Top 50 Popular Supplier
1 100,000D_อินเวอร์เตอร์ 177,236
2 100,000D_มิเตอร์วัดไฟฟ้า 174,522
3 100,000D_อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ 173,824
4 100,000D_เครื่องมือช่าง 173,789
5 100,000D_เอซีมอเตอร์ 171,241
6 100,000D_ดีซีมอเตอร์ 170,327
7 100,000D_อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง 169,294
8 100,000D_เครื่องดื่มและสมุนไพร 168,660
9 เคอีบี (KEB ) ประเทศไทย 161,685
10 100,000D_เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน 159,125
11 100,000D_ของใช้จำเป็นสำหรับผู้หญิง 159,062
12 100,000D_ขายของเล่นเด็ก 158,281
13 E&L INTERNATIONAL CO., LTD. 68,708
14 T.N. METAL WORKS Co., Ltd. 63,478
15 ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด 51,491
16 บ.ไทนามิคส์ จำกัด 44,352
17 Industrial Provision co., ltd 40,431
18 ลาดกระบัง ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด 39,093
19 Infinity Engineering System Co.,Ltd 37,021
20 สยาม เอลมาเทค (siam elmatech) 35,354
21 ไทยเทคนิค อีเล็คตริค จำกัด 34,251
22 ฟอร์จูน เมคคานิค แอนด์ ซัพพลาย 32,608
23 เอเชียเทค พาวเวอร์คอนโทรล จำกัด 32,031
24 บริษัท เวิลด์ ไฮดรอลิคส์ จำกัด 31,816
25 โปรไดร์ฟ ซิสเต็ม จำกัด 28,253
26 ซี.เค.แอล.โพลีเทค เอ็นจิเนียริ่ง 27,273
27 P.D.S. Automation co.,ltd 23,631
28 AVERA CO., LTD. 23,386
29 เลิศบุศย์ 22,344
30 ห้างหุ้นส่วนสามัญ เอ-รีไซเคิล กรุ๊ป 21,108
31 เทคนิคอล พรีซิชั่น แมชชีนนิ่ง 21,010
32 Electronics Source Co.,Ltd. 20,657
33 แมชชีนเทค 20,598
34 อีดีเอ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด 19,846
35 มากิโน (ประเทศไทย) 19,827
36 ทรอนิคส์เซิร์ฟ จำกัด 19,621
37 Pro-face South-East Asia Pacific Co., Ltd. 19,261
38 SAMWHA THAILAND 19,091
39 วอยก้า จำกัด 18,787
40 CHEMTEC AUTOMATION CO.,LTD. 18,319
41 IWASHITA INSTRUMENTS (THAILAND) LTD. 18,116
42 เอส.เอส.บี สยาม จำกัด 18,057
43 ดีไซน์ โธร แมนูแฟคเจอริ่ง 18,001
44 I-Mechanics Co.,Ltd. 18,000
45 ศรีทองเนมเพลท จำกัด 17,898
46 Intelligent Mechantronics System (Thailand) 17,890
47 Systems integrator 17,446
48 เอ็นเทค แอสโซซิเอท จำกัด 17,402
49 Advanced Technology Equipment 17,221
50 ดาต้า เอ็นทรี่ กรุ๊ป จำกัด 17,211
10/03/2553 08:55 น. , อ่าน 45,709 ครั้ง
Bookmark and Share
ประเภทของแท่นขุดเจาะน้ำมัน
โดย : Admin

 แปลและเรียบเรียงโดย: สุชิน เสือช้อย => เว็บมาสเตอร์ 

 



ประเภทของแท่นเจาะน้ำมัน (Types of Oil Rigs)

           ริก(Rig) หรือ หรือแท่นเจาะน้ำมันหากแยกประเภทตามลักษณะสภาพการนำไปใช้งานก็สามารถแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่ม   คือแท่นบกหรือที่นิยมเรียกทัพศัพท์ว่าแลนด์ริก (Land Rig)  และแท่นเจาะน้ำมันนอกชายฝั่ง (อ๊อฟชอร์ ริก, Offshore rig )
 
 

ตัวอย่างแท่นเจาะน้ำมันบก (Land Rig)
 
      แท่นเจาะน้ำมันบกนี้ ในบ้านเราก็มีให้เห็นอยู่หลายที่ด้วยกันตามแหล่งน้ำมัน (Oil field ) ต่างๆเช่น แหล่งน้ำมันสิริกิติ์ที่ลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร .. แหล่งน้ำมันวิเชียรบุรี-เพชรบูรณ์ ... แหล่งน้ำมันสังฆจาย-สุพรรณบุรี   และอื่นๆ
 
  • Offshore Rigs

           ส่วน offshore rig  จะเป็นแท่นที่ใช้ขุดเจาะน้ำมันที่อยู่นอกชายฝั่งหรือในทะเล หรือตามน่านน้ำของประเทศต่างๆ ซึ่งจะมีหลายประเภทด้วยกัน ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
 
 
  • Swamp barges

swamp barge  คือริกที่มีการติดตั้งแท่นเจาะฯไว้บนแพ    เหมาะสำหรับขุดเจาะบริเวณน้ำตื่นๆ เช่น หนองน้ำหรือแม่น้ำเป็นต้น หรือ บริเวณชายฝั่งที่มีคลื่นลมไม่แรงมาก

 

 

  •  Tender Barges หรือ Tender rig  หรือ Drilling Barges


        แท่นแบบนี้จะออกแบบเหมือนกับแพบรรทุก ซึ่งจะบรรทุกแท่นขุดเจาะฯไปประกอบและติดตั้งที่ platform ต่างๆ และเมื่อเจาะเสร็จก็แยกแท่นออกเป็นส่วนย่อยและบรรทุกไว้บนแพเพื่อเคลื่อนย้ายไปยังสถานที่ที่ต้องการเจาะลำดับถัดไป
 

       ข้อดีคือ ค่าเช่า(day rate)จะราคาถูกกว่าแท่นเจาะแบบอื่นๆ และเหมาะสำหรับบริเวณที่มีหลุมน้ำมันอยู่ใกล้ๆกัน กล่าวคือเมื่อติดตั้งแท่นเจาะฯบน platform เสร็จเรียบร้อยก็สามารถเจาะได้หลายๆหลุมในเวลาไล่เลี่ยกัน  โดยไม่ต้องถอดและเคลื่อนย้ายตำแหน่งไปที่อื่น  ซึ่งทำได้โดยเพียงแค่เลือนตำแหน่งแท่นเจาะนิดหน่อย ( Skid) ในระยะไม่กี่เมตรก็สามารถเจาะเพิ่มได้เลย
 

      ข้อเสียคือ   การถอดประกอบและติดตั้งแต่ละครั้งเป็นอะไรที่ยุ่งยาก และที่สำคัญคือจะทำการขุดเจาะได้เฉพาะบริเวณที่มี่การติดตั้งหรือสร้าง platform รอไว้ก่อนเท่านั้น
 


แท่นถูกนำขึ้นไปประกอบและติดตั้งบน platform เรียบร้อย

 

  • Jack Up Rig

   Jack Up คือ แท่นที่มีโครงสร้างของฐานหรือขา 3 ขาจุ่มลึกลงไปถึงก้นทะเล

ส่วนของฐานหรือลำตัวจะลอยสูงเหนือผิวน้ำและสามารถปรับระดับขึ้นลงได้

ข้อดีคือ ริกแบบนี้จะเข้าประจำตำแหน่งได้รวดเร็ว ลดการเสียเสียเวลาในการเคลื่อนย้ายซึ่งเหมาะกับงานสำรวจ (exploration) ซึ่งถ้าเจอก็เก็บข้อมูลไว้ให้นักธรณีวิเคราะห์แต่ถ้าไม่เจอก็กลบหลุมแล้วเคลื่อนย้ายไปสำรวจที่อื่นต่อไป

ข้อจำกัดคือ สามารถปฏิบัติการได้ที่ความลึกสูงสุด 500 ฟุต หรือเท่ากับ 152.4 เมตร เท่านั้น

 

 

  • Submersible drilling rig
     
   Submersible  โครงสร้างหรือแท่นขุดเจาะที่สามารถจุ่มน้ำได้  แท่นขุดเจาะฯแบบนี้โดยทั่วไปจะใช้งานหรือใช้ขุดเจาะน้ำมันบริเวณน้ำตื่นๆ ประมาณ 80 ฟุตหรือน้อยกว่า    การเคลื่อนย้ายก็ทำโดยใช้เรื่อลากจูงไปยังสถานที่ที่ต้องการจะขุดเจาะและจุ่มลงไปให้นั่งอยู่กับพื้นดินใต้น้ำ (submerged until it sits on the bottom) 


 
 
 
ภาพประกอบจากกลูเกิล


***   แท่นเจาะน้ำมันแบบอื่นๆนั้นผู้เขียนได้เคยไปเซอร์วิช  ทำงาน และกินอยู่หลับนอนมาหมดแล้วทุกประเภท   ยกเว้นริกประเภทนี้ซึ่งผู้เขียนเองก็ยังไม่เคยเห็นมาก่อน ซึ่งคาดการณ์ว่าน่าจะเป็นแท่นเจาะรุ่นเก่าๆหรือแท่นเจาะรุ่นแรกนะครับ
 
 
 
 
  • Semi-Submersible  หรือแท่นขุดเจาะแบบลอยตัวกึ่งจม
     




 Semi Submersibles คือ แท่นที่ถูกออกแบบและคำนวณมาให้สามารถลอยตัวอยู่ในน้ำได้ ...โครงสร้างติดตั้งบนเสาหรือคอลัมน์ขนาดใหญ่ (culumns) และทุ่นท้องแบน(Pontoons) ขนาดใหญ่เป็นตัวรับน้ำหนักอยู่ด้านล่างใต้น้ำและจมอยู่ในระดับความลึกที่กำหนด

 

   แท่นประเภทนี้เมื่อเข้าสู่ตำแหน่งปฏิบัติการหรือตำแหน่งที่ต้องการเจาะแล้วกัปตันผู้ควบคุมดูแลจะสั่งให้ทำการทิ้งสมอขนาดใหญ่( Huge mooring anchors) ลงสู่ก้นทะเล เพื่อทำหน้าที่ยึดและรักษาตำแหน่งของแท่นเอาไว้เพื่อป้องกันการกระแทกจากคลื่นน้ำทะเล

   ***  การรักษาตำแหน่งไม่ให้ตำแหน่งเคลื่อนย้ายนั้น ถ้าเป็นริกรุ่นเก่าๆก็จะใช้วิธีทิ้งสมอยึดตำแหน่งดังที่กล่าวมา แต่ถ้าเป็นริกที่ใหม่ๆหน่อยก็จะใช้ Thrusterหรือใบพัดเรือขนาดใหญ่ที่ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นตัวขับเคลื่อนและสามารถควบคุมความเร็วได้ หรือไม่ก็ใช้ทั้งสมอและใบพัดสนันสนุนซึ่งกันและกัน

***  การควบคุมใบพัด ถ้าเป็นริกรุ่นเก่าหน่อยก็จะใช้ดีซีมอเตอร์และใช้ SRC เป็นควบคุมความเร็ว แต่ถ้าเป็นแท่นใหม่ๆหน่อยก็จะใช้เอซีมอเตอร์และใช้อินเวอร์เตอร์เป็นตัวควบคุมความเร็วรอบ 
 

   แท่นเจาะแบบเหมาะสำหรับขุดเจาะบริเวณที่มีน้ำลึก ซึ่งบางลำสามารถทำการขุดเจาะได้ลึกถึง 5,000 ฟุต หรือเท่ากับ 1,524 เมตรเลยที่เดียว

 

 

Thrusters

 
 

  •   DrillShip ( เรือขุดเจาะน้ำมัน)
     

 
 


       Drillship...ริกประเภทนี้ชื่อสื่อความหมายชัดเจน...เป็นเรือที่ติดตั้งเครื่องมือและอุปกรณ์ขุดเจาะน้ำมัน  ซึ่งเหมาะสำหรับการขุดเจาะในบริเวณที่มีน้ำลึกมากถึง 40,000 ฟุต หรือ 12,120 เมตร (Ultra Deepwater ) และต้องการเคลื่อนย้ายตำแหน่งบ่อยๆ เนื่องจากสามารถเคลื่อนย้ายไปยังตำแหน่งอื่นๆได้เองโดยไม่ต้องอาศัยการลากจูงเหมือน Semi Submersibles และ Jack-Ups ดังที่กล่าวมาแต่ท่าว่ากันเรื่องเสถียรภาพของการปฏิบัติงานแล้ว ก็ยังเป็นรองแท่นประเภท Semi Submersibles
 


       การรักษาตำแหน่งไม่ให้เคลื่อนในขณะทำการขุดเจาะก็จะวิธีที่คล้ายกับแบบ
Semi Submersibles  ดังที่กล่าวมา คือการใช้สมอขนาดใหญ่และใช้ใบพัดหรือ thruster เป็นตัวยึดหรือพยุงไม่ให้ตำแหน่งเคลื่อนไหว

 
 

 

เปรียบเทียบแท่นขุดเจาะแต่ละประเภท


ภาพเปรียบเทียบให้สมรรถนะและขีดความสามารถในการขุดเจาะของแท่นเจาะนอกชายฝั่งแต่ละประเภท (Cr: MEARSEK Drilling)
 

 


ภาพแสดงการยึดหรือการคงตำแหน่งขุดเจาะไม่ให้มีการเคลื่อนที่ของแท่นแต่ละประเภท

 
 


 

========================================================

 

 

 

31 March 2025
:: MEMBER LOGIN
E-mail Account
Password
:: OUR SPONSORS
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD
LZD