Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 176,791
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 174,164
3 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 173,452
4 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,449
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 170,907
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 170,023
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 168,999
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 168,287
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 161,136
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 158,814
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 158,766
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 157,967
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 68,308
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 62,811
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 51,154
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 44,047
17 Industrial Provision co., ltd 39,844
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 38,794
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 36,707
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 35,034
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 33,968
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 32,315
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 31,731
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 31,460
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 27,971
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 26,961
27 P.D.S. Automation co.,ltd 23,340
28 AVERA CO., LTD. 23,098
29 เลิศบุศย์ 22,057
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 20,815
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 20,708
32 Electronics Source Co.,Ltd. 20,323
33 แมชชีนเทค 20,310
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,570
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,538
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 19,280
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 18,956
38 SAMWHA THAILAND 18,734
39 วอยก้า จำกัด 18,401
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 17,974
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 17,818
42 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 17,751
43 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 17,720
44 I-Mechanics Co.,Ltd. 17,666
45 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,593
46 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,589
47 Systems integrator 17,150
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 17,094
49 Advanced Technology Equipment 16,928
50 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 16,893
29/07/2555 00:24 น. , อ่าน 9,526 ครั้ง
Bookmark and Share
ระดับการป้องกัน (Degree of Protection)
โดย : Admin

ระดับการป้องกัน (Degree of Protection)

 

 

 

       เป็นการบอกถึงความสามารถในการป้องกันอันตรายของอุปกรณ์ไฟฟ้า ที่เกิดจากการสัมผัสส่วนที่มีไฟไม่ว่าโดยตรง หรือสอดวัตถุเข้าไป รวมทั้งป้องกันความเสียหายจากของเหลวที่เข้าไปในตัวเครื่องอีกด้วย รายละเอียดของการป้องกันจะแทนด้วยตัวเลข 2 หลัก ตามหลังอักษร IP เรียกสั้นๆ ว่ารหัส IP

       IP (Index of Protection) กำหนดโดยมาตรฐาน IEC 60529 และมอก 513-2527 โดยรหัสเลขตัวแรกจะบอกความ สามารถในการป้องกันอันตรายจากของแข็ง รหัสเลขตัวที่สองจะบอกความสามารถในการป้องกันอันตรายจากของเหลว ความหมายของตัวเลข แต่ละหลักแสดงดังตาราง

รหัส

รหัสตัวแรก สามารถป้องกันของแข็ง

รหัสตัวที่สอง สามารถป้องกันของเหลว

0

ไม่มีการป้องกัน

ไม่มีการป้องกัน

1

สามารถป้องกันของแข็งที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 50 มม. ที่มากระทบไม่ให้ลอดเข้าไปข้างในได้

สามารถป้องกันน้ำที่ตกลงมาในแนวดิ่งได้

2

สามารถป้องกันของแข็งที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 12 มม. ที่มากระทบไม่ให้ลอดเข้าไปข้างในได้

สามารถป้องกันน้ำที่ตกลงมาในแนวดิ่ง และในแนวที่ทำมุม ไม่เกิน 15 องศากับแนวดิ่งได้

3

สามารถป้องกันของแข็งที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 2.5 มม. ที่มากระทบไม่ให้ลอดเข้าไปข้างในได้

สามารถป้องกันน้ำที่ตกลงมาในแนวดิ่ง และในแนวที่ทำมุม ไม่เกิน 60 องศากับแนวดิ่งได้

4

สามารถป้องกันของแข็งที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 1.0 มม. ที่มากระทบไม่ให้ลอดเข้าไปข้างในได้

สามารถป้องกันน้ำที่สาดมาจากทุกทิศทางได้

5

สามารถป้องกันฝุ่นได้

สามารถป้องกันน้ำที่ถูกฉีดมาตกกระทบในทุกทิศทางได้

6

สามารถป้องกันฝุ่นได้อย่างสมบูรณ์

สามารถป้องกันน้ำฉีดอย่างแรงเข้าทุกทิศทาง

7

-

สามารถป้องกันน้ำท่วมชั่วคราวได้

8

-

สามารถป้องกันน้ำเมื่อใช้งานอยู่ใต้น้ำ

  เช่น IP43 หมายถึงสามารถป้องกันของแข็งที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 1 มม. ไม่ให้ลอดเข้าไปข้างในได้ และยังสามารถป้องกันน้ำฝน ที่ตกลงมาในแนวไม่เกิน 60 องศากับแนวดิ่งได้ รหัส IP พบเห็นได้จากอุปกรณ์ไฟฟ้าหลายประเภท เช่น Load center , Consumer หรือตู้ Switchboard เป็นต้นหรืออาจกำหนดไว้ในแบบไฟฟ้าเพื่อให้ผู้ทำการติดตั้ง เลือกใช้อุปกรณ์ให้เหมาะสมและปลอดภัย ในบางประเทศอาจใช้รหัส IP ถึง 3 หลักโดยเลขรหัสตัวที่ 3 จะบอกถึงความสามารถ ในการป้องกันการถูกกระแทกทางกล แต่ในประเทศไทยที่พบเห็นทั่วไปใช้เพียง 2 หลักเท่านั้น

          นอกจากกำหนดระดับการป้องกันด้วยรหัส IP แล้วอาจพบอุปกรณ์ที่มีการกำหนดตามมาตรฐานอื่นเช่น NEMA ซึ่งเป็นมาตรฐานของสมาคมผู้ประกอบการไฟฟ้าสหรัฐอเมริกาโดยระบุชนิดเครื่องห่อหุ้ม (Enclosure) และมีรายละเอียดดังนี้

ข้อกำหนด

การนำไปใช้งาน

NEMA

ไม่มีเครื่องห่อหุ้ม

ไม่มีการป้องกัน

0

วัตถุประสงค์ทั่วไป

ใช้ติดตั้งในอาคาร

1
1 **

ทนหยดน้ำ

บริเวณที่มีของเหลวจำนวนเล็กน้อยตกเหนือเครื่องห่อหุ้ม และยอมให้ความชื้นเข้าไปภายในได้

2
2 **

กันฝุ่น, กันฝน, ต้านทานลูกเห็บ

บริเวณที่มีทั้งฝุ่นและฝน อาจใช้นอกอาคารเช่นอู่ต่อเรือ หรือในอุโมงค์

3

ทนฝน, ต้านทานลูกเห็บ

ติดตั้งนอกอาคารใช้งานภายใต้ฝน และลูกเห็บ

3R
3R **

กันฝุ่น, กันฝน, ทนลูกเห็บ

ใช้นอกอาคารในสภาวะที่มีลูกเห็บตก

3S

กันน้ำ, กันฝุ่น

ใช้กับอุปกรณ์ที่ต้องล้างทำความสะอาด ทำด้วยสแตนเลส

4

กันน้ำ, กันฝุ่น, ต้านทานการกัดกร่อน

ทำด้วยวัสดุทนการกัดกร่อนสูงใช้ในอุตสาหกรรมเคมี โรงปุ๋ย โรงงานกระดาษ

4X

กันฝุ่น, กันน้ำ, อยู่ใต้น้ำ

ใช้กับอุปกรณ์ที่อยู่ใต้น้ำ

6

กันฝุ่น, กันหยดน้ำ

ใช้ในงานอุตสาหกรรมที่เปื้อนน้ำมัน

12

กันน้ำมัน, กันฝุ่น

ป้องกันน้ำมันและฝุ่นเข้าซึ่งจะทำลายอุปกรณ์ขณะทำงาน

13

*   การป้องกันลูกเห็บ ตามมาตรฐาน IEC144 ไม่ได้กำหนดไว้
** ระบายความร้อน

            ตารางเปรียบเทียบระหว่าง NEMA Enclosure Type และ IP Class Protection (IEC Standard)

NEMA EnClosure Type Number

IEC Enclosure Classification Designation

1

IP10

2

IP11

3

IP54

3R

IP14

3S

IP54

4 and 4X

IP56

5

IP52

6 and 6P

IP67

12 and 12K

IP52

13

IP54


อุปกรณ์ไฟฟ้าที่เป็นผลิตภัณฑ์จากอเมริกาและมีขายในเมืองไทยจะกำหนดตามมาตรฐาน NEMA เช่นยี่ห้อ squareD เป็นต้น การเลือกอุปกรณ์มาใช้อาจพิจารณาจากตารางข้างล่าง 

                                       ตารางเลือกตู้จ่ายกระแสไฟฟ้าไปใช้งานตามมาตรฐาน NEMA

ความสามารถในการป้องกัน เมื่อติดตั้งในบริเวณต่างๆ

 Type of Enclosure

1

3R

3S

4

4X

5

12

ป้องกันการสัมผัสโดยตรงกับอุปกรณ์ภายในตู้ หลังจากปิดฝาตู้แล้ว

x

x

x

x

x

x

x

บริเวณที่มีฝุ่นละอองฟุ้งกระจาย

x

x

x

x

x

x

x

บริเวณที่มีน้ำหยดและมีละอองน้ำบางๆ

-

x

x

x

x

x

x

บริเวณที่มีลมพัดฝุ่นละออง

-

-

x

x

x

x

-

บริเวณที่มีการหมุนเวียนของฝุ่นละออง

-

-

x

x

x

-

x

บริเวณที่มีการฉีดพ่นละอองน้ำ

-

-

x

x

x

-

-

บริเวณที่มีการรั่วซึมของน้ำมันเชื้อเพลิงหรือน้ำมันหล่อเย็น

-

-

-

-

-

-

x

บริเวณที่มีฝนตก,หิมะตกและฝนตกหนักแบบมีลูกเห็บ

-

x

x

x

x

-

-

บริเวณที่มีลมพัดฝุ่นละอองอย่างรุนแรง

-

x

x

x

x

-

-

บริเวณที่มีการกัดกร่อน หรือเกิดการขึ้นสนิม

-

-

-

-

x

-

-

 

 

 

ที่มา: www.nectec.or.th

 

========================================================

 

 

 

21 November 2024
:: MEMBER LOGIN
E-mail Account
Password
:: OUR SPONSORS
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD