แนะนำ KBM ความก้าวหน้าอีกขั้นของซอฟท์แวร์ด้าน CADCAM
โดย : Admin

           KBM ความก้าวหน้าอีกขั้นของซอฟท์แวร์ด้าน CADCAM 
 

 โดย บริษัทซีรันนิ่ง  
    
        
                               

                  
                 
สำหรับวิศวกรหรือผู้ที่ผลิตชิ้นส่วนไม่ว่าจะเป็นชิ้นส่วนประกอบของเครื่องจักร หรือการสร้างแม่พิมพ์ คงจะรู้จักกันดีกับคำว่า CADCAM หรือ การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการออกแบบ(CAD) และช่วยในการผลิต(CAM)ไม่มากก็น้อยแต่คงจะมีไม่น้อยที่อาจจะยังไม่รู้จักกับคำว่า KBM หรือ Knowledge Base Management ซึ่งถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงอีกขั้นหนึ่งของซอฟท์แวร์ด้านCAM ก็ว่าได้ พูดง่ายๆก็คือถ้าเรานำ KBM มาผนวกเข้ากับ CAM ก็เหมือนกับติดเครื่องยนต์เทอร์โบให้กับรถยนต์แถมเพิ่มคนขับรถให้ด้วย หรืออีกนัยหนึ่งถ้ามีแต่CAM ก็เหมือนมีแค่รถยนต์ที่ไม่มีคนขับ รถก็ไม่สามารถขับเคลื่อนให้วิ่งไปไหนต่อไหนได้ถ้าไม่มีคนขับ แต่ถ้ามี KBM ก็เหมือนกับได้รถยนต์แรงๆและก็คนขับรถที่รู้ทางเป็นอย่างดีมาให้โดยที่เราเพียงแค่สั่งให้เจ้าKBM ตัวนี้ว่าจะไปที่ไหนๆก็พอ   หลายคนอาจยังสงสัยแล้วว่ามันเกี่ยวข้องอะไรกับการผลิต ผมจะขอสมมติว่าถ้าเจ้านายสั่งให้ผลิตชิ้นงานชิ้นหนึ่งโดยที่เรามีซอฟท์แวร์CADCAM  ,Tool ,part drawing และเครื่องจักรซีเอ็นซีไว้พร้อมแล้ว ขั้นตอนการทำงานถ้าปราศจากKBMจะเป็นรูทีนซ้ำๆดังต่อไปนี้
  1. สร้างชิ้นงาน CAD ในคอมพิวเตอร์
     
  2. วางแผนกำหนด Tool ที่เหมาะสมให้กับแต่ละฟีเจอร์(Feature)หรือลักษณะของชิ้นงาน อย่างเช่นถ้ามีรูเกลียว ก็ต้องใช้Tool ชนิดดอกเจาะนำศูนย์(Center Drill) สำหรับเจาะนำ เลือกดอกเจาะ(Drill)สำหรับเจาะรูตามความลึกรูเกลียวและดอก Tap เพื่อทำเกลียวตามขนาดของรูเกลียว อย่างนี้เป็นต้น   และถ้าชิ้นงานมีลักษณะ(Feature)เป็นหลุมพ็อคเก็ตก็ต้องหาดอกกัดให้เหมาะสมตามขนาดของหลุมนั้นๆ  ซึ่งจะเห็นว่าคนทำโปรแกรมมีเรื่องต้องคิดและทำเยอะ
  3. กำหนดขบวนการและMachine condition ที่เหมาะสมให้กับแต่ละฟีเจอร์นั้นๆ ลองคิดดูถ้าชิ้นงานนั้นมีฟีเจอร์หลายๆแบบเต็มไปหมด คนทำโปรแกรมคงวุ่นปวดหัวกันน่าดูเลย โดยเฉพาะถ้างานเร่งๆด้วยแล้วอาจมีเบอ เลือกTool เลือกคำสั่งผิดก็เป็นไปได้
     
  4. สร้างเป็นชุดคำสั่งควบคุมเครื่องจักรซีเอ็นซีตามค่าที่กำหนดในซอฟท์แวร์ CAM

     
ทีนี้ถ้าเราใส่ไอ้เจ้า KBM นี้เข้าไปให้กับเจ้าซอฟท์แวร์ CAM จะเกิดอะไรขึ้น
ขั้นตอนการทำงานจะกลายมาเป็นดังนี้
  1. สร้างชิ้นงาน CAD ในคอมพิวเตอร์
  2. สร้างเป็นชุดคำสั่งควบคุมเครื่องจักรซีเอ็นซีตามค่าที่กำหนดในซอฟท์แวร์ CAM
 เท่านี้ครับนอกนั้นเจ้าKBM มันทำให้เราเสร็จสรรพ ที่เห็นๆงานข้อ 2และ3 ก่อนหน้านี้เป็นงานที่น่าเบื่อและซ้ำๆที่ครับ หลายคนที่เคยใช้ซอฟท์แวร์ด้าน CAM คงไม่ปฎิเสธใช่ไหมครับที่สำคัญมันลดเวลาการทำงานลงได้มากทีเดียวครับ  มาดูกราฟเปรียบเทียบกันจะเห็นว่าWorking Time หรือชั่วโมงการทำงานลดลงอย่างมากทีเดียว แถมชิ้นงาน NG หรือชิ้นงานเสียก็ลดลงอีกด้วย ทำให้productivity หรือความสามารถในการผลิตเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด


    
ถ้ายังนึกภาพไม่ออกก็เข้าไปดูวีดิโอกันได้ที่นี่ครับ
1  ตัวอย่างการใช้ KBM กับงานกัด (Milling)
http://www.crunning.com/Espritdemo/MillFX/MillFX.html

2. ตัวอย่างการใช้ KBM กับงานกลึง (Turning)
http://www.crunning.com/Espritdemo/KBM/KBMdemo.html

หมายเหตุ
: สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่บริษัทซีรันนิ่ง จำกัด

 

  

เนื้อหาโดย: 9engineer.com (https://9engineer.com/)