CR: นสพ. แนวหน้า 24 june 2015
3 มิ.ย.58 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมาได้รับแจ้งจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่การ ให้บริการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ว่า หลังได้รับใบแจ้งค่าไฟฟ้าแบบใหม่ ที่ปรากฏตัวเลข "ค่าบริการเพิ่มเติม" ทั้งที่ก่อนหน้านี้ ไม่เคยรับแจ้งจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมาก่อน จึงได้สอบถามไปยังเว็บไซต์ และคอลเซ็นเตอร์ 1129 ของ กฟภ.
ซึ่งทาง กฟภ.แจ้งว่า ได้พัฒนารูปแบบใบแจ้งค่าไฟฟ้าแบบใหม่ ให้เป็นไปตามมาตรฐานของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อแสดงความโปร่งใสและเป็นธรรมแก่ผู้ใช้ไฟฟ้ามากขึ้น โดยเพิ่มรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลค่าใช้ไฟฟ้า พร้อมแจกแจงค่าบริการรายเดือน และประวัติการใช้ไฟฟ้าย้อนหลัง ซึ่งค่าบริการรายเดือน เป็นส่วนหนึ่งของค่าไฟฟ้าที่มีอยู่แล้วตามอัตราโครงสร้างของค่าไฟฟ้าที่ได้ ประกาศใช้ในปัจจุบัน ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน
ด้าน นายพรศักดิ์ จุฑากาญจน์ ผู้จัดการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาครังสิต ระบุว่า ใบแจ้งค่าไฟฟ้าแบบใหม่มีโครงสร้างค่าไฟฟ้า และอัตราค่าไฟฟ้าเหมือนเดิม เพียงแต่มีการเพิ่มรายละเอียดให้ชัดเจนมากขึ้น สามารถตรวจสอบได้ และมีความเป็นธรรมแก่ผู้บริโภค รวมทั้งใบแจ้งค่าไฟฟ้าแบบใหม่จะมีสถิติการใช้ไฟฟ้าย้อนหลัง 6 เดือน ทำให้ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถเห็นหน่วยการใช้ไฟฟ้าที่ผ่านมาว่า มียอดการเรียกเก็บค่าไฟฟ้าผิดปกติหรือไม่ เพื่อที่จะสามารถติดต่อสอบถามได้
สำหรับค่าบริการรายเดือน มีดังนี้
- ประเภทบ้านอยู่อาศัย ที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วย/เดือน อัตราค่าบริการ 8.19 บาท หากใช้ไฟฟ้าเกิน 150 หน่วย/เดือน คิดอัตราค่าบริการ 38.22 บาท
- ประเภทกิจการขนาดเล็ก คิดอัตราค่าบริการ 46.16 บาท/เดือน
อย่างไรก็ดี ได้มีการตั้งข้อสังเกตไว้คร่าวๆ ดังนี้
1. ครั้งแรกที่ยื่นขอมิเตอร์นั้น ทางกฟภ.เรียกเก็บค่าประกันมิเตอร์ไปแล้ว และผู้ยื่นจะได้คืนต่อเมื่อมีการยกเลิกใช้ไฟฟ้า และเงินส่วนนี้ กฟภ. เอาไปใช้ประโยชน์ในส่วนไหน เป็นเงินฝาก เพื่อรับดอกเบี้ย หรือไม่
2. ค่า ft กับ vat 7% เป็นกฎหมาย ซึ่งพื้นฐานเหล่านี้ คือเงินการไฟฟ้าเอาไปบริหารกิจการ กฟภ.
3. กฟภ.ตามกฎหมาย คือการบริการสาธารณประโยชน์เพื่อสาธารณชน รัฐบาลมีหน้าที่กำกับดูแล และบริหาร (หมายถึง กิจการของรัฐแม้ขาดทุน รัฐ คือผู้จ่ายแทน ประชาชน) เช่น การรถไฟ ขสมก ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ เป็นเรื่องสาธารณประโยชน์