ค่าของแรงดันกระแสสลับจะเปลี่ยนอย่างต่อเนื่อง จากศูนย์ไปถึงยอดทางบวก กลับลงมายังศูนย์และไปยังยอดลบ แล้วก็กลับขึ้นมายังศูนย์อีกครั้ง โดยค่าส่วนมากจะน้อยกว่าแรงดันยอด ทำให้การวัดจากผลที่แท้จริงไม่ดี
จึงต้องใช้ค่าแรงดันรูทมีนสแควร์แทน (VRMS) ซึ่งคือ 0.707 ของแรงดันยอด (Vpeak) :
*** สมการนี้สามารถใช้กับกระแสได้ด้วยเช่นกัน
จากสมการดังกล่าว ค่าที่ได้จะเป็นจริงเฉพาะสัญญาณที่เป็นคลื่นรูปซายน์ หรือ sine wave ส่วนคลื่นรูปแบบอื่นๆ ต้องใช้ค่าที่ต่างออกไปไม่ใช่ 0.707 และ1.414
**** ค่าอาร์เอ็มเอสเป็นค่าประสิทธิผลของแรงดันหรือกระแสที่เปลี่ยนแปลง สามารถเทียบเท่าได้กับค่าดีซี (DC) สม่ำเสมอหรือคงที่
ตัวอย่างเช่น ต่อหลอดกับไฟเอซี 6V RMS จะให้ความสว่างเท่ากันกับหลอดที่ต่อกับไฟดีซีสม่ำเสมอ 6V อย่างไรก็ตามแสงจะหรี่ลงหากต่อหลอดกับไฟเอซีแรงดันยอด 6V เพราะเมื่อคิดเป็นค่า RMS จะได้เท่ากับ 4.2V เท่านั้น (เทียบได้กับไฟดีซีสม่ำเสมอ 4.2V )
การคิดว่าค่าอาร์เอ็มเอสเป็นค่าแบบเฉลี่ยมันคือวิธีช่วยให้ง่ายขึ้นเท่านั้น ซึ่งไม่ใช่ค่าเฉลี่ยที่แท้จริง! แต่ในความจริงค่าเฉลี่ยของแรงดัน หรือกระแส ของสัญญาณเอซีจะเท่ากับศูนย์ เพราะส่วนบวกกับส่วนลบ จะหักล้างกันหมด
ค่าไฟเอซีที่วัดด้วยมิเตอร์เป็นค่าอาร์เอ็มเอสหรือค่าแรงดันยอด?
โวลท์มิเตอร์และแอมป์มิเตอร์เอซี จะแสดงค่า อาร์เอ็มเอส(RMS) เช่นเดียวกันกับ มิเตอร์ดีซี (DC) ซก็แสดงค่าอาร์เอ็มเอส(RMS)เช่นกันเมื่อต่อวัดไฟดีซีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แต่ถ้าความถี่น้อยกว่า 10Hz เราจะเห็นมิเตอร์แกว่งไปมา
หากเป็นค่าแรงดันยอดต้องมีคำว่า"peak"กำกับชัดเจน ไม่เช่นนั้นเราต้องคิดว่าเป็นค่าอาร์เอ็มเอส(RMS)ไว้ก่อน ปัจจุบันแรงดันและกระแสเอซีใช้ค่าอาร์เอ็มเอสเสมอเพราะรู้สึกมีเหตุผลเมื่อต้องเทียบกับกระแสหรือ แรงดันดีซีสม่ำเสมอจากแบตเตอรี่
ตัวอย่างเช่น ไฟ'6V AC' หมายถึง 6V RMSและคิดเป็นแรงดันยอดเท่ากับ 8.5V ไฟหลักในประเทศไทยคือ 220V AC หมายถึง 220V RMS ดังนั้นแรงดันยอดของไฟหลักประมาณเท่ากับ 311V
ค่าอาร์เอ็มเอสคือค่าไฟกระแสสลับที่เทียบเท่าไฟกระแสตรง ส่วนวิธีหาค่าอาร์เอ็มเอสจากคลื่นรูปซายน์ จะใช้วิธีการทางคณิตศาสตร์ดังนี้
1) ทำยกกำลังสองค่าทุกจุดทั้งด้านบวกและด้านลบของรูปซายน์ (เพื่อให้สัญญาณทั้งสองเป็นบวก)
2) จากนั้นทำการหาค่าเฉลี่ยที่เกิดจากการยกกำลังสองทั้งหมด
3) ทำการหาค่ารากที่สองของค่าเฉลี่ยนี้ (เนื่องจากสัญญาณที่ถูกยกกำลังในขั้นตอนแรกมีค่าเป็นเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า) ซึ่งผลที่ได้จะเป็นค่าอาร์เอ็มเอส (RMS)