นาโนเทค-ชีวภาพสาหร่าย
โดย : Admin

 ทีมา: มติชนรายวัน | 28 ตุลาคม พ.ศ. 2552

 

 

 


นาโนเทค

บริษัท ทอมป์สัน รอยเตอร์ส (Thomson Reuters) ทำการวิเคราะห์หานวัตกรรมใหม่ที่ร้อนแรงจากเอกสารสิทธิบัตรในช่วง 5 ปีย้อนหลัง และสรุปคาดการณ์ว่า นวัตกรรมใหม่ ใน 3 หัวข้อ ได้แก่

1.เชื้อเพลิงชีวภาพจากสาหร่าย (Biofuels from Algae)

2.ข้อมูลบนโทรศัพท์มือถือ (Cell Phone Data) + โครงข่ายอินเตอร์เน็ตไร้สาย (Wireless Network Roaming)

3.นาโนเทคโนโลยี Lab-on-a-chip อุปกรณ์วินิจฉัยโรคแบบนาโนขนาดจิ๋ว

มีการเติบโตอย่างโดดเด่นมากในเอกสารสิทธิบัตรทั่วโลก ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2009 นี้ โดยเฉพาะนวัตกรรมเรื่อง การผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจากสาหร่าย

ในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงมากมาย "พลาสติค" ไม่ใช่เรื่องที่จะได้รับความสำเร็จ เชื่อมั่นอีกต่อไป เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมการเงินและรถยนต์ที่มีการเปลี่ยนแปลงมากกว่าที่เคยเป็น ในขณะนี้โลกกำลังประสบภาวะการตกต่ำทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง เสาหลักของอุตสาหกรรมต่างๆ ได้สูญเสียความรุ่งโรจน์ของตนเองอย่างต่อเนื่อง พวกเรากำลังเฝ้ามองดูว่านวัตกรรมสาขาใดที่จะเป็นแหล่งเพาะที่สามารถมากอบกู้เศรษฐกิจ และจะเป็นนวัตกรรมที่ยิ่งใหญ่ต่อไปในอนาคต



เพื่อหาคำตอบเรื่องนี้ แผนก IP Solutions Business ของทอมป์สัน รอยเตอร์ส ได้ตรวจสอบหานวัตกรรมที่ร้อนแรงในช่วงไตรมาสแรกของปี 2009 นี้ วิธีการ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลสิทธิบัตร จากฐานข้อมูล Derwent World Patents Index (DWPI sm) ซึ่งเป็นข้อมูล/บริการชุดหนึ่งของ ทอมป์สัน รอยเตอร์ส ทำการวิเคราะห์หากิจกรรมของสิทธิบัตรทั่วโลกในสาขา Biofuels, Telecom และ Bio-related nanotechnology นับจำนวนสิทธิบัตรทั้ง 2 ประเภท คือ คำยื่นขอ และได้รับการคุ้มครอง ในช่วงระยะเวลาในปี 2003-2008 และมกราคม-มีนาคม 2009 จากนั้นนำไปเปรียบเทียบกับแนวโน้มการเติบโตในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา

ขณะนี้โลกกำลังแสวงหาพลังงานสะอาด (green energy) ซึ่งประกอบด้วยพลังงานตั้งแต่พลังงานลม (wind turbines) ไปจนถึงพลังงานไฮโดรเจน (hydrogen-powered vehicles) ส่วนของเชื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuels) มีทั้งชนิดของแข็ง ของเหลว ก๊าซ ที่มีแหล่งกำเนิดมาจากสิ่งมีชีวต ซึ่งนักนวัตกรรมในสาขาเทคโนโลยีชีวภาพให้ความสนใจพัฒนา ในขณะที่เชื้อเพลิงชีวภาพยุคที่หนึ่งทำมาจาก น้ำตาล แป้ง น้ำมันพืช หรือน้ำมันสัตว์

มีการวิพากษ์วิจารณ์กันว่าเป็นการดึงมาจากแหล่งโซ่อาหารของมนุษย์ จึงมีการริเริ่มผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพยุคใหม่ที่มุ่งเน้นวัตถุดิบที่ถาวรยั่งยืนมากขึ้นกว่าเดิม
 


เชื้อเพลิงชีวภาพยุคที่ 2 ตัวอย่างเช่น การใช้ของเสียที่ได้จากสิ่งมีชีวิตจากส่วนที่ไม่เป็นอาหาร เช่น ลำต้น กิ่งก้านข้าวสาลี ซังข้าวโพด



สิ่งที่เป็นการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ อาจเรียกเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพรุ่นที่ 3 คือการพัฒนาจาก สาหร่าย สาหร่ายถือเป็นสิ่งที่นำเข้าแบบชั้นต่ำ แต่ให้ผลผลิตสูง มีความสามารถในการผลิต เป็น 30 เท่าต่อเอเคอร์ เมื่อเทียบกับถั่วเหลือง ใครเป็นผู้นำในการคิดค้นนวัตกรรมนี้ และพวกเขากำลังทำอะไรอยู่โดยการรวบรวมเกี่ยวกับฐานข้อมูล Derwent World Patent Index, DWPI

 

    DWPI    คือฐานข้อมูลที่รวบรวมเอกสารสิทธิบัตรทั้งประเภทการยื่นขอ (Applications) และประเภทที่ได้รับการคุ้มครอง (Grants) จากสำนักงานสิทธิบัตร 41 แห่งทั่วโลก รวบรวมและปรับปรุงเขียนใหม่ (Rewritten) ให้เป็นภาษาอังกฤษโดยกองบรรณาธิการของ DWPI จัดทำบทคัดย่อแบบสั้น มีการระบุให้ patent family (แสดงรายชื่อประเทศที่เอกสารสิทธิบัตร 1 เรื่องที่ทำการไปยื่นขอจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก) แสดงประเทศแรกที่ยื่นขอ และเรียงลำดับตามที่ยื่นขอในประเทศต่างๆ ซึ่งแสดงเป็น Equivalent patents ขณะนี้ DWPI มีเอกสารสิทธิบัตร 16 ล้านเรื่อง ที่มีความเหมือนกัน ราว 10 ล้านเรื่อง และมีการเพิ่มข้อมูลสิ่งประดิษฐ์ใหม่ราวปีละ 1 ล้านเรื่อง Basic Format ของฐานข้อมูล DWPI ได้แก่ บรรณานุกรมเอกสารสิทธิบัตร บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ) Manual code Special Indexing ประกอบด้วย คิดค้นระบบรหัสการจัดหมวดหมู่เอกสารสิทธิบัตรของตนเอง รหัสบริษัทผู้ยื่นขอจดสิทธิบัตร แบบเป็นมาตรฐาน


ทอมป์สัน รอยเตอร์ส เสนอข้อสังเกตจากการวิเคราะห์

1.นวัตกรรมเรื่องเชื้อเพลิงชีวภาพ ในปี 2003 ด้วยการวัดปริมาณจำนวนเอกสารสิทธิบัตรทั่วโลก จากฐานข้อมูล Derwent World Patent Index พบมีจำนวนน้อยเพียง 341 เรื่อง ถือเป็นสาขาวิจัยพัฒนาขนาดเล็ก และมีผู้นำจากบริษัทในประเทศญี่ปุ่น คิดเป็นร้อยละ 70 และเป็นสิทธิบัตรที่ขอยื่นในประเทศญี่ปุ่น ร้อยละ 31

2.ในปี 2008 - 5 ปีต่อมา พบว่ากิจกรรมสิทธิบัตรในเรื่องนี้มีจำนวนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 550 คิดเป็นจำนวน 1,878 เรื่อง

3.ในช่วงระยะเวลาล่าสุด (มกราคม 2008-เมษายน 2009) จำนวนสิทธิบัตรเรื่องเชื้อเพลิงชีวภาพมีเพิ่มขึ้นเป็น 2,466 เรื่อง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนเริ่มก้าวเข้ามาในเรื่องนี้ คิดเป็นร้อยละ 31 ที่ทำการยื่นขอในประเทศจีน บริษัทจีนมีส่วนแบ่งในตำเหน่งผู้นำ 10 อันดับแรกพร้อมกันกับบริษัทญี่ปุ่น

4.มีข้อถกเถียงกันอย่างมากในสื่อต่างๆ เกี่ยวกับสังคม สิ่งแวดล้อม แง่ผลกระทบที่มีการนำพืชผลที่ได้จากการเพาะปลูกที่เป็นอาหารมนุษย์มาผลิตเป็นพลังงานชีวภาพ

5.ในช่วงปี 2008-2009 บริษัทผู้นำ 11 บริษัท มีการยื่นขอสิทธิบัตรเรื่องเชื้อเพลิงชีวภาพจากสาหร่าย เป็นหลัก โดยเป็นบริษัทจากสหรัฐอเมริกา 8 ใน 11 บริษัทนั้น

ที่เหลือได้แก่บริษัทจาก บราซิล สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส โดยที่บริษัทจากจีน เยอรมนี และญี่ปุ่น ไม่ปรากฏอยู่ในรายการบริษัทผู้นำ 10 อันดับแรก 
 

 

ขอขอบคุณที่มาของแหล่งข่าว

 

เนื้อหาโดย: 9engineer.com (https://9engineer.com/)