'ช่างไฟฟ้า'อาชีพเสี่ยง!! บังคับสอบวัดฝีมือลดสูญเสีย
โดย : Admin


CR : http://www.dailynews.co.th/article/375159

 


''งานด้านไฟฟ้า''เป็นงานที่ต้องอาศัยความรู้ความชำนาญในการซ่อมแซม ปรับปรุง ติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งภายใน ภาย นอกอาคาร และในที่สาธารณะด้วยความปลอดภัยทั้งตัวช่างไฟฟ้าและประชาชน แต่ปัจจุบันพบว่าอาชีพนี้ถูกกำหนดให้เป็นอาชีพที่อาจเป็นอันตรายต่อสาธารณะ ดังนั้นจึงต้องมีการควบคุมและทดสอบวัดระดับฝีมือของช่างก่อนปฏิบัติงาน เพื่อลดความผิดพลาดที่ทำให้สูญเสียชีวิตและทรัพย์สินได้เป็นจำนวนมาก


โดย กรีฑา สพโชค อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อธิบายว่า อาชีพช่างไฟฟ้าถูกกำหนดว่าเป็นอันตราย เนื่องจากการกำหนดสาขาอาชีพ ตำแหน่งงาน หรือลักษณะงานที่อาจเป็นอันตรายต่อสาธารณะมีการดำเนินการโดยผู้ได้รับ หนังสือรับรองความรู้ความสามารถที่มาจากการพิจารณาของคณะทำงานซึ่งเป็นผู้ เชี่ยวชาญจากตัวแทนกลุ่มวิชาชีพ สมาคมวิชาชีพแต่ละสาขาและหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยในเบื้องต้นพิจารณาจากตัวอย่างของประเทศที่มีการประกาศใช้ไลเซนส์ในการ ประกอบอาชีพมาก่อน เช่น ออสเตรเลีย อเมริกา และเยอรมนี เนื่องจากยังเป็นเรื่องใหม่ในการบังคับใช้ในประเทศไทย


การกำหนดอาชีพเสี่ยงขั้นแรกมีการคัดเลือกสาขา พิจารณาองค์ประกอบและหลักเกณฑ์ คือจำนวนผู้ปฏิบัติงานของแต่ ละสาขาวิชาชีพ จำนวนประชาชนที่มีส่วนได้ส่วนเสียหรือมีโอกาสได้รับผลกระทบ โอกาสในการสร้างความเสียหายเกิดอันตรายแก่ร่างกาย ชีวิต และทรัพย์สินส่วนบุคคลและสาธารณะ ซึ่งเบื้องต้นพบว่ากลุ่มอาชีพที่คัดเลือกผ่านเข้ารอบพิจารณาประกอบด้วย กลุ่มช่างไฟฟ้า คือ ช่างไฟฟ้าอุตสาหกรรม ช่างไฟฟ้าในอาคาร ช่างไฟฟ้านอกอาคาร และกลุ่มช่างเชื่อม จากการพิจารณาพบว่าช่างไฟฟ้าในอาคารเป็นอาชีพที่ควรมีการทดสอบมาตรฐานฝีมือ แรงงานแห่งชาติเป็นการนำร่อง

 

  ช่างไฟฟ้าในอาคารมีจำนวนมากกระจายอยู่ทั่วพื้นที่ทุกส่วนของประเทศ เป็นอาชีพที่มีความเสี่ยงสูง หากมีความผิดพลาดในชิ้นงานก็มีโอกาสส่งผล กระทบต่อชีวิตคนและทรัพย์สินสาธารณะในวงกว้างได้ เช่น หากเดินสายไฟหรือวางระบบผิดพลาด อาจทำให้ไฟช็อต ไฟดูดคนเสียชีวิต หรือหากไฟฟ้าลัดวงจรเกิดไฟไหม้บ้านไหม้อาคาร และอาจลุกลามไปหลายบ้านเรือนหรือทั้งชุมชน ซึ่ง ปัจจุบันมีผู้ผ่านการทดสอบที่ได้รับมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาช่างไฟฟ้าภายในอาคาร จำนวน 15,497 คน แต่ตัวเลขผู้ปฏิบัติงานด้านช่างไฟฟ้าที่แท้จริงไม่มีตัวเลขแน่นอน เพราะยังไม่มีการควบคุมหรือสำรวจอย่างเป็นระบบ บางครั้งอาจเป็นแรงงานต่างชาติ เมื่อมีความผิดพลาดในการติดตั้งระบบไฟฟ้าจึงหาผู้รับผิดชอบได้ยาก



ดังนั้นการกำหนดให้สาขาช่างไฟฟ้าในอาคารเป็นอาชีพที่ต้องได้รับการอนุญาต หรือดำเนินการโดยผู้ที่ได้รับหนังสือรับรองความรู้ความสามารถจะช่วยให้การ ตรวจสอบจำนวนและควบคุมคุณภาพการทำงานได้ดีขึ้น รวมทั้งมีความปลอดภัยลดความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่ง ในปี 2559 นี้ ขอเชิญชวนให้ช่างไฟฟ้าในอาคารทุกคนไปติดต่อขอทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่ง ชาติที่ศูนย์และสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานทุกจังหวัดทั่วประเทศไทย หรือศูนย์ทดสอบของส่วนราชการ สถานศึกษา และองค์การวิชาชีพอีก 32 แห่ง เพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าประเมินขอรับใบอนุญาตหนังสือรับรองความรู้ ความสามารถเพื่อใช้ประกอบอาชีพเสี่ยงที่จะบังคับใช้ในเร็ว ๆ นี้

มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ” เป็นข้อกำหนดทางวิชาการที่ใช้เป็นเกณฑ์วัดระดับฝีมือ มีองค์ประกอบ คือ ความรู้ ทักษะ ทัศนคติ ส่วน “หนังสือรับรองความรู้ความสามารถในการทำงาน” เป็นหนังสือที่ใช้ในการประกอบอาชีพที่อาจเป็นอันตรายต่อสาธารณะเพื่อคุ้ม ครองป้องกันชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนและประโยชน์สาธารณะ ดังนั้นผู้ที่จะรับการประเมินต้องปฏิบัติ 2 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ดำเนินการสมัครและรับการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาช่างไฟฟ้าในอาคาร ถ้าสอบผ่านจึงดำเนินการ ขั้นตอนที่ 2 คือสมัครรับการประเมินความรู้เพื่อออกหนังสือรับรองความรู้ความสามารถในการ ทำงาน

 




กระบวนการนี้ใช้เกณฑ์พิจารณาให้คะแนน 3 ส่วน โดยมีคะแนนเต็ม 100 คะแนน แบ่งเป็น ผลการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน 50 คะแนน เป็นการวัดความรู้และทักษะความชำนาญ ซึ่ง ส่วนแรกทดสอบความรู้ด้านวิชาการหรือทฤษฎีด้วยวิธีสอบข้อเขียนและ ส่วนที่สองคือ การวัดทักษะโดยการปฏิบัติ เช่น หากเป็นช่างไฟฟ้าในอาคารจะทดสอบให้ออกแบบติดตั้งวางระบบไฟ การเดินสายไฟ-สายดิน ระบบความปลอดภัย วัดวิธีการขั้นตอนการทำงาน ความเรียบร้อย สวยงาม ถูกต้องครบถ้วนแล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนด เป็นต้น ประสบการณ์ 25 คะแนน พิจารณาจากหนังสือรับรองการทำงาน การผ่านการอบรมหลักสูตรที่เกี่ยวข้องในสาขานั้น ๆ การเป็นวิทยากรหรือการสอน เป็นต้น และคุณลักษณะส่วนบุคคลอีก 25 คะแนน พิจารณาจากการสัมภาษณ์หรือการให้ทดสอบเพื่อวัดศักยภาพในการประกอบอาชีพ หรือการทำงานที่มีอยู่ในตัวบุคคล เช่น ทักษะในการจัดการเกี่ยวกับวิธีการหรือกระบวนการในการทำงาน หรือทักษะในเรื่องของความสัมพันธ์ภายในหน่วยงาน เป็นต้น


ผลดีของการใช้มาตรฐานฝีมือแรงงานสำหรับนายจ้างสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการ วัดความรู้ความสามารถของบุคลากร ทำให้ทราบว่าพนักงานมีขีดความสามารถ ความรู้ และทักษะในระดับใด เป็นประโยชน์ในการวางแผนพัฒนาบุคลากร รวมทั้งใช้เป็นเกณฑ์กำหนดค่าตอบแทนความสามารถได้ และการใช้แรงงานที่ได้มาตรฐานจะส่งผลให้ลดการสูญเสียและผิดพลาดในสินค้าและ บริการ ส่วนลูกจ้างสามารถทราบขีดจำกัด ข้อดีและข้อด้อยของตัวเองเพื่อนำไปสู่การทบทวนฝึกฝน รวมทั้งใช้หนังสือรับรองผู้ผ่านการทดสอบฯ ประกอบการขอหนังสืออนุญาตไปทำงานในต่างประเทศได้ สุดท้ายผู้บริโภคหรือประชาชนจะได้รับสินค้า บริการที่มีคุณภาพและปลอดภัยที่สุด

 

ถึงแม้ตอนนี้ช่างไฟฟ้าจะยังไม่มีหนังสือรับรองความรู้ความสามารถ ประชาชนที่ต้องการใช้บริการงานด้านไฟฟ้าหากต้องการมั่นใจถึงความปลอดภัยควร เลือกช่างที่มีใบรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาช่างไฟฟ้าในอาคารที่ออกโดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงานไปก่อน เพราะเชื่อมั่นได้ในเบื้องต้นว่ามีความรู้ความสามารถด้านทฤษฎีและทักษะความ ชำนาญในการปฏิบัติงานตามเกณฑ์ได้ และในอนาคตหากมีการเข้มงวดการประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยงได้อย่างเป็น รูปธรรมแล้วเชื่อว่าจะช่วยลดสถิติความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินได้มากที เดียว.

 

เผย 10 ธุรกิจ ดาวรุ่ง-ดาวร่วงปี 2559

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผย 10 ธุรกิจดาวรุ่ง-ดาวร่วง ในปี 2559 โดยธุรกิจดาวรุ่ง ได้แก่ อันดับ 1 ธุรกิจทางการแพทย์และความงาม อันดับ 2 ธุรกิจเทคโนโลยีสื่อสาร อันดับ 3 ธุรกิจเครื่องสำอางและครีมบำรุงผิว อันดับ 4 ธุรกิจการท่องเที่ยว อันดับ 5 ธุรกิจประกันภัยและประกันชีวิต อันดับ 6 ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม โดยเฉพาะเพื่อสุขภาพ อันดับ 7 ธุรกิจขนส่งและ โลจิสติกส์ อันดับ 8 มี 2 ธุรกิจ ได้แก่ ธุรกิจจัดการตลาด เช่น ตลาดนัดและตลาดสด ตลาดนัดกลางคืน และธุรกิจขายวัสดุก่อสร้างและธุรกิจก่อสร้าง อันดับ 9 มี 2 ธุรกิจ ได้แก่ ธุรกิจจำหน่ายและผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุ และธุรกิจยา เวชภัณฑ์ และสมุนไพรธรรมชาติ สุดท้าย อันดับที่ 10 มี 2 ธุรกิจ ได้แก่ ธุรกิจพลังงานทดแทน และธุรกิจพลังงานหมุนเวียน
 

ส่วนธุรกิจดาวร่วง ได้แก่ อันดับ 1 ธุรกิจหัตถกรรม อันดับ 2 ธุรกิจฟอกย้อม อันดับ 3 ธุรกิจสิ่งทอผ้าผืน อันดับ 4 ธุรกิจจำหน่ายผักและผลไม้อบเเห้ง และธุรกิจร้านค้าดั้งเดิมที่ไม่ปรับตัว อันดับ 5 ธุรกิจรับซื้อยาง อันดับ 6 โรงสีขนาดเล็ก อันดับ 7 ธุรกิจสิ่งพิมพ์ หนังสือเล่ม อันดับ 8 ธุรกิจรับซื้อคอมพิวเตอร์มือสอง และธุรกิจร้านจำหน่ายโทรศัพท์มือสอง อันดับ 9 ธุรกิจจำหน่ายอุปกรณ์เครื่องจักรทางการเกษตร และ อันดับ 10 ธุรกิจพ่อค้าคนกลางพืชผลทางการเกษตร. ชญานิษฐ คงเดชศักดา“

 
  • คอมเม้นท์บางส่วนของจากผู้ติดตามข่าวสาร

 
Aetz Pea · ทำงานที่ กฟภ.
งี้ค่าแรงก็ขึ้นสิครัช อิอิ
อัน นี้ก็น่าสนใจนะ แต่มีช่างอีกชุดคือช่างที่ทำงานเป็นผู้รับเหมางานโครงการก่อสร้างละครับ คือที่ผมเจออยู่ตอนนี้คือเรียกง่ายๆไม่รูเรื่องงานช่างเอาเสียเลยแต่มีค่า แรงเท่ากับระดับช่างฝีมือเลย ยังงี้จะให้มีการอบรมยังใง
ผม ว่าอยู่ที่ สถานประกอบการหรือเจ้าของตึดว่าจะเอาด้วยหรือป่าวเราไปสอบมาแต่เค้าไม่ขึ้น เงินให้ทำไงอะแล้วที่เรียนมามันยังบอกฝีกมือยังไม่ได้อีกจัดสอบวัดฝีกมืออีก ถ้าสอบเข้าหน่วยงานราชการก้อว่ากันไปครับ
แล้วคนที่จบปวช.ปวส ต้องทดสอบอีกมั้ย
ช่างที่รับเหมาอิสระ ไม่ได้เป็นลูกน้องของร้านค้า,หจก.,บริษัท หล่ะคับ ทำไง??
สอบ เช่นกันครับ เพราะถ้าไม่สอบก็ไปรับงานอาคารควบคุมตามกฏไม่ได้(มีประเภทอาคารที่บังคับ อยู่เช่นโรงพยาบาล ศูนย์การค้า และก็อีกหลายอาคาร)
ถูกใจ · ตอบกลับ · 1 · 3 กุมภาพันธ์ 2016 17:19
สมพงษ์ สาบุบผา อย่างผมพึ่งจบ ปวส ช่างไฟฟ้ามา ถ้าจะไปสอบการไฟฟ้าหรือไปทำงานโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ จำเป็นต้องไปสอบรึป่าวครับ
ถูกใจ · ตอบกลับ · 1 · 13 มีนาคม 2016 0:51

 ปัญหา หลักๆ 1ช่างที่ไม่ได้เรียนหนังสือจำเค้ามา ฝึกงาน ควมรุ้พื้นฐานไม่มี วินัยไม่มี ความรู้เรื่องควาามปลอดภัย มาตรฐานติดตั้งไฟฟ้าไม่รู้จัก วสท คืออะไรไม่รู้จัก เน้นถูกเงิน ถูกใจ 2.ช่างที่จบ ปวส รู้ทฤษฎี ปฎิบัติ แต่จะทำเรื่องความปลอดภัยหรือเปล่าอยู่ที่อาจารย์ปลูกฝั่ง ต้องหาประสบการณ์ อีกหน่อย พอทำงานได้ ถ้าได้ทำงานในด้านที่รักที่ชอบจะเรียนรู้ได้ไว ที่หน้ห่วงพวกแรก จำเค้ามา พอถามจะตอบอะไรไม่ได้ อยู่ที่ผุ้จ้างจะเลือกจ้าง ย้ำอีกครั้งถูกและดีไม่หรอก
ยังไม่ได้บังคับกับงานทั้งหมดครับ บังคับกับงานบางอย่าง อาคารบางชนิดครับ แต่ก็นะ ถ้าไม่ไปสอบขอบเขตงานที่ทำได้ก็จะถูกลดทอนลงหละครับ
ถูกใจ · ตอบกลับ · 3 กุมภาพันธ์ 2016 17:20


วันนี้ถ้าเราไม่มีมาตราฐานในวิชาชีพ แรงงานต่างชาติเข้ามาแน่
แล้ว พวกกูจะร่ำเรียนจนจบการศึกษามาทำไมว้ะเฮ้ย งั้นไม่ต้องเรียนก็ได้ดิ่ สอบพวกมึงผ่านก็รับงานไฟฟ้าอย่างถูกต้องตามกฏของหมายได้แล้ว ว่างั้น
เนื้อหาโดย: 9engineer.com (https://9engineer.com/)