ที่มา: www.oknation.net/blog
ไปทำงานภาคสนามมา
เที่ยวบ่อน้ำมัน กับ โรงงานไฟฟ้าชีวมวล ที่ จังหวัดสุพรรณบุรี
เริ่มที่แหล่งน้ำมันดิบสังฆจาย หรือ ปตท. สผ.เรียกที่นี่ว่า โครงการพีทีทีอีพี 1 [ PTT EP1]
มี 4 แหล่ง (ไซด์) ปิโตรเลียม (11 หลุม) ในพื้นที่โครงการ 10 ตารางกิโลเมตร ทั้งที่ตั้งอยู่ในเขต อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม และเขต อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี อีก 3 แหล่ง คือ อู่ทอง 17 และอู่ทอง 13 ซึ่งอยู่ห่างกันประมาณ 500 เมตร และแหล่งสังฆจายซึ่งอยู่ห่างออกไปอีก 4 กิโลเมตร
แม้ว่าอาจจะได้น้ำมันดิบปริมาณไม่มาก แต่เมื่อมีการใช้เครื่องมือหรือโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่แล้วก็ทำให้โครงการนี้คุ้มค่าการผลิตได้ด้วยฝีมือคนไทย 100 %
|
เราเห็นเครื่องโยก ที่เราอาจจะคุ้นตาในภาพยนตร์ต่างประเทศ ชาวอเมริกันเรียกกันว่า "ดองกี้ปั๊ม " เครื่องโยกหัวม้าจะ ช่วย สร้างแรงดันใต้พื้นดินเพื่อใช้ดันน้ำมันดิบ เพราะลักษณะทางธรณีวิทยาทำให้น้ำมันดิบที่นี่ไม่มีแรงดันสูงเหมือนกับในสหรัฐหรือตะวันออกกลาง ที่สามารถดันตัวเองขึ้นมาบนผิวดินได้
|
ปตท.สผ เจาะหลุมน้ำมันดิบที่ความลึกประมาณ 1,200-1,300 เมตร เมื่อขุดไปจะมีก๊าซธรรมชาติปะปนขึ้นมาด้วยจึงต้องมีการใส่อุปกรณ์กักก๊าซ (ก๊าซบลอต) เพื่อมาใช้ในการต้มน้ำ เพื่อเพิ่มอุณหภูมิน้ำมันเมื่อขึ้นพ้นหลุมอุณหภูมิปกติอยู่ที่ 42-45 องศาเซลเซียส แต่เนื่องจากน้ำมันที่นี่จะมีแวคปนอยู่มาก ต้องมีการอุ่นไปที่อุณหภูมิ 67-75 องศาเซลเซียล เพื่อทำให้น้ำแยกตัวจากน้ำมันดียิ่งขึ้น แต่ละวัน PTT ED1 ผลิตน้ำมันดิบได้ 350 บาร์เรลและน้ำ 850 บาร์เรลต่อวัน การใช้ก๊าซมาอุ่นน้ำมันแบบนี้ทำให้ที่นี่ประหยัดค่าไฟฟ้าได้ถึงเดือนละ 80,000 บาท ส่วนน้ำที่ได้จะน้ำมาฉีดลงหลุมน้ำมันเพื่อให้เม็ดน้ำมันดิบละลายออกมาหมุนเวียนแบบนี้ไปจนกว่าน้ำมันดิบจะหมดหลุม
น้ำมันดิบจาก PTT EP1 มีมาตรฐานต่ำ เมื่อส่งไปกลั่นที่โรงกลั่นบางจาก จะได้น้ำมันเตา 60% ที่เหลือ 20% ได้น้ำมันดีเซล อีก 20% เป็นก๊าซโซลิน (เบนซิน) และน้ำมันเจ็ทอีกนิดหน่อย
ทีนี้ไปโรงไฟฟ้าชีวมวลกันต่อ จากอู่ทองขับไปด่านช้าง 80 ก.ม ชมไร่อ้อยเพลินๆประมาณ1 ชั่วโมงก็มาถึง โรงงานน้ำตาลมิตรผล การสร้างมูลค่าเพิ่มจาก“อ้อย” จากธุรกิจอ้อยและน้ำตาล ไปสู่ “พลังงานทดแทน”
|
ซึ่งล้วนเป็นผลพลอยได้ (By-Product) จากพืชมหัศจรรย์ที่เรียกว่า “อ้อย” หีบน้ำอ้อยแล้ว จะสามารถนำมาผลิตเป็น “เอทานอล” โดยใช้กากน้ำตาล (โมลาส) เป็นวัตถุดิบ เมื่อนำเอทานอลมาผสมกับน้ำมันเบนซินในสัดส่วนที่เหมาะสม จะกลายเป็น “แก๊สโซฮอล์” ชานอ้อยยังสามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า ทดแทนเชื้อเพลิงจากฟอสซิส หรือที่เรียกกันติดปากว่า พลังงานทดแทน (Renewable Energy) โดยการสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวล ยังไม่หมดชานอ้อยมาผลิตเป็น “ปาร์ติเคิล บอร์ด” ได้อีก ไม่มีส่วนไหนเหลือทิ้งเปล่าเลย
|
ในโรงงานน้ำตาล
|
|
อดคิดต่อไม่ได้ว่า เมื่อเมืองไทยอันอุดมของเรายังมีพื้นที่ปลูกมากพอ แค่หันมาวางแผน สร้างความตระหนักรู้ให้จริงจัง ทำไปที่เป้าหมายเดียวกัน คือ ลดการนำเข้าน้ำมันให้ได้ มีหรือที่เราจะต้องทนทุกข์กับการปรับราคาขายปลีกน้ำมันทุกวันแบบนี้ พูดแล้วก็อยากเดินมาทำงาน ศุนันทวดี เติมน้ำมันแพงกว่าซื้อข้าวกินแล้วค่ะ