ระบบบริหารจัดการเครือข่ายอัจฉริยะ |
ระบบบริหารเครือข่ายอัจฉริยะ เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นบนพื้นฐานของ open-source software มีส่วนประกอบหลัก 3 ส่วนคือ 1. ระบบดูแลตรวจสอบสถานะของเครือข่ายและบริการ(Network Health Analysis and Monitoring) NetHAM ใช้ตรวจวิเคราะห์สถานะการทำงาน และทรัพยากรบนอุปกรณ์เครือข่ายต่างๆ และแจ้งเตือนผู้ดูแลระบบในกรณีที่เกิดความผิดพลาดขึ้นกับอุปกรณ์เหล่านั้น 2. ระบบตรวจวัดและวิเคราะห์การใช้งานบนเครือข่าย (Traffic Monitoring and Classification) ใช้ในการตรวจสอบพฤติกรรมการใช้งานเครือข่าย จำแนกตามชนิดของ application ที่ใช้งานของผู้ใช้แต่ละคน รวมถึงสามารถรายงานความผิดปกติที่อาจเกิดจากการจู่โจมบนเครือข่าย 3. ระบบบริหารจัดการแบนด์วิธ (ฺBandwidth manager) สามารถควบคุมปริมาณการใช้งานแบนด์วิธเข้า-ออกเครือข่าย ควบคุมปริมาณการใช้งานแบนด์วิธเข้า-ออกเครือข่าย โดยสามารถควบคุมแบนด์วิธและจำกัดการใช้งานอินเทอร์เน็ต จำแนกตามผู้ใช้และตามประเภทของ application ระบบนี้จะช่วยลดภาระของผู้ดูแลระบบ โดยลดขั้นตอนการจัดการเครือข่ายบางส่วนซึ่งต้องทำเป็นประจำ เช่น การตรวจสอบสถานะของเซิร์ฟเวอร์ให้เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ และลดขั้นตอนที่ยุ่งยากซับซ้อนลง นอกจากนี้ระบบบริหารจัดการเครือข่ายดังกล่าวเป็นเสมือนผู้เชี่ยวชาญที่สามารถแจ้งเตือน และแนะนำวิธีแก้ปัญหาแก่ผู้ดูแลระบบ ทำให้ผู้ดูแลระบบสามารถบริหารเครือข่ายให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
วิจัยและพัฒนาโดยหน่วยปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีเครือข่าย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ |
ระบบบริหารจัดการเครือข่ายอัจฉริยะ |
ระบบบริหารเครือข่ายอัจฉริยะ เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นบนพื้นฐานของ open-source software มีส่วนประกอบหลัก 3 ส่วนคือ 1. ระบบดูแลตรวจสอบสถานะของเครือข่ายและบริการ(Network Health Analysis and Monitoring) NetHAM ใช้ตรวจวิเคราะห์สถานะการทำงาน และทรัพยากรบนอุปกรณ์เครือข่ายต่างๆ และแจ้งเตือนผู้ดูแลระบบในกรณีที่เกิดความผิดพลาดขึ้นกับอุปกรณ์เหล่านั้น 2. ระบบตรวจวัดและวิเคราะห์การใช้งานบนเครือข่าย (Traffic Monitoring and Classification) ใช้ในการตรวจสอบพฤติกรรมการใช้งานเครือข่าย จำแนกตามชนิดของ application ที่ใช้งานของผู้ใช้แต่ละคน รวมถึงสามารถรายงานความผิดปกติที่อาจเกิดจากการจู่โจมบนเครือข่าย 3. ระบบบริหารจัดการแบนด์วิธ (ฺBandwidth manager) สามารถควบคุมปริมาณการใช้งานแบนด์วิธเข้า-ออกเครือข่าย ควบคุมปริมาณการใช้งานแบนด์วิธเข้า-ออกเครือข่าย โดยสามารถควบคุมแบนด์วิธและจำกัดการใช้งานอินเทอร์เน็ต จำแนกตามผู้ใช้และตามประเภทของ application ระบบนี้จะช่วยลดภาระของผู้ดูแลระบบ โดยลดขั้นตอนการจัดการเครือข่ายบางส่วนซึ่งต้องทำเป็นประจำ เช่น การตรวจสอบสถานะของเซิร์ฟเวอร์ให้เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ และลดขั้นตอนที่ยุ่งยากซับซ้อนลง นอกจากนี้ระบบบริหารจัดการเครือข่ายดังกล่าวเป็นเสมือนผู้เชี่ยวชาญที่สามารถแจ้งเตือน และแนะนำวิธีแก้ปัญหาแก่ผู้ดูแลระบบ ทำให้ผู้ดูแลระบบสามารถบริหารเครือข่ายให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
วิจัยและพัฒนาโดยหน่วยปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีเครือข่าย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ |
ที่มา: ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์
และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
ระบบสมองกลฝังตัว เป็นระบบที่ควบคุมการทำงานด้วยไมโครโพรเซสเซอร์หรือไมโครคอนโทรลเลอร์ ซึ่งบรรจุซอฟต์แวร์เอาไว้ภายใน เหมือนกับระบบคอมพิวเตอร์แบบ PC โดยฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ของระบบสมองกลฝังตัวออกแบบมาให้ทำงานเพื่อให้เหมาะสมเครื่องยนต์แต่ละประเภท
การนำเทคโนโลยีระบบสมองกลฝังตัว(Embedded Systems) มาประยุกต์ใช้ในการดัดแปลงรถยนต์นั้น มีการนำมาใช้งานได้หลายรูปแบบ คือ ควบคุมการจุดระเบิด และควบคุมการฉีดหรือการจ่ายเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์
การควบคุมการจุดระเบิด ชุดคำสั่งไมโครคอนโทรลเลอร์ สามารถเลือกจังหวะเวลาการจุดระเบิดที่เหมาะสมผ่านเครื่อวัดกำลังเครื่องยนต์ ใช้ในการดัดแปลงเครื่องยนต์ ดีเซล ที่ต้องอาศัยหลักการพื้นฐานของเครื่องยนต์ก๊าซโซลีน โดยลดกำลังอัดของกระบอกสูบของเครื่องยนต์ดีเซลลงมา แล้วเพิ่มระบบสมองกลฝังตัว
หลักการทำงานของระบบควบคุมการจุดระเบิด
การควบคุมจ่ายและการฉีดเชื้อเพลิง สามารถกำหนดปริมาณการจ่ายก๊าซตามโปรแกรมาที่ตั้งไว้ล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำ เพราะ ชุดควบคุมการฉีดก๊าซ ถูกออกแบบ มาเพื่อใช้กับเครื่องยนต์เชื้อเพลิงคู่ ระหว่างน้ำมันเบนซินและก๊าซธรรมชาติ โดยอิงสัญญาณการจ่ายน้ำมันมาเป็นตัวควบคุมการจ่ายระบบซึ่งเดิมควบคุมปริมาณการจ่ายน้ำมันสามารถกำหนดปริมาณการจ่ายน้ำมันมาเป็นตัวกำหนดปริมาณการจ่ายก๊าซ
ปัจจุบันมีการอนุญาตให้ใช้สิทธิใช้ประโยชน์ผลงานวิจัย (Licensing) ดังกล่าวแก่บริษัทภาคเอกชนไป 4 บริษัท เพื่อนำไปผลิตจำหน่าย ได้แก่ บริษัท นินเบลส จำกัด บริษัท ทีโอ จำกัด บริษัท ก๊าซเทค เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด และบริษัท ลัคกี้ มอเตอร์ จำกัด
วิจัยและพัฒนาโดยหน่วยปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสมองกลฝังตัว ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ