ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
08 ส.ค. 2556
... |
ขยะอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นทุกปี "มือถือ" นำโด่งแซงหน้า "คอมพิวเตอร์พีซี" ค่ายมือถือโหมกระแสดึงลูกค้า-คนไทยยุค 3G ขี้เบื่อ ใช้งานแค่ 6 เดือนเปลี่ยนเครื่องใหม่ ขณะที่ธุรกิจใช้วิธีเช่าซื้อคอมพิวเตอร์เปิดช่องธุรกิจขายเครื่องมือสองโต ติดลม "ดีลเลอร์" เหมาซื้อยกลอตขายต่อทั้งในประเทศและต่างประเทศ ฟาก "กรมควบคุมมลพิษ" เผยตัวเลขคาดการณ์ซาก "มือถือ-คอมพิวเตอร์" นายสมชัย สิทธิชัยศรีชาติ กรรมการผู้จัดการ บมจ.เอสไอเอส ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย) ผู้ค้าส่งสินค้าไอที และโทรศัพท์มือถือ กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ประเทศไทยมีขยะที่เกิดจากคอมพิวเตอร์ที่เสียหรือหมดอายุใช้งานทุกปี ปัจจุบันยังไม่มีการจัดการ แต่เมื่อถึงเวลาที่ขยะอิเล็กทรอนิกส์มีมากถึงระดับคุ้มทุนในการประกอบธุรกิจ |
รีไซเคิลจะมีผู้ประกอบการคัดแยกแร่นำไฟฟ้าออกจากขยะอิเล็กทรอนิกส์เช่นเดียว กับในยุโรปและอเมริกายอดขายคอมพิวเตอร์ใหม่ในปีนี้ 3.5 ล้านเครื่อง ใช้ในภาคธุรกิจ 40% หรือ 1.5 ล้านเครื่อง องค์กรส่วนใหญ่มีระยะเวลาใช้งานชัดเจน และนิยมเช่าใช้ จึงมีเครื่องเก่าเข้ามาในตลาดมือสองประมาณ 30% หรือ 500,000 เครื่อง ปัจจุบันมีดีลเลอร์รายใหญ่ 5-10 ราย รับซื้อเครื่องเก่าเพื่อนำไปจำหน่ายต่อทั้งใน และต่างประเทศ กรณีส่งออกจะส่งไปพม่า และอินเดีย ส่วนในประเทศเน้นองค์กรระดับเอสเอ็มอีและนักศึกษา ในราคา 1,000-2,000 บาทเท่านั้น
"เรากำลังจะมีโครงการร่วมกับดีแทคทำที่ทิ้งขยะ อิเล็กทรอนิกส์ เช่น แบตเตอรี่ หรือเมาส์ โดยดีแทคจ้างบริษัทต่างประเทศมาเก็บไปแยกส่วนที่นำมาใช้ต่ออีกที"
นาย บุญชัย เงาวิศิษฎ์กุล อดีตผู้อำนวยการฝ่ายบริหารผลิตภัณฑ์โมบิลิตี้ บริษัท เอเซอร์ คอมพิวเตอร์ จำกัด กล่าวว่า คนไทยเฉลี่ยการเปลี่ยนคอมพิวเตอร์อยู่ที่ 5 ปี ขณะที่เครื่องเก่าถูกนำไปจำหน่ายให้ธุรกิจรับซื้อเครื่องมือสองมากกว่านำไป ทิ้ง
"เอเซอร์พยายามแก้ปัญหาจากต้นทางด้วยการไม่ใช้จอที่ทำจากสารตะกั่ว แต่แก้ไม่ได้ 100% และมีโครงการแลกเครื่องใหม่ปีละ 2-3 ครั้ง"
นาย อดิศักดิ์ สุขุมวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เจมาร์ท กล่าวว่า ยอดขายโทรศัพท์มือถือในปีนี้มีกว่า 20 ล้านเครื่อง ขณะที่ผู้บริโภคเปลี่ยนเครื่องเร็วขึ้นจาก 2-3 ปี เหลือ 6 เดือน แต่เครื่องเก่าที่มีไม่ถึงขั้นเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ เพราะถ้าไม่เก็บเครื่องไว้สำรองก็จะนำไปขายต่อ ปัจจัยที่ทำให้คนเปลี่ยนเครื่อง เพราะต้องการใช้ 3G ซึ่งฟีเจอร์โฟนรุ่นเก่าใช้ไม่ได้
ในปีนี้ยอดขายเป็นสมาร์ทโฟน 60% ฟีเจอร์โฟน 40% ขณะที่มีซิมเปิดใช้กว่า 88 ล้านเลขหมาย แต่มีผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ 75% หมายความว่ามีเครื่องในตลาดมือสองรวมกับที่อยู่ตามบ้านเกือบ 20 ล้านเครื่อง
"จริง ๆ ถ้าเจาะไปที่ตลาดมือถือสองจะพบว่าโตขึ้นเร็วมาก แต่ยังไม่มีใครลงไปสำรวจว่ามากขนาดไหน"
ด้าน นายมงคลฤกษ์ พูลพัฒน์ ผู้จัดการ ร้านเอโอบีโมบาย กล่าวว่า ผู้ใช้เปลี่ยนเครื่องบ่อยขึ้น สังเกตได้จากระยะเวลาที่มีสินค้ารุ่นใหม่วางตลาดกับการนำมาวางจำหน่ายเป็น สินค้ามือสองมีให้เห็นเพิ่มขึ้นในระยะเวลาที่สั้นลง ที่ร้านมีเครื่องมือสองอายุใช้งานไม่เกิน 6-8 เดือน 30% อีก 70% เป็นเครื่องอายุการใช้งานเกิน 1 ปี
"เครื่องมือสองกำไรสูงกว่าขาย เครื่องใหม่ แม้แต่เครื่องที่เสียแล้วเราก็รับซื้อในราคา 500-1,000 บาท เพื่อนำไปขายให้ร้านรับซ่อมมือถือใช้เป็นอะไหล่"
ดร.กิตติณัฐ ทีคะวรรณ ผู้อำนวยการด้านบริหารผลิตภัณฑ์ดีไวซ์ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า บริษัทมีโครงการนำไอโฟนรุ่นเก่ามาใช้เป็นส่วนลดซื้อไอโฟน 5 ตั้งแต่ปลาย มิ.ย.ที่ผ่านมา มีลูกค้าเข้าร่วมกว่า 1,000 ราย เพื่ออำนวยความสะดวกให้ลูกค้าที่ไม่รู้ว่าจะนำเครื่องเก่าไปทำอะไร และต้องการอัพเกรดโทรศัพท์ไปใช้ 4G
"ทรูนำไอโฟนมือสองไปจำหน่ายให้ดีลเลอร์รายใหญ่ 3-4 เจ้าในราคาต้นทุน ดีลเลอร์จะนำไปจำหน่ายในตลาดมือสองต่อไป"
นาย กิตติพงศ์ กนกวิไลรัตน์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ไบรท์สตาร์ ประเทศไทย กล่าวว่า ในต่างประเทศมีโครงการรับซื้อเครื่องคืน และให้ผู้บริโภคนำเครื่องเก่ามาแลกเครื่องใหม่ โดยร่วมกับโอเปอเรเตอร์บางราย เพื่อรักษาฐานลูกค้าแล้วนำเครื่องเหล่านั้นไปขายในประเทศที่ 3 ที่ต้องการมือถือราคาย่อมเยา
จากผลการศึกษาโครงการพัฒนาแนวทางการ ประเมินซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของกรมควบคุมมลพิษมี การคาดการณ์ปริมาณซากโทรศัพท์มือถือที่จะเกิดขึ้นในปี 2556 ที่ 9.14 ล้านเครื่อง และเพิ่มขึ้นเป็น 9.75 ล้านเครื่องในปี 2557 และทะลุ 10 ล้านเครื่อง
ในปี 2558 ขณะที่คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลปีนี้อยู่ที่ 1.99 ล้านเครื่อง เพิ่มเป็น 2.21 ล้านเครื่องในปี 2557 และ 2.42 ล้านเครื่องในปี 2558
ขณะที่ผลสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคกลุ่มครัวเรือน เมื่อไม่ใช้มือถือและคอมพิวเตอร์แล้ว กว่า 50% นำไปขาย อีก 30% เก็บไว้ ขณะที่มีผู้บริโภคราว 8-12% นำไปทิ้งรวมกับขยะอื่น