างกับชนิดสีของหลอดที่แนะนำให้ใช้เป็นพื้นฐานเท่านั้น บางครั้งอาจไม่เป็นไปตามกฎเกณฑ์ดังกล่าว เช่นพื้นที่ใกล้เคียงกันควรใช้หลอดที่มีสีเดียวกัน ตัวอย่างได้แก่ บริเวณงานเลี้ยงในโรงแรมที่ใช้หลอดอินแคนเดสเซนต์ และเมื่อเปิดประตูออกไปถึงอีกพื้นที่หนึ่งก็ควรใช้หลอดที่มีสีหลอดใกล้เคียงกัน อาจใช้หลอดวอร์มไวท์ เป็นต้น
ซ)    หลอดฟลูออเรสเซนต์ทั่วไป หรือฮาโลฟอตเฟตเมื่อใช้งานไปนาน จะมีปริมาณแสงลดลง15-20%  ปัจจุบันมีหลอดฟลูออเรสเซนต์ฟลั๊กการส่องสว่างสูงได้แก่หลอดฟลูออเรสเซนต์แบบไตรแบนด์ หรือไฟว์แบนด์ที่ให้ปริมาณแสงค่อนข้างคงที่ และมีสเปคตรัมสีดีกว่าหลอดฟลูออเรสเซนต์ธรรมดา
ฌ)       ประสิทธิภาพของหลอดฟลูออเรสเซนต์แบบต่างๆดังนี้
หลอดฟลูออเรสเซนต์ธรรมดา                              45-80 ลูเมนต์ต่อวัตต์
หลอดฟลูออเรสเซนต์ฟลั๊กการส่องสว่างสูง            73-93 ลูเมนต์ต่อวัตต์
(ไตรแบนด์ หรือไฟว์แบนด์)        
หลอดคอมแพกต์ฟลูออเรสเซนต์                         35-80 ลูเมนต์ต่อวัตต์
ญ)       หลอดฟลูออเรสเซนต์มีฮาร์มอนิกส์มากน้อยขึ้นอยู่บัลลาสต์ที่ใช้ร่วมกับหลอด
 

2.3.2 หลอดคอมแพกต์ฟลูออเรสเซนต์
ก)   ใช้กับโคมไฟส่องลงในกรณีให้แสงทั่วไป ถือว่าประหยัดพลังงานแสงสว่างได้มากเมื่อเทียบกับการใช้หลอดอินแคนเดสเซนต์ในโคมไฟส่องลง
ข)        ใช้แทนหลอดอินแคนเดสเซนต์และฮาโลเจนได้กรณีที่เป็นทางด้านการส่องสว่างทั่วไป
ค)   การเลือกใช้ชนิดสีของหลอดมีความสำคัญสำหรับงานแต่ละชนิด ถ้าเป็นความส่องสว่างต่ำก็ควรใช้หลอดที่มีอุณหภูมิสีต่ำ คือสีเหลือง หรือหลอดวอร์มไวท์ ถ้าเป็นความส่องสว่างสูงก็ควรใช้หลอดที่มีอุณหภูมิสีสูง เช่นหลอดคูลไวท์
ง)    การเปลี่ยนหลอดคอมแพกต์ฟลูออเรสเซนต์แทนที่หลอดอินแคนเดสเซนต์ในโคมไฟส่องลงให้ระวังเรื่องการระบายความร้อน ซึ่งทำให้อายุการใช้งานของหลอดสั้นลงมากและระวังเรื่องแสงบาดตา
จ)    บริเวณที่จำเป็นต้องปิดไฟไว้นานๆ เช่น ไฟรั้ว ไฟทางเดิน อาจใช้หลอดคอมแพกต์ฟลูออเรสเซนต์ ซึ่งมีอายุการใช้งานนานกว่าหลอดอินแคนเดสเซนต์
ฉ)   แบบที่มีบัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์ในตัวจะมีฮาร์มอนิกส์สูง และในกรณีที่ต้องใช้หลอดจำนวนมากให้ระวังปัญหาเรื่องฮาร์มอนิก
ช)    หลอดคอมแพกต์ฟลูออเรสเซนต์ที่ใช้ในบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงเกินไปหรือต่ำเกินไป ทำให้ปริมาณแสงสว่างจากหลอดลดลงมาก ดังนั้นถ้าใช้หลอดประเภทนี้ต้องพิจารณาเรื่องนี้โดยเฉพาะโคมที่มีการระบายอากาศไม่ดี เป็นต้น
 
2.3.3 หลอดโซเดียมความดันไอต่ำ
ก)        ใช้กับงานที่ไม่ต้องการความถูกต้องสี เช่นไฟถนน งานส่องบริเวณ
ข)        หลอดประเภทนี้มีประสิทธิผลสูงสุด เมื่อเทียบกับหลอดทุกชนิด
ค)        ไม่ควรใช้กับงานที่ต้องการความถูกต้องสี เช่น บริเวณเบิกเงิน ATM เป็นต้น
ง)         ไม่ควรใช้กับงานที่ต้องเปิดหลอดและสว่างทันที เช่น งานทางด้านความปลอดภัย
 
 
2.4 หลอดปล่อยประจุความดันไอสูง
               
หลอดปล่อยประจุความดันไอสูงมี 3 ชนิดคือ หลอดโซเดียมความดันไอสูง หลอดปรอทความดันไอสูง และหลอดเมทัลฮาไลด์ สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการเลือกใช้หลอดประเภทนี้
ก)   มุมองศาในการใช้งานหลอด (Burning position) การใช้งานของหลอดต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ผลิตซึ่งจะระบุไว้ไม่เช่นนั้นจะมีผลต่อ ประสิทธิผล และอายุการใช้งานของหลอด
ข)    แรงดันของแหล่งจ่ายไฟ (Supply voltage) ของหลอดประเภทนี้จะต้องไม่มากหรือน้อยเกินกว่า 5% เพราะจะมีผลต่ออายุการใช้งานและอุณหภูมิสีของหลอด
ค)   อุปกรณ์ประกอบ เช่น บัลลาสต์ อิกไนเตอร์วงจรการต่อต้องใช้ให้เหมาะสม มิฉะนั้นจะมีผลต่ออายุการใช้งานของหลอด การจุดติด เป็นต้น
ง)         หลอดประเภทนี้ให้แสงสีที่ถูกต้องตามคุณลักษณะของหลอดหลังจากใช้งานไปแล้วประมาณไม่น้อยกว่า 100 ชม.
จ)        ไม่ควรใช้กับงานที่ต้องการการเปิดหลอดและสว่างทันที เช่น ระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน
 
 
2.4.1 หลอดปรอทความดันไอสูง
ก)        ใช้แทนหลอดฟลูออเรสเซนต์กรณีที่ใช้กับเพดานสูงๆ
ข)    ประสิทธิผลของหลอดประเภทนี้ต่ำที่สุดในตระกูลหลอดปล่อยประจุความดันไอสูง ระบบที่ใช้หลอดนี้ถูกที่สุดในตระกูลหลอดปล่อยประจุความดันไอสูง เหมาะสำหรับใช้กับงานประเภทโรงงานอุตสาหกรรมทั่วไป แสงสว่างสาธารณะที่ต้องการความถูกต้องสี เช่น ไฟถนน ไฟสาธารณะ บริเวณร้านค้า
 
 
2.4.2 หลอดโซเดียมความดันไอสูง
ก)        ใช้กับงานที่ไม่พิถีพิถันเรื่องความถูกต้องของสี เช่น โรงงานเหล็ก เป็นต้น
ข)    งานที่เหมาะใช้กับหลอดประเภทนี้ได้แก่ โรงงานที่ไม่มีปัญหาเรื่องความถูกต้องของสี ไฟส่องบริเวณที่ไม่ใช่ย่านธุรกิจ ไฟถนน ไฟสวนสาธารณะ
ค)   หลอดโซเดียมความดันไอสูงบางประเภทได้มีการพัฒนาให้มีค่าความถูกต้องของสีสูงและเหมาะใช้กับงานได้กว้างขวางขึ้น แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาคุณสมบัติของหลอดเป็นประเภทไป
ง)         ประสิทธิผลของหลอดประเภทนี้สูงที่สุดในตระกูลหลอดปล่อยประจุความดันไอสูง
จ)        หลอดประเภทนี้ให้สีเหมาะสำหรับงานทางด้านความปลอดภัย เพราะตามีความไวต่อการมองเห็นที่โทนสีเหลือง
 
 
2.4.3 หลอดเมทัลฮาไลด์
ก)        ใช้กับงานที่ต้องการความถูกต้องสีมาก เช่น งานพิมพ์สี งานส่องสนามกีฬา และห้างสรรพสินค้า เป็นต้น
ข)        ระวังการใช้หลอดขนาดวัตต์ต่างกันในพื้นที่เดียวกันเนื่องจากสีอาจมีความแตกต่างกัน
 
 
 
 
หมายเหตุ
-          กรณีเพดานไม่สูงกว่า 5 เมตรควรใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์
-          กรณีเพดานอยู่ระหว่าง 4-7 เมตรควรใช้หลอดหลอดปล่อยประจุความดันไอสูงแต่โคมเป็นชนิดโลเบย์
-          กรณีเพดานสูงกว่า 6 เมตรควรใช้หลอดหลอดปล่อยประจุความดันไอสูงแต่โคมเป็นชนิดไฮเบย์

 

ที่มา:  www.tieathai.org

========================================================

 

 

 

3 December 2024
:: MEMBER LOGIN
E-mail Account
Password
:: OUR SPONSORS
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD