พระจอมเกล้าฯเปิดตัวว่าที่'วิศวะรถไฟ'
โดย : Admin

วันที่ 01 สิงหาคม พ.ศ. 2556

 พระจอมเกล้าฯเปิดตัวว่าที่'วิศวะรถไฟ' คัดเด็กหัวกะทิจากทั่วประเทศ-รองรับ'รถไฟความเร็วสูง'

 

 

   สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เปิดห้อง เรียนวิศวกรรมขนส่งทางรางขนนักศึกษาวิศวกรรมระบบรางกลุ่มแรกของประเทศไทย ทดลองตรวจรางรถไฟ สถานีพระจอมเกล้าลาดกระบัง โดยคัดกรองนักเรียนมัธยมศึกษาระดับหัวกะทิทั่วประเทศกว่า 2,000 คน และคัดเลือกให้เข้าเรียนเพียง 50 คน เข้าศึกษาหลักสูตรการเรียนการสอนในสาขาวิชาวิศวกรรมขนส่งทางราง

     ศ.ดร.ถวิล พึ่งมา อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ กล่าวว่า ปัจจุบันเส้นทางเดินรถไฟในประเทศไทยมีเส้นทางสายหลัก 5 สาย

 ได้แก่ สายเหนือ ระยะทาง 1,208 ก.ม. สายตะวันออกเฉียงเหนือ ระยะทาง 1,545 ก.ม. สายใต้ ระยะทาง 4,758 ก.ม. สายตะวันออก ระยะทาง 703 ก.ม. และสายแม่กลอง 64 ก.ม. รวมทั้งประเทศเป็นระยะทาง 8,278 ก.ม. โดยระบบรถไฟดังกล่าวเปิดบริการมายาว นานกว่า 100 ปี และได้ซ่อมบำรุงรางรถไฟอยู่เป็นประจำ

 

ภาพประกอบข่าว





อย่าง ไรก็ตาม ประเทศไทยเป็นระบบรถไฟรางเดี่ยว เมื่อรถไฟสวนทางกันจะต้องรอสลับราง ซึ่งเป็นข้อเสียประการหนึ่งของระบบขนส่งทางราง ทำให้การเดินทางเกิดการล่าช้า และไม่สามารถคำนวณเวลาการเดินรถได้อย่างแม่นยำ อีกทั้งปัจจุบันประเทศไทยมีรถตรวจสภาพรางพิเศษ EM80 ซึ่งมีเพียงคันเดียวในประเทศ สำหรับวิ่งทดสอบรางรถไฟกว่า 8,278 กิโลเมตร ซึ่งทำให้การตรวจสอบรางทั้งหมดมีโอกาสเกิดการคลาดเคลื่อนและต้องใช้ระยะเวลา นานในการตรวจสอบ



ดร.ณัฐวุฒิ หลิ่วพิริยะวงศ์ ประธานหลักสูตรวิศวกรรมขนส่งทางราง คณะวิศวกรรมศาสตร์ กล่าวว่า การพัฒนาระบบรถไฟดังกล่าวประเทศไทยยังขาดบุคลากรเฉพาะทางจึงมีความจำเป็นที่ ภาคการศึกษาต้องสร้างบุคลากรให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ซึ่ง สจล.ในฐานะของสถาบันการศึกษาชั้นนำด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทย คาดว่าในปี 2562 จะสามารถผลิตบุคลากรด้านวิศวกรรมระบบรางไม่ต่ำกว่า 240 คน



สำหรับ ผู้สนใจสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง หมายเลขโทรศัพท์ 0-2329-8400 ถึง 8411 ต่อ 285, 286

เนื้อหาโดย: 9engineer.com (https://9engineer.com/)