ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างไรให้ปลอดภัยและเกิดประสิทธิภาพ ตอนที่ 1
โดย : Admin


แหล่งที่มาของข้อมูล : จากเอกสารเผยแพร่ความรู้ของเว็บไซต์การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค https://mea.or.th

                      

หลักในการเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า

การ ประหยัดไฟฟ้า ต้องเริ่มจากการพิจารณาเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างมีหลักเกณฑ์ ซึ่งข้อแนะนำต่อไปนี้จะเป็นเครื่องช่วยประเมินคุณค่าของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ จะซื้อ ก่อนตัดสินใจควรพิจารณาดังนี้

1. ควรทราบว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่พบเห็นนั้น กินไฟมากน้อยเพียงไร
2. มีความเหมาะสมในการใช้งานหรือไม่
3. สะดวกในการใช้สอย คงทน ปลอดภัยหรือไม่
4. ภาระการติดตั้ง และค่าบำรุงรักษา
5. พิจารณาคุณภาพ ค่าใช้จ่าย อายุใช้งาน มาประเมินออกมาเป็นตัวเงินด้วย

 

 

ปริมาณการกินไฟ (กำลังไฟฟ้า) ของเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทต่าง ๆ

เครื่องใช้ไฟฟ้า
กำลังไฟฟ้า (วัตต์)
พัดลมตั้งพื้น
20 - 75
พัดลมเพดาน
70 - 100
โทรทัศน์ขาว-ดำ
28 - 150
โทรทัศน์สี
80 - 180
เครื่องเล่นวิดีโอ
25 - 50
ตู้เย็น 7-10 คิว
70 - 145
หม้อหุงข้าว
450 - 1,500
เตาหุงต้มไฟฟ้า
200 - 1,500
หม้อชงกาแฟ
200 -600
เตาไมโครเวฟ
100 - 1,000
เครื่องปิ้งขนมปัง
800 - 1,000
เครื่องทำน้ำอุ่น/ร้อน
2,500 - 12,000
เครื่องเป่าผม
400 - 1,000
เตารีดไฟฟ้า
750 - 2,000
เครื่องซักผ้าแบบมีเครื่องอบผ้า
3,000
เครื่องปรับอากาศ
1,200 - 3,300
เครื่องดูดฝุ่น
750 - 1,200
มอเตอร์จักรเย็บผ้า
40 - 90


 

การคิดค่ากระแสไฟฟ้า
ตัวอย่าง การคิดค่าไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยประเภท 1.2 สมมุติในเดือนมกราคม 2546 ผู้ใช้ไฟฟ้าใช้ไฟฟ้า 500 หน่วย

1. ค่าไฟฟ้าฐาน
 1.1 ค่าพลังงานไฟฟ้า

  150 หน่วยแรก 150 x 1.8047 เป็นเงิน   270.705 บาท
  250 หน่วยต่อไป 250 x 2.7781 เป็นเงิน   694.525 บาท
  เกิน 400 หน่วยต่อไป (500 – 400) x 2.9780 เป็นเงิน   297.80 บาท
  รวมค่าไฟฟ้าฐาน เป็นเงิน 1,303.93 บาท
  Ft ที่เรียกเก็บเพิ่มจากค่าไฟฟ้าฐานประจำเดือนมกราคม 2546 = 21.95 สตางค์ต่อหน่วย
2. ค่าไฟฟ้าผันแปร = 500 x (21.95/100) เป็นเงิน     109.75 บาท
  รวมค่าไฟฟ้าฐานและค่าไฟฟ้าผันแปร เป็นเงิน   1,413.68 บาท
3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม ร้อยละ 7 เป็นเงิน        98.95 บาท
  รวมค่าไฟฟ้าทั้งสิ้น   เป็นเงิน  1,512.63 บาท
 


 

ไฟฟ้าแสงสว่าง
ข้อแนะนำการใช้งาน

1. ใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์แทนหลอดไส้
หลอดฟลูออเรสเซนต์ หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า "หลอดนีออน" ลักษณะเป็นหลอดยาวมีขนาด 18 วัตต์ และ 36 วัตต์ หรือชนิดขดเป็นวงกลมมีขนาด 32 วัตต์ (หลอดชนิดนี้จะให้แสงสว่างมากกว่าหลอดไส้ประมาณ 4 - 5 เท่า ถ้าใช้ปริมาณไฟฟ้าขนาดเท่ากัน อายุการใช้งานของหลอดฟลูออเรสเซนต์จะนานกว่าหลอดไส้ประมาณ 7 เท่า)
2. หลอดฟลูออเรสเซนต์ชนิดพิเศษ (หลอดซุปเปอร์)
เป็นหลอดที่กินไฟเท่ากับหลอดผอมแต่ให้กำลังส่องสว่างมากกว่าหลอดทั่ว ๆ ไป เช่น หลอดผอมธรรมดาขนาด 36 วัตต์ จะให้ความสว่างประมาณ 2,600 ลูเมน (Im) แต่ หลอดซุปเปอร์ให้ความสว่างถึง 3,300 ลูเมน (Im) ซึ่งจะทำให้สามารถลดจำนวนหลอดที่ ใช้ลงได้
 

หลอดฟลูออเรสเซนต์
3. หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ (หลอดตะเกียบ)
 หมายถึง หลอดฟลูออเรสเซนต์ขนาดเล็กที่ได้มีการพัฒนาเพื่อให้เกิดการประหยัดพลังงาน โดยใช้แทนหลอดไส้ได้ มีอายุการใช้งานมากกว่าหลอดไส้ 8-10 เท่า และใช้ไฟฟ้าน้อยกว่าหลอดไส้ โดยจะประหยัดไฟได้ 75-80% (เนื่องจากอายุของหลอดขึ้นอยู่กับสภาพการติดตั้ง เช่น การระบายความร้อนและแรงดันไฟฟ้าด้วย) ปัจจุบันมี 2 ประเภท คือ
              3.1หลอดคอมแพคบัลลาสต์ภายใน ที่เรียกว่าหลอดประหยัดไฟ เป็นหลอดฟลูออเรสเซนต์ที่ย่อขนาดลง มีบัลลาสต์และสตาร์ทเตอร์รวมอยู่ภายในหลอด สามารถนำไปใช้แทนหลอดไส้ชนิดหลอดเกลียวได้ทันทีโดยไม่ต้องเพิ่มอุปกรณ์ใด ๆ มีอยู่หลายขนาด คือ 9 W, 11W, 13 W, 15 W, 18 W, 20 W ตัวอย่างเปรียบเทียบกับหลอดไส้ธรรมดา เป็นดังนี้


 

ให้แสงสว่าง
เท่ากับหลอดไส้
9 W
 
 
 
40 W
13 W
60 W
18 W
75 W
25 W
100 W
หลอดคอมแพคบัลลาสต์ภายใน


 

3.2 หลอดคอมแพคบัลลาสต์ภายนอก หลักการใช้งานเช่นเดียวกับหลอดคอมแพคบัลลาสต์ภายใน แต่หลอดคอมแพคบัลลาสต์ภายนอกสามารถเปลี่ยนหลอดได้ง่ายเมื่อหลอดชำรุด ตัวหลอดมีลักษณะงอโค้งเป็นรูปตัวยู (U) ภายในขั้วของหลอดจะมีสตาร์ทเตอร์อยู่ภายใน และมีบัลลาสต์อยู่ภายนอกมีหลายขนาด คือ


 

ให้แสงสว่าง
เท่ากับหลอดใส้
5 W
 
 
 
25 W
7 W
40 W
9 W
60 W
11W
75 W
หลอดคอมแพคบัลลาสต์ภายนอก


 

ข้อควรปฏิบัติเพื่อการประหยัดไฟฟ้าแสงสว่าง มีดังนี้
1.ปิดสวิตซ์ไฟ เมื่อไม่ใช้งาน
2.ในบริเวณที่ไม่จำเป็นต้องใช้แสงสว่างมากนัก เช่น เฉลียง ทางเดิน ห้องน้ำ ควรใช้หลอดที่มีวัตต์ต่ำ โดยอาจใช้หลอดคอมแพคบัลลาสต์ภายใน เนื่องจากมีประสิทธิภาพการให้แสง ลูเมน/วัตต์ (Im/W) สูงกว่าหลอดไส้ และดีกว่าหลอดฟลูออเรสเซนต์ขนาดไม่เกิน 18 W ด้วย
สำหรับบริเวณที่ต้องการแสงสว่างปกตินั้น หลอดผอมขนาด 36 W จะมีประสิทธิภาพการให้แสง (ลูเมน/วัตต์) สูงกว่าหลอดคอมแพคบัลลาสต์ภายในทั่วๆ ไปไม่ต่ำกว่า 10% และยิ่งจะมีประสิทธิภาพการให้แสงมากขึ้นถ้าเป็นหลอดผอมชนิดซุปเปอร์และใช้บัลลาสต์ประหยัดไฟร่วมด้วย ดังนั้นจำนวนหลอดไฟที่ใช้และการกินไฟของหลอดผอมก็จะน้อยกว่าหลอดประหยัดไฟ
3.หมั่นทำความสะอาด ขั้วหลอด และตัวหลอดไฟ รวมทั้งโคมไฟและโป๊ะไฟต่าง ๆ
4.ผนังห้องหรือเฟอร์นิเจอร์อย่าใช้สีคล้ำ ๆ ทึบ ๆ เพราะสีพวกนี้จะดูดแสง ทำให้ห้องดูมืดกว่าห้องที่ทาสีอ่อน ๆ เช่น สีขาว หรือสีขาวนวล
5.เลือกใช้โคมไฟฟ้าประสิทธิภาพสูงซึ่งมีแผ่นสะท้อนแสงทำด้วยอะลูมิเนียมเคลือบโลหะเงิน จะสามารถลดจำนวนหลอดไฟลงได้ โดยแสงสว่างยังคงเท่าเดิม
6.เลือกใช้ไฟตั้งโต๊ะ ในบริเวณที่ต้องการแสงสว่างเฉพาะแห่ง เช่น อ่านหนังสือ
7.ให้ใช้บัลลาสต์ประหยัดไฟฟ้าควบคู่กับหลอดฟลูออเรสเซนต์ โดยบัลลาสต์ประหยัดไฟ มี 2 แบบ คือ
7.1 แบบแกนเหล็กประหยัดไฟฟ้า (LOW – LOSS MAGNETIC BALLAST)
7.2 แบบอิเล็กทรอนิกส์ ( ELECTRONIC BALLAST)
8. ในการเลือกซื้อหลอดไฟ โดยเฉพาะหลอดฟลูออเรสเซนต์นั้น ให้สังเกตปริมาณการส่องสว่าง (ลูเมน หรือ Im) ที่กล่องด้วย เนื่องจากในแต่ละรุ่นจะมีค่าลูเมนไม่เท่ากัน ส่งผลให้มีราคาแตกต่างกัน เช่น หลอดผอม 36 หรือ 40 วัตต์จะให้แสงประมาณ 2,000-2,600 ลูเมน หลอดชนิดซุปเปอร์จะให้แสง 3,300 ลูเมน หลอดประหยัดไฟขนาด 11 วัตต์ (หลอดคอมแพคขนาด 11 วัตต์ หรือหลอดตะเกียบ) จะให้แสงประมาณ 500-600 ลูเมน เป็นต้น นอกจากนี้จะต้องคำนึงถึงการกินไฟภายในบัลลาสต์ด้วย ซึ่งบัลลาสต์แกนเหล็กธรรมดาจะกินไฟมาก ส่วนบัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์จะกินไฟน้อยมาก


 

ประโยชน์ของบัลลาสต์ประหยัดไฟฟ้า
- บัลลาสต์ธรรมดากินไฟ ประมาณ 10-12 วัตต์ บัลลาสต์ประหยัดไฟกินไฟประมาณ 3-6 วัตต์
- บัลลาสต์ธรรมดามีประสิทธิผลการส่องสว่าง 95–110% บัลลาสต์ประหยัดไฟมีค่าประสิทธิผลการส่องสว่าง 95–
             50%
- การใช้บัลลาสต์ประหยัดไฟช่วยให้เกิดความปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีอุณหภูมิขณะทำงานไม่เกิน 75 องศา
             เซลเซียส ในขณะที่บัลลาสต์ธรรมดามีความร้อนจากขดลวดและแกนเหล็กถึง 110 – 120 องศาเซลเซียส
- บัลลาสต์ประหยัดไฟมีอายุการใช้งานมากกว่าแบบธรรมดา 1 เท่าตัว แม้ราคาจะสูงกว่าบัลลาสต์แบบธรรมดา


 

คำแนะนำด้านความปลอดภัยในการใช้ไฟฟ้าแสงสว่าง

1.เมื่อจะเปลี่ยนหลอดควรดับหรือปลดวงจรไฟฟ้าแสงสว่างนั้น
2.สังเกตบัลลาสต์ว่ามีกลิ่นเหม็นไหม้ หรือรอยเขม่าหรือไม่
3.ถ้าเป็นหลอดฟลูออเรสเซนต์ไม่ควรปล่อยให้ไฟกระพริบอยู่เสมอ หรือหัวหลอดแดงโดยไม่สว่าง เพราะอาจเกิดอัคคีภัยได้
4.ขั้วหลอดต้องแน่นและไม่มีรอยไหม้ที่พลาสติกขาหลอด
5.ไม่นำวัสดุที่ติดไฟง่าย เช่น ผ้า กระดาษ ปิดคลุมหลอดไฟฟ้า
6.ถ้าหลอดขาดหรือชำรุดบ่อย ให้ตรวจสอบแรงดันไฟฟ้าว่าสูงผิดปกติหรือไม่ ถ้าพบผิดปกติให้รีบแจ้งการไฟฟ้านครหลวงทันที
7.ถ้าโคมไฟเป็นโลหะและอยู่ในระยะที่จับต้องได้ควรติดตั้งสายดินด้วย มิฉะนั้นจะต้องเป็นประเภทฉนวน 2 ชั้น

โคมไฟฟ้า

8.หลอดไฟที่ขาดแล้วควรใส่ไว้ตามเดิมจนกว่าจะเปลี่ยนหลอดใหม่
9.หลอดไฟขนาดเล็กที่ใช้ให้แสงสว่างตามทางเดินตลอดคืนซึ่งใช้เสียบกับเต้ารับนั้น อาจมีปัญหาเสียบไม่แน่นจนเกิดความร้อนและไฟไหม้ได้ นอกจากนี้วัสดุที่ใช้มักมีคุณภาพต่ำ ไม่ทนทานต่อความร้อน จึงไม่แนะนำให้ใช้ หรือเสียบทิ้งไว้โดยไม่มีผู้คนดูแลอยู่ใกล้ ๆ
10.ดูข้อควรปฏิบัติในการใช้ไฟฟ้าหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัย

 


 

ประเภทของเครื่องรับโทรทัศน์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ โทรทัศน์ขาวดำ และโทรทัศน์สีซึ่งมี 2 ชนิด คือ ชนิดที่มีรีโมทคอนโทรล กับไม่มีรีโมทคอนโทรล โดยทั่วไปโทรทัศน์สีจะกินไฟมากกว่าโทรทัศน์ขาวดำประมาณ 1 - 3 เท่า และโทรทัศน์สีที่มีรีโมทคอนโทรล จะกินไฟมากกว่าโทรทัศน์สีที่ไม่มีรีโมทคอนโทรลที่มีขนาดเดียวกัน เพราะมีวงจรเพิ่มเติม และกินไฟตลอดเวลาถึงแม้จะไม่ใช้เครื่อง รีโมทคอนโทรลก็ตาม โทรทัศน์ขนาดใหญ่ก็จะกินไฟมากกว่าขนาดเล็ก
โทรทัศน์
วิธีใช้เครื่องรับโทรทัศน์ให้ประหยัดพลังงาน คือ
1. ควรเลือกดูรายการเดียวกัน
2. ปิดเมื่อไม่มีคนดู
3. ถอดปลั๊กเมื่อไม่ได้ใช้งาน นอกจากจะกินไฟแล้วโทรทัศน์จะชำรุดได้ง่ายด้วย
4. ถ้าผู้ใช้นอนหลับหน้าโทรทัศน์บ่อย ๆ ควรติดสวิตซ์ตั้งเวลาเพิ่ม


 

คำแนะนำด้านความปลอดภัยในการใช้โทรทัศน์
1.ควรติดตั้งเสาอากาศให้มั่นคงแข็งแรง แล้วยึดด้วยลวดไม่ต่ำกว่า 3 จุด เพื่อป้องกันไม่ให้เสาล้ม ไม่ควรติดตั้งเสาอากาศทีวีให้สูงเกินความจำเป็น เพื่อหลีกเลี่ยงฟ้าผ่าลงที่เสา นอกจากนี้ควรให้เสาห่างจากแนวสายไฟฟ้าแรงสูงเพื่อป้องกันไม่ให้เสาล้มพาดสายแรงสูงและ เกิดอันตรายได้
2.อย่าเปิดเครื่องรับโทรทัศน์ในขณะที่ตัวเปียกชื้น และไม่ควรจับเสาอากาศโทรทัศน์ด้วย
3.ให้ปิดโทรทัศน์ ถอดปลั๊กไฟและขั้วสายอากาศออกในขณะที่มีฝนฟ้าคะนอง เพื่อป้องกันโทรทัศน์ชำรุด
4.อย่าดูโทรทัศน์ใกล้เกินไปจะทำให้สายตาเสีย หรือได้รับรังสีและคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้ามากเกินไป
การติดตั้งเสาอากาศทีวีที่ไม่ปลอดภัย
5.วางโทรทัศน์ในที่ ๆ มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
6.อย่าถอดซ่อมด้วยตัวเอง เนื่องจากภายในมีระบบไฟฟ้าแรงสูงอยู่ด้วย
7.ดูข้อควรปฏิบัติในการใช้ไฟฟ้าหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัย
 
 


 

 

เนื้อหาโดย: 9engineer.com (https://9engineer.com/)